พาราลิมปิกฤดูร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน)

พาราลิมปิกฤดูร้อน (อังกฤษ: Summer Paralympic Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติสำหรับนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกายเข้าร่วมแข่งขัน รวมถึงนักกีฬาที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว ถูกตัดแขนขา ตาบอด และสมองพิการ พาราลิมปิกเกมส์จะจัดขึ้นทุกๆสี่ปี ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล มีการมอบเหรียญรางวัลในแต่ละการแข่งขัน โดยอันดับที่ 1 จะได้รับเหรียญทอง อันดับที่ 2 จะได้รับเหรียญเงิน และอันดับที่ 3 จะได้รับเหรียญทองแดง ตามประเพณีโอลิมปิกที่เริ่มในปี 1904

สหรัฐและสหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2 ครั้ง มากกว่าประเทศอื่นๆ ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ได้เป็นเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูร้อน ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา ประเทศจีน ประเทศกรีซ ประเทศอิสราเอล ประเทศอิตาลี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศสเปน และประเทศเยอรมนีตะวันตก ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2016 ประเทศบราซิลเป็นเจ้าภาพการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกในอเมริกาใต้ ที่นครรีโอเดจาเนโร โตเกียวจะเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูร้อนมากกว่าหนึ่งครั้ง: 1964 และ 2020

โดยมีเพียง 12 ประเทศที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศออสเตรีย ประเทศเบลเยียม ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ประเทศไอร์แลนด์ ประเทศอิสราเอล ประเทศอิตาลี ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐ และมีเพียง 7 ประเทศที่ได้รับเหรียญทองอย่างน้อยหนึ่งเหรียญในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศออสเตรีย ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ประเทศอิตาลี ประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหรัฐ

สหรัฐเป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อนทั้งหมด 8 ครั้ง: 1964, 1968, 1976, 1980, 1984, 1988, 1992 และ 1996 ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดในการแข่งขัน 5 ครั้งหลังสุด 2004, 2008, 2012, 2016 และ 2020 นอกจากนี้ อิตาลี (1972), เยอรมนีตะวันตก (1972) และออสเตรเลีย (2000) ยังเป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดประเทศละหนึ่งครั้ง

รายชื่อเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูร้อน[แก้]

เมืองเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ เปิดโดย วันที่ จำนวนประเทศ จำนวนนักกีฬา กีฬา รายการ เจ้าเหรียญทอง
รวม ชาย หญิง
1 1960 อิตาลี โรม, ประเทศอิตาลี กามีลโล จาดีนา 18–25 กันยายน 1960 23 400 8 57 อิตาลี
2 1964 ญี่ปุ่น โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร 3–12 พฤศจิกายน 1964 21 375 307 68 9 144 สหรัฐ
3 1968 อิสราเอล เทลอาวีฟ, ประเทศอิสราเอล ยิกัล อัลลอน 4–13 พฤศจิกายน 1968 29 750 10 181 สหรัฐ
4 1972 เยอรมนี ไฮเดิลแบร์ค, ประเทศเยอรมนี ประธานาธิบดี กุสทัฟ ไฮเนอมัน 2–11 สิงหาคม 1972 41 1004 10 187 เยอรมนีตะวันตก
5 1976 แคนาดา โทรอนโต, ประเทศแคนาดา รองผู้สำเร็จราชการพอลลีน มิลส์ แมกกิบบอน 3–11 สิงหาคม 1976 32 1657 1404 253 13 447 สหรัฐ
6 1980 เนเธอร์แลนด์ อาร์เนม, ประเทศเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงมาร์ครีต 21–30 มิถุนายน 1980 42 1973 12 489 สหรัฐ
7 1984 สหรัฐ นครนิวยอร์ก, สหรัฐ ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน 17–30 มิถุนายน 1984 45 1800 15 300 สหรัฐ
สหราชอาณาจักร สโตกแมนเดวิลล์, สหราชอาณาจักร เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ 22 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 1984 41 1100 10 603 สหราชอาณาจักร
8 1988 เกาหลีใต้ โซล, เกาหลีใต้ ประธานาธิบดี โน แท-อู 15–24 ตุลาคม 1988 61 3057 16 732 สหรัฐ
9 1992 สเปน บาร์เซโลนา, สเปน สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน 3–14 กันยายน 1992 82 3020 20 555 สหรัฐ
สเปน มาดริด, สเปน 15–22 กันยายน 1992 75 1600
10 1996 สหรัฐ แอตแลนตา, สหรัฐ รองประธานาธิบดี อัล กอร์ 16–25 สิงหาคม 1996 104 3259 2469 790 20 508 สหรัฐ
11 2000 ออสเตรเลีย ซิดนีย์, ออสเตรเลีย ผู้สำเร็จราชการวิลเลียม ดีนน์ 18–29 ตุลาคม 2000 121 3881 2891 990 18 551 ออสเตรเลีย
12 2004 กรีซ เอเธนส์, กรีซ ประธานาธิบดี กอนสตันตีโนส สเตฟาโนปูโลส 17–28 กันยายน 2004 136 3806 2646 1160 19 519 จีน
13 2008 จีน ปักกิ่ง, จีน ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา 6–17 กันยายน 2008 146 3951 20 472 จีน
14 2012 สหราชอาณาจักร ลอนดอน, สหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 29 สิงหาคม – 9 กันยายน 2012 164 4302 20 503 จีน
15 2016 บราซิล รีโอเดจาเนโร, บราซิล ประธานาธิบดี มีแชล เตเมร์ 7–18 กันยายน 2016 159 4342 22 528 จีน
16 2020 ญี่ปุ่น โตเกียว, ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ 24 สิงหาคม – 5 กันยายน 2021 163 4520 22 539 จีน
17 2024 ฝรั่งเศส ปารีส, ฝรั่งเศส 27 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 22 การแข่งขันในอนาคต
18 2028 สหรัฐ ลอสแอนเจลิส, สหรัฐ 22 สิงหาคม – 3 กันยายน 2028 การแข่งขันในอนาคต
19 2032 ออสเตรเลีย บริสเบน, ออสเตรเลีย 24 สิงหาคม – 5 กันยายน 2028 การแข่งขันในอนาคต
20 2036 รอประกาศระหว่างปี 2025 และ 2029 TBA การแข่งขันในอนาคต

สรุปเหรียญตลอดกาล[แก้]

ลำดับที่ ประเทศ เข้าร่วม ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 สหรัฐ 16 808 736 739 2283
2 สหราชอาณาจักร 16 667 622 624 1913
3 จีน 10 535 400 302 1237
4 เยอรมนี[1] 16 521 526 499 1546
5 แคนาดา 14 398 339 346 1080
6 ออสเตรเลีย 16 389 422 394 1205
7 ฝรั่งเศส 16 322 334 336 1002
8 เนเธอร์แลนด์ 16 289 250 234 773
9 โปแลนด์ 13 269 265 220 754
10 สวีเดน 16 236 232 177 645
11 สเปน 14 221 235 241 697
12 อิตาลี 16 181 224 226 665
13 ยูเครน 7 149 162 161 472
14 อิสราเอล 16 129 125 130 384
15 เกาหลีใต้ 15 128 116 121 365
16 ญี่ปุ่น 15 127 139 158 424
17 แอฟริกาใต้ 12 121 95 88 304
18 ออสเตรีย 16 112 128 131 371
19 บราซิล 13 110 135 133 378
20 นอร์เวย์ 15 108 97 84 289

อ้างอิง[แก้]

  1. Prior to 1990 also called West Germany (FRG). Does not include the totals from East Germany (GDR).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]