ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอิรักในโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศอิรัก เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 ชาวอิรักพลาดการแข่งขันในปี ค.ศ. 1952 และคว่ำบาตรการแข่งขันในปี ค.ศ. 1956 เพื่อต่อต้านวิกฤตการณ์สุเอซ หลังจากหายไปครั้งนี้ อิรักกลับมาคว้าเหรียญทองแดงในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 ที่กรุงโรม พวกเขาเข้าร่วมในสามครั้งถัดไป แต่ไม่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1972 และ 1976 เพื่อคว่ำบาตรการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ในการเข้าร่วมการคว่ำบาตรปี ค.ศ. 1976 อิรักกลายเป็นเพียงรัฐที่สองที่ไม่ใช่ในแอฟริกาที่เข้าร่วมในการคว่ำบาตร (อีกประเทศคือกายอานา) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 อิรักได้ปรากฏตัวในทุกครั้ง แม้จะเกิดสงครามอิรักก็ตาม เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2003 อาคารที่ทำการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติของอิรักในกรุงแบกแดดได้รับความเสียหายจากการปล้นสะดมและไฟไหม้จากผู้ปล้นสะดม โปรแกรมโอลิมปิกของอิรักฟื้นตัวได้ทันเวลาเพื่อแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่เอเธนส์ในปีต่อไป และทีมฟุตบอลอิรักเกือบได้รับรางวัลเหรียญทองแดง แต่แพ้อิตาลีในการแข่งขันรอบชิงเหรียญทองแดง อิรักไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

อิรักได้เพียงเหรียญรางวัลเดียวเท่านั้นตั้งแต่เข้าแข่งขัน พวกเขาได้รับเหรียญทองแดงในการยกน้ำหนักในโอลิมปิกฤดูร้อน 1960

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติอิรักเป็นตัวแทนของพวกเขาตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขัน

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]

โอลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]
ปีการแข่งขัน นักกีฬา ทอง เงิน ทองแดง รวม อันดับ
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 1948 12 0 0 0 0 -
ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 1952 ไม่ได้เข้าร่วม
ออสเตรเลีย เมลเบิร์น 1956
อิตาลี โรม 1960 21 0 0 1 1 41
ญี่ปุ่น โตเกียว 1964 13 0 0 0 0 -
เม็กซิโก เม็กซิโกซิตี 1968 3 0 0 0 0 -
เยอรมนีตะวันตก มิวนิก 1972 ไม่ได้เข้าร่วม
แคนาดา มอนทรีอัล 1976
สหภาพโซเวียต มอสโก 1980 43 0 0 0 0 -
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 1984 23 0 0 0 0 -
เกาหลีใต้ โซล 1988 27 0 0 0 0 -
สเปน บาร์เซโลนา 1992 8 0 0 0 0 -
สหรัฐ แอตแลนตา 1996 3 0 0 0 0 -
ออสเตรเลีย ซิดนีย์ 2000 4 0 0 0 0 -
กรีซ เอเธนส์ 2004 24 0 0 0 0 -
จีน ปักกิ่ง 2008 4 0 0 0 0 -
สหราชอาณาจักร ลอนดอน 2012 8 0 0 0 0 -
บราซิล รีโอเดจาเนโร 2016 24 0 0 0 0 -
ญี่ปุ่น โตเกียว 2020 3 0 0 0 0 -
ฝรั่งเศส ปารีส 2024 อนาคต
สหรัฐ ลอสแอนเจลิส 2028
ออสเตรเลีย บริสเบน 2032
รวม 0 0 1 1 147

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]