ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเนสโก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Underbednangngam (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 76: บรรทัด 76:
| Audrey Azoulay || {{flagcountry|FRA}} || 2017–ปัจจุบัน
| Audrey Azoulay || {{flagcountry|FRA}} || 2017–ปัจจุบัน
|}
|}
<!--

=== General Conference ===
=== General Conference ===


บรรทัด 366: บรรทัด 366:
{{flagcountry|United Arab Emirates}}
{{flagcountry|United Arab Emirates}}
|}
|}
-->




== สำนักงาน ==
== สำนักงาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:42, 28 กรกฎาคม 2564


องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ประเภทหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ
รัสพจน์ยูเนสโก (UNESCO)
หัวหน้า Audrey Azoulay
ผู้อำนวยการองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
จัดตั้ง16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1945[1]
สำนักงานปารีส, ฝรั่งเศส
เว็บไซต์www.unesco.org
ต้นสังกัดคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
ธงของยูเนสโก

องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (อังกฤษ: UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า

"สงครามเริ่มต้นที่จิตใจของมนุษย์ฉันใด ความหวงแหนสันติภาพก็ต้องสร้างขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วยฉันนั้น"

นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่าง ๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ. ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ. ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ปัจจุบัน ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ สมาชิกสมทบอีก 11 ประเทศ[2] ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49)

โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเชีย อาหรับ สเปน และจีน

การดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุก ๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี

ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

ประวัติ

กิจกรรม

สถาบันและศูนย์

รางวัล

วันสากล

ประเทศสมาชิก

ผู้อำนวยการ

รายชื่อผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก ดังนี้ [3]

ชื่อ สัญชาติ ดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.)
Julian Huxley  สหราชอาณาจักร 1946–48
Jaime Torres Bodet  เม็กซิโก 1948–52
John Wilkinson Taylor  สหรัฐ รักษาการ 1952–53
Luther Evans  สหรัฐ 1953–58
Vittorino Veronese  อิตาลี 1958–61
René Maheu  ฝรั่งเศส 1961–74; รักษาการ 1961
Amadou-Mahtar M'Bow  เซเนกัล 1974–87
Federico Mayor Zaragoza  สเปน 1987–99
Koïchiro Matsuura  ญี่ปุ่น 1999–2009
Irina Bokova  บัลแกเรีย 2009–2017
Audrey Azoulay  ฝรั่งเศส 2017–ปัจจุบัน

สำนักงาน

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ history
  2. "List of UNESCO members and associates". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
  3. UNESCO official site: Directors-General เก็บถาวร 18 กรกฎาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น