การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
ก่อตั้งพ.ศ. 2488; 79 ปีที่แล้ว (2488)
เว็บไซต์peacekeeping.un.org
ผู้บังคับบัญชา
รองเลขาธิการฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพJean-Pierre Lacroix
กำลังพล
ยอดประจำการ81,820 นาย[1]
รายจ่าย
งบประมาณ6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[2] (อังกฤษ: United Nations peacekeeping หรือ Peacekeeping by the United Nations) เป็นบทบาทของทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติในฐานะ "เครื่องมือที่องค์การพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นหนทางช่วยเหลือประเทศที่แตกแยกจากความขัดแย้ง เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน"[3] ซึ่งแตกต่างจากการสร้างสันติภาพ (Peacebuilding)[4] การทำให้เกิดสันติภาพ (Peacemaking)[5] และการบังคับใช้สันติภาพ (Peace enforcement)[5] ที่แม้ว่าองค์การสหประชาชาติจะรับรู้ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นการ "ส่งเสริมซึ่งกันและกัน" และการทับซ้อนกันของกิจกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นบ่อยในทางปฏิบัติ[6]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ (Peacekeeping) จะคอยติดตามและสังเกตกระบวนการสันติภาพในพื้นที่หลังจากเกิดความขัดแย้ง และช่วยเหลืออดีตผู้ที่เคยเป็นคู่ขัดแย้งกันในการดำเนินการตามข้อตกลงสันติภาพที่พวกเขาอาจจะเป็นผู้ลงนาม ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าวอาจมาในหลายรูปแบบ เช่น การแยกอดีตคู่ขัดแย้ง (กองกำลังหรือนักรบ) ออกจากกัน, มาตรฐานสร้างความเชื่อมั่น ข้อตกลงการแบ่งสรรปันอำนาจหรือใช้อำนาจร่วม ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้ง การเสริมสร้างหลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ หมวกเบเร่ต์สีฟ้า หรือ หมวกสีฟ้า เนื่องจากพวกเขาสวมใส่หมวกสีฟ้าทั้งในรูปแบบของหมวกเบเร่ต์และหมวกเหล็กกันกระสุน)[7] มักจะรวมไปถึงทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือน

กฎบัตรสหประชาชาติ หมวดที่ 7 ได้ให้อำนาจและความรับผิดชอบแก่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการดำเนินการร่วมกันเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ[8] โดยปฏิบัติการส่วนใหญ่ได้รับการจัดตั้งโดยสหประชาชาติเอง โดยมีกองทหารปฏิบัติการตามการควบคุมสั่งการของสหประชาชาติ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพที่มาปฏิบัติการจะยังคงเป็นสมาชิกของกองกำลังเดิมในสังกัดของตนอยู่ ไม่ได้มีการประกอบกำลังเป็นเป็น "กองทัพสหประชาชาติ" ที่ตั้งแยกออกมาเป็นอิสระ เนื่องจากสหประชาชาติไม่มีกองกำลังดังกล่าวอยู่ ในกรณีที่การแทรกแซงของสหประชาติไม่ได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสมหรือเป็นไปได้ สภาจะอนุญาตให้องค์การระดับภูมิภาค เช่น เนโท[8], ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรือประเทศแนวร่วมที่เต็มใจเข้าไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพหรือบังคับใช้สันติภาพ

Jean-Pierre Lacroix คือหัวหน้าของฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพในตำแหน่ง รองเลขาธิการฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพ โดยรับช่วงต่อจาก Hervé Ladsous เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา หัวหน้าฝ่ายทั้งหมดเป็นชาวฝรั่งเศส โดยเอกสารหลักระดับสูงสุดของทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติมีชื่อว่า "United Nations Peacekeeping Operations: Principles and Guidelines" (ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ: หลักการและแนวปฏิบัติ) ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อปื พ.ศ. 2551[9]

รูปแบบ[แก้]

กองกำลังทหารช่างไทยในปฏิบัติการ UNMISS ซูดานใต้
แผนกอุบัติเหตุและกู้ภัยฉุกเฉินของบังกลาเทศ ของกองกำลัง MONUSCO ในเมืองบูเนีย รัฐอิตูรี
กองพันนานาชาติของสหประชาชาติในพิธีสวนสนามวันบาสตีย์ปี 2551

เมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกันแล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจจะขอให้องค์การสหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาควบคุมดูแลองค์ประกอบต่าง ๆ ตามแผนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยสิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงในสหประชาชาติมักจะเลือกไม่สนับสนุนผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันเนื่องจากกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงนั้นมาจากหลายกลุ่ม ได้แก่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่มีสมาชิกอยู่ 15 คน และสำนักเลขาธิการสหประชาชาติที่ออกแบบมาให้มีความหลากหลายโดยเจตนา

หากคณะมนตรีความมั่นคงอนุมัติภารกิจ ทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติจะเริ่มวางแผนสำหรับองค์ประกอบที่จำเป็นต่อคณะผู้แทน โดยเมื่อได้เลือกผู้บังคับบัญชาอาวุโสแล้ว[10] ทบวงจะขอเงินสนับสนุนจากชาติสมาชิก เนื่องจากองค์การสหประชาชาติไม่มีกองกำลังหรือเสบียงของตนเองที่เพียงพอ ทำให้สหประชาชาติต้องจัดกำลังในรูปแบบของกองกำลังเฉพาะกิจทุกครั้งที่จัดตั้งคณะผู้แทน ซึ่งส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการจัดกองกำลังที่เหมาะสมและเกิดความล้าช้าในการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อกองกำลังลงไปปฏิบัติการในพื้นที่ความขัดแย้ง

Roméo Dallaire ผู้บัญชาการกองกำลังในรวันดาระหว่างที่เกิดเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของกองกำลังรักษาสันติภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กองกำลังทหารแบบปกติคือ:

เขาบอกผมว่าระบบของสหประชาชาติเป็นรูปแบบของการ "ดึง" ไม่ระบบของการ "ผลักดัน" เหมือนกับที่ผมเคยทำกับเนโท เพราะสหประชาชาติไม่มีแหล่งทรัพยากรที่จะนำมาใช้งานอย่างมั่นคงและแน่นอน คุณจะต้องร้องขอทุกสิ่งที่คุณต้องการ จักนั้นคุณต้องรอในขณะที่พวกเขาพิจารณาคำของนั้น... ตัวอย่างเช่น ทหารทุกที่ต้องกินและดื่ม ในระบบแบบผลักดัน อาหารและน้ำดื่มตามจำนวนของทหารจะถูกจัดส่งกำลังบำรุงให้โดยอัตโนมัติ ขณะที่ระบบแบบดึง คุณต้องขอปันส่วนสิ่งเหล่านั้น มันดูขัดกับสามัญสำนึกมากเลย

— (Shake Hands With the Devil, Dallaire, pp. 99–100)

แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกำลังดำเนินการจัดกำลังด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน[11] ในขณะที่กำลังรวบรวมกองกำลังรักษาสันติภาพ เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติก็ดำเนินกิจกรรมทางการทูตหลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน โดยขนาดและยุทโธปกรณ์ของกองกำลังที่จะจัดลงในคณะผู้แทนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดกับพื้นที่ที่มีความขัดแย้งอยู่ ส่วนของกฎการปะทะจะต้องได้รับการมีส่วนร่วมและเห็นชอบโดยทั้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องและฝ่ายคณะมนตรีความมั่นคง โดยอาจให้อำนาจเฉพาะตามที่กำหนดและอยู่ในขอบเขตของภารกิจ (เช่น เวลาใดที่เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพจะใช้กำลัง อาจจะหากมีอาวุธ และสถานที่ที่กองกำลังอาจจะเข้าไปได้ในประเทศนั้น ๆ ในภารกิจ) ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพจะได้รับคำสั่งให้มีผู้ดูแลของรัฐบาลเจ้าของพื้นที่ติดตามไปด้วยทุกครั้งที่ต้องออกไปปฏิบัติการนอกฐาน ซึ่งความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมาในการปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อตกลงข้อกำหนดทั้งหมดจนเสร็จสิ้นแล้ว บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่จำเป็นจะถูกเรียกระดมพล และเมื่อได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพก็จะถูกส่งไปประจำการยังภูมิภาคที่เกิดปัญหา

การจัดหาเงินทุน[แก้]

ทรัพยากรทางการเงินของการปฏิบัติการรักษาสันติภาพขอสหประชาชาติเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้ง การบำรุงรักษา หรือการขยายปฏิบัติการรักษาสันติภาพจะต้องดำเนินการโดยคณะมนตรีความมั่นคง ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ทุกประเทศสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องร่วมจ่ายเงินในการรักษาสันติภาพ โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาสันติภาพจะถูกจัดส่วนแบ่งโดยสมัชชาใหญ่ตามการคำนวณที่กำหนดโดยรัฐสมาชิก โดยคิดตามความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกนั้น ๆ[12]

ในปี พ.ศ. 2560 สหประชาชาติตกลงที่จะลดงบประมาณการรักษาสันติภาพลง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่สหรัฐเสนอให้ลดงบประมาณลงมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนหน้านี้[13]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวออสเตรเลียในติมอร์ตะวันออก
ปี แหล่งเงินทุนแยกตามประเทศ/แหล่งที่มา คำอธิบาย จำนวนเงินทั้งหมด
2558–2559 8.3 พันล้านดอลลาร์[14]
2559–2560  สหรัฐ 28.57%

 จีน 10.29%
 ญี่ปุ่น 9.68%
 เยอรมนี 6.39%
 ฝรั่งเศส 6.31%
 สหราชอาณาจักร 5.80%
 รัสเซีย 4.01%
 อิตาลี 3.75%
 แคนาดา 2.92%
 สเปน 2.44%

น้อยกว่า 0.5% ของรายจ่ายทางการทหารทั่วโลก (ประมาณ 1,747 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2556) ทรัพยากรดังกล่าวเป็นเงินทุนสนับสนุนคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติคิดเป็น 14 จาก 16 คณะผู้แทน โดยอีก 2 คณะผู้แทนที่เหลือได้รับเงินทุนผ่านงบประมาณปกติของสหประชาชาติ

นอกจากนี้ หลายประเทศยังสมัครใจที่จะจัดเตรียมทรัพยากรเพิ่มเติมในการสนับสนุนการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เช่น การขนส่ง เสบียงสิ่งของ บุคลากร และเงินบริจาค ซึ่งอยู่นอกเหนือจากเงินทุนการรักษาสันติภาพที่ได้ประเมินไว้[12]

7.87 พันล้านดอลลาร์[12]
2560–2561 ในขณะที่หลายคนชื่นชมปฏิบัติการสหประชาชาติในโกตดิวัวร์ ปฏิบัติการดังกล่าวก็ส่งผลต่อความมีเสถียรภาพของประเทศ โดยคณะผู้แทนดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560[15] 7.3 พันล้านดอลลาร์[13]

สมัชชาใหญ่อนุมัติค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นประจำทุกปี โดยการจัดหาเงินทุนครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 มิถุนายนของทุกปี[16]

ปฏิบัติการ-ระดับงบประมาณ (ดอลลาร์สหรัฐ)[17][18]
รัสพจน์ ปฏิบัติการ 2560–2561 2561–2562
UNMISS คณะผู้แทนในซูดานใต้ $1,071,000,000 $1,124,960,400
MONUSCO คณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพในคองโก $1,141,848,100 $1,114,619,500
MINUSMA คณะผู้แทนบูรณาการหลายมิติในมาลี $1,048,000,000 $1,074,718,900
MINUSCA คณะผู้แทนบูรณาการหลายมิติในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง $882,800,000 $930,211,900
UNSOS สำนักงานสนับสนุนในโซมาเลีย $582,000,000 $558,152,300
UNIFIL กองกำลังเฉพาะกาลประจำเลบานอน $483,000,000 $474,406,700
UNAMID ปฏิบัติการผสมในดาร์ฟูร์ $486,000,000 $385,678,500
UNISFA กองกำลังชั่วคราวรักษาความมั่นคงในอับยี $266,700,000 $263,858,100
UNMIL คณะผู้แทนในไลบีเรีย $110,000,000 -
MINUJUSTH คณะผู้แทนสนับสนุนความยุติธรรมในเฮติ $90,000,000 $121,455,900
UNDOF กองกำลังสังเกตการณ์แยกกำลังทหาร $57,653,700 $60,295,100
UNFICYP กองกำลังรักษาสันติภาพในไซปรัส $54,000,000 $52,938,900
MINURSO คณะผู้แทนว่าด้วยการออกเสียงประชามติในซาฮาราตะวันตก $52,000,000 $52,350,800
UNMIK องค์การบริหารชั่วคราวในคอซอวอ $37,898,200 $37,192,700
รวมทั้งปี $6,362,900,000 $6,250,839,700

โครงสร้าง[แก้]

คณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีโครงสร้างการบังคับบัญชาหลัก 3 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกคือ ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติ[19] (Special Representative of the Secretary-General) เป็นผู้นำของคณะผู้แทนอย่างเป็นทางการ[19] มีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมทางการเมืองและการทูตทั้งหมด ดูแลความสัมพันธ์กับทั้งสองฝ่ายในสนธิสัญญาสันติภาพในการสงศึกและรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ โดยทั่วไปจะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักเลขาธิการ ตำแหน่งที่สองคือผู้บัญชาการกองทัพ[20] (Force Commander) ซึ่งรับผิดชอบกองกำลังทหารประจำการ และเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพระดับชาติ และมักมาจากชาติที่ส่งกำลังทหารเข้าร่วมในโครงการมากที่สุด ตำแหน่งสุดท้าย หัวหน้าฝ่ายบริหาร (Chief Administrative Officer) จะดูแลด้านการจัดหาเสบียงสิ่งของ การส่งกำลังบำรุง และการประสานงานในการจัดหาสิ่งของที่จำเป็น[21]

สถิติ[แก้]

ขนาดรวมของกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2490 ถึง 2557[22]

ในปี พ.ศ. 2550 อาสาสมัครรักษาสันติภาพจะต้องมีอายุมากกว่า 25 ปี โดยไม่ได้จำกัดอายุสูงสุด[23] ซึ่งกองกำลังรักษาสันติภาพจะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐสมาชิกตามความสมัครใจ ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีผู้ปฏิบัติงาน 100,411 คนที่ปฏิบัติงานในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (เป็นทหาร 86,145 นาย พลเรือน 12,932 คน และอาสาสมัคร 1,334 คน)[24]

ประเทศในยุโรปบริจาคเงินให้เท่ากับเกือบ 6,000 คนในยอดทั้งหมดนี้ ในขณะที่ปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศเป็นหนึ่งในประเทศที่มีส่วนร่วมในผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ประเทศละประมาณ 8,000 คน ส่วนประเทศในแอฟริกามีส่วนร่วมในผู้ปฏิบัติงานเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 44,000 คน[25]

ประวัติ[แก้]

การรักษาสันติภาพในช่วงสงครามเย็น[แก้]

รถหุ้มเกราะ Panhard ของผู้รักษาสันติภาพใน Musée des Blindés, Saumur ประเทศฝรั่งเศส ยานพาหนะเหล่านี้ให้เข้าประจำการในสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง UNFICYP
ขบวนรถติดอาวุธ UNOSOM ของปากีสถาน เคลื่อนขบวนในกรุงโมกาดิชู

การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามเย็นเพื่อเป็นวิธีในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างรัฐต่าง ๆ โดยการส่งกำลังทางทหารที่ไม่มีอาวุธหรือติดอาวุธเบาจากชาติต่าง ๆ หลากหลายชาติ ซึ่งได้รับคำสั่งจากสหประชาชาติ ไปยังพื้นที่ที่ฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามต้องการฝ่ายที่เป็นกลางในการสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสามารถปฏิบัติการได้เมื่อชาติมหาอำนาจหลักระหว่างประเทศ (สมาชิกถาวรทั้งห้าของคณะมนตรีความมั่นคง) ได้มอบหมายให้สหประชาติเข้าไปช่วยยุติความขัดแย้งที่คุกคามเสถียรภาพ สันติภาพในภูมิภาคและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านีถูกเรียกว่า "สงครามตัวแทน" ที่จำนวนหนึ่งเกิดขึ้นโดยรัฐบริวารของชาติมหาอำนาจ โดยเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจำนวน 72 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ซึ่งยังมีปฏิบัติการที่ยังดำเนินการอยู่อีก 17 ปฏิบัติการ และมีการยื่นข้อเสนอสำหรับปฏิบัตการของคณะผู้แทนฯ เข้ามาใหม่ในทุก ๆ ปี

ปฏิบัติการของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยคณะผู้แทนนั้นคือ องค์การดูแลการสงบศึกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Truce Supervision Organization: UNTSO) ถูกส่งไปยังรัฐอิสราเอลที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งพึ่งประกาศหยุดยิงหลังจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและชาติอาหรับเกี่ยวกับการก่อตั้งรัฐอิสราเอล UNTSO ยังคงปฏิบัติงานมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จะไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลายลงก็ตาม หนึ่งปีต่อมา คณะผู้แทนสังเกตการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในอินเดียและปากีสถาน (United Nations Military Observer Group in India and Pakistan: UNMOGIP) ได้รับอนุญาตให้คอยติดตามความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งถูกแยกออกมาหลังจากการปลดปล่อยอาณานิคมของสหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย

ในขณะที่สงครามเกาหลียุติลงตามความตกลงการสงบศึกเกาหลีในปี พ.ศ. 2496[26] กองกำลังของสหประชาชาติยังคงอยู่ตามแนวทางใต้ของเขตปลอดทหารจนถึงปี พ.ศ. 2510 ประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมได้ถอนกำลังออกมาคงเหลือแค่กำลังของกองทัพสหรัฐ กองทัพเกาหลีใต้ และกองทัพไทย[27]

สหประชาชาติตอบสนองต่อวิกฤตการณ์คลองสุเอซในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างพันธมิตรของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิสราเอล กับประเทศอียิปต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติอาหรับอื่น ๆ โดยมีคู่ขัดแย้งหลักคืออิสราเอลและประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นชาติอาหรับ หลังจากการประกาศหยุดยิงในปี พ.ศ. 2500 เลสเตอร์ โบว์ลส์ เพียร์สัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา[28] (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) เสนอให้สหประชาชาติก่อตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพในซุเอซเพื่อให้แน่ใจว่าการหยุดยิงจะได้รับการเคารพจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งครั้งแรกเพียร์สันเสนอว่ากองกำลังดังกล่าวให้ประกอบไปด้วยกองกำลังของแคนาดาเป็นส่วนใหญ่ แต่เกิดคำถามจากชาวอียิปต์ว่าจะให้ประเทศจากเครือจักรภพมาปกป้องพวกเขาจากสหราชอาณาจักรและชาติพันธมิตรหรืออย่างไร ในท้ายที่สุด กองกำลังระดับชาติจากหลากหลายประเทศก็ถูกดึงมาประจำการเพื่อรับประกันความหลากหลายของชาติที่มาปฏิบัติหน้าที่

ในปี พ.ศ. 2531 กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้รับมองรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยตามข่าวแจกระบุเอาไว้ว่า กองกำลัง "เป็นตัวแทนของเจตจำนงอันชัดเจนของประชาคมประเทศต่าง ๆ" และได้ "มีส่วนสนับสนุนที่เด็ดขาด" ในการแก้ไปข้อขัดแย้งทั่วโลก

ในปี 1988 กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ข่าวประชาสัมพันธ์ระบุว่ากองกำลัง "เป็นตัวแทนของเจตจำนงอันชัดแจ้งของประชาคมของประเทศต่างๆ" และได้ "มีส่วนสนับสนุนอย่างเด็ดขาด" ในการแก้ไขข้อขัดแย้งทั่วโลก

ตั้งแต่ พ.ศ. 2534[แก้]

กองกำลังบังกลาเทศภายใต้ภารกิจ MINUSMA ประเทศมาลี
เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวนอร์เวย์ระหว่างการล้อมเมืองซาราเยโว 2535–2536
Indian Army doctors attend to a child in Congo

การสิ้นสุดของสงครามเย็นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสหประชาชาติและการรักษาสันติภาพในรูปแบบพหุภาคี ด้วยเจตนารมณ์ใหม่ในความร่วมมือ คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดตั้งคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งมักจะมีส่วนร่วมในการดำเนินข้อตกลงสันติภาพที่ให้ความครอบคลุมระหว่างคู่สงครามในความขัดแย้งภายในรัฐและสถานการณ์สงครามกลางเมือง นอกจากนี้ การรักษาสันติภาพยังมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่ไม่ใช่ทางทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยรับประกันกลไกการทำงานของหน้าที่พลเมือง เช่น การเลือกตั้ง ทำให้มีการก่อตั้งทบวงการรักษาสันติภาพขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อรองรับขนาดของภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น

ในภาพรวมแล้ว การปฏิบัติการที่ได้รับการปฏิรูปใหม่ประสบความสำเร็จ เช่น ในเอลซัลวาดอร์และโมซัมบิก ซึ่งการรักษาสันติภาพนำไปสู่การบรรลุสันติภาพด้วยตัวเองได้ของทั้งสองฝ่าย ในขณะที่บางความพยายามในการปฏิบัติการก็ประสบความล้มเหลว อาจเกิดมาจากการประเมินศักยภาพของตัวเองสูงเกินไปไปว่าการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจะสามารถทำได้ โดยในขณะที่การปฏิบัติการของคณะผู้แทนในกัมพูชาและโมซัมบิกยังปฏิบัติการอยู่ซึ่งทั้งคู่มีความซับซ้อนสูง คณะมนตรีความมั่นคงก็ยังคงส่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพไปยังพื้นที่ขัดแย้งอื่นอีก เช่น โซมาเลีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการหยุดยิงหรือได้รับการยินยอมจากทุกฝ่ายในความขัดแย้ง รวมถึงปฏิบัตการโดยขาดกำลังคนที่เพียงพอและไม่ได้รับการสนับสนุนในทางการเมืองที่จำเป็นมากเพียงพอในการปฏิบัติการตามอาณัติ

ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาในปี พ.ศ. 2537 และการสังหารหมู่สเรเบรนีตซาและในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปี พ.ศ. 2538 ส่งผลให้ต้องมีการลดจำนวนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพและพิจารณาตัวเองในบทบาทนี้ของสหประชาชาติ ทำให้องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านในสโลเวเนียตะวันออก บารันยา และซิริเมียมตะวันตก (UNTAES) ซึ่งมีขนาดองค์กรค่อนข้างไม่ใหญ่มากในสโลวาเนียตะวันออก ที่เป็นการปฏิบัติการที่ได้รับการทุ่มเทเป็นพิเศษ และกลายเป็น "พื้นที่พิสูจน์แนวคิด วิธีการ และขั้นตอนปฏิบัติ" ซึ่งภารกิจดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่าเป็นคณะผู้แทนสหประชาชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และตามมาด้วยคณะบริหารในช่วงเปลี่ยนผ่านอื่น ๆ ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นในคอซอวอ (องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในคอซอวอ: UNMIK) และในติมอร์ตะวันออก (องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก: UNTAET)

ส่วนหนึ่งส่งผลให้คณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพแห่งสหประชาชาติ ซึ่งดำเนินการเพื่อสร้างสันติภาพที่มั่นคงผ่านกลไกตามหน้าที่พลเมืองแบบเดียวกับที่เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพทำอยู่ เช่น การเลือกตั้ง ปัจจุบันคณะกรรมาธิการทำงานร่วมมือกับหกชาติซึ่งทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา[29]

การมีส่วนร่วม[แก้]

กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดว่า เพื่อช่วยในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลก รัฐสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมดควรจัดให้มีกองกำลังและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นที่พร้อมต่อการร้องขอของคณะมนตรีความมั่นคง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา เกือบ 130 ประเทศได้ส่งกำลังทหารและตำรวจพลเรือนเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แม้ว่าจะไม่มีบันทึกโดยละเอียดของบุคลากรทุกคนที่เข้ารวมในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 แต่คาดว่ามีทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพลเรือนมากถึงหนึ่งล้านนายในการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติในตลอดช่วงที่ผ่านมา

เฮลิคอปเตอร์อัลไพน์ทำสัญญาให้ใช้เบลล์ 212 ในการใช้ปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัวเตมาลา ปี 2541
ค่ายซานมาร์ตินในประเทศไซปรัสของกองกำลังอาร์เจนตินา ที่ประกอบไปด้วยกองกำลังจากประเทศอื่นๆ ในละตินอเมริกาด้วย
รถถัง ที-72 ของกองทัพบกอินเดีย ที่มีเครื่องหมาย UN ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ CONTINUE HOPE

ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 มีจำนวน 114 ประเทศที่ส่งผู้สังเกตการณ์ทางทหาร ตำรวจ และกองกำลังเข้ารร่วมกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 มีประเทศส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทั้งหมด 74,892 คนในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยบังกลาเทศมีจำนวนมากที่สุด (6,700 คน) อินเดีย (5,832 คน) เนปาล (5,794 คน) รวันดา (5,283 คน) และปากีสถาน (4,399 คน)[30] นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่เข้าร่วมแล้ว ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ยังมีเจ้าหน้าที่พลเรือนจากชาติต่าง ๆ กว่า 5,187 คน อาสาสมัครสหประชาชาติ 2,031 คน และเจ้าหน้าที่พลเรือนในพื้นที่ 12,036 คนทำงานในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[31]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวโปแลนด์ในซีเรีย

ข้อมูลจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 มีผู้เสียชีวิต 3,767 รายจากกว่า 100 ประเทศขณะปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ[32] จำนวนมากที่สุดมาจากอินเดีย (163 คน) ไนจีเรีย (153 คน) ปากีสถาน (150 คน) บังคลาเทศ (146 คน) และกานา (138 คน)[33] โดยสามสิบเปอร์เซ็นของการเสียชีวิตเกิดขึ้นในช่วง 55 ปีแรกของการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2536–2538 ซึ่งประมาณ 4.5% ของทหารและตำรวจพลเรือนที่ประจำการในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมาจากสหภาพยุโรป และน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นมาจากสหรัฐ[34]

อัตราการจ่ายเงินชดเชยโดยสหประชาชาติ สำหรับประเทศที่ส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพต่อเดือน ได้แก่: 1,028 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยง; ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 303 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ; 68 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเสื้อผ้า อุปกรณ์ทางทหาร และอุปกรณ์อื่น ๆ และ 5 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอาวุธประจำกาย[35]

สหรัฐ[แก้]

ในสหรัฐ รัฐบาลของของบิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู บุช เริ่มต้นด้วยปรัชญาที่แตกต่างกัน แต่ได้ปฏิบัตินโยบายที่มีความคล้ายคลึงกันในการปรับใช้ในการปฏฺบัติการสันติภาพในการช่วยเหลือนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ ความกังวลด้านอุดมการในช่วงแรกถูกแทนที่ด้วยการตัดสินใจปฏิบัติการช่วยเหลือปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ โดยรัฐบาลของทั้งสองรัฐบาลไม่เต็มใจที่จะสนับสนุนกองทหารภาคพื้นดินจำนวนมากในการปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของสหประชาชาติ แม้ว่ารัฐบาลทั้งสองรัฐบาลจะสนับสนุนการเพิ่มจำนวนและขนาดของคณะผู้แทนสหประชาชาติก็ตาม[36]

รัฐบาลของคลินตันมีอีกความท้าทายในการปฏิบัติการที่สำคัญ แทนที่จะเป็นความรับผิดชอบ แต่กลับเป็นราคาทางยุทธวิธีที่มาจากความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ ปฏิบัติการสันติภาพของอเมริกาช่วยเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของเนโท ในขณะที่รัฐบาลของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เริ่มต้นจากทัศนคติเชิงอุดมการในเชิงลบต่อปฏิบัติการสันติภาพ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในยุโรปและละตินอเมริกาเน้นย้ำว่าการปฏิบัติการสันติภาพส่งผลบวกในเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้กำลังของยุโรปในอัพกานิสถานและเลบานอน[37]

ผลลัพธ์[แก้]

จากการศึกษาของเพจ ฟอร์ทนา นักวิชาการ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการมีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพช่วยลดความเสี่ยงของการก่อสงครามครั้งใหม่ได้อย่างมาก จำนวนกองกำลังรักษาสันติภาพที่มีจำนวนมากขึ้นส่งผลให้มีการเสียชีวิตในการปะทะของทหารและผลเรือนลดลง[38] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าการตอบรับที่จะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในพื้นที่ความขัดแย้งจะช่วยให้ดึงคู่ขัดแย้งเข้ามาสู่เวทีเจรจาโดยองค์การระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้น และเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะประกาศตกลงหยุดยิง[39]

อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายฉบับในระหว่างภารกิจของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารของสหประชาชาติ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐอัฟริกากลางในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งค่าใช้จ่ายของภารกิจนี้ก็สูงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) มีค่าใช้จ่าย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับทหารของสหประชาชาติจำนวน 12,500 นายที่ไม่สามารถป้องกันสงครามกลางเมืองของประเทศนี้ได้ ซึ่งบ่อยครั้งที่ภารกิจต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลท้องถิ่นก่อนที่จะส่งกำลังทหารเข้าไป ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการทำงานของคณะผู้แทนสหประชาชาติได้เช่นกัน[40]

นิโคลัส ซัมบานิส ยืนยันว่าการมีอยู่ของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการบรรลุสันติภาพโดยเฉพาะในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เขาตั้งข้อสังเกตว่าผลกระทบนี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ยิ่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพอยู่ในประเทศนั้นนาาเท่าไหร่ โอกาสที่จะสร้างสันติภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยความสำเร็จที่เป็นที่รับรู้ในการปฏิบัติการของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นด้วย ซึ่งซัมบานิสอ้างว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นก็มีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสันติภาพต่อไปด้วยเช่นกัน[41]

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มงบประมาณในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นสองเท่า อาณัติการปฏิบัติการที่เข้มงวดมากขึ้น และการเพิ่มงบประมาณการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเป็นสองเท่าจะช่วยลดความขัดแย้งทางอาวุธได้มากขึ้นถึงสองในสามเมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่ไม่มีการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[42] จากการวิเคราะห์การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ 47 ครั้ง โดย เวอร์จิเนีย เพจ ฟอร์ทนา แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่าการมีส่วนร่วมของบุคลากรของสหประชาชาติโดยทั่วไปจะส่งผลให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน[43] ในขณะที่ฮานเนอ ฟเจลเด, ลิซา ฮัลท์แมน และเดซิรี นิลส์สัน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอุปซอลา ศึกษาข้อมูลยิ่สิบปีย้อนหลังเกี่ยวกับคณะผู้แทนรักษาสันติภาพ ซึ่งรวมถึงในเลบานอน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และสาธารณรัฐอัฟริกากลาง และได้ข้อสรุปว่าการปฏิบัติการเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียและบาดเจ็บของพลเรือนมากกว่าการปฏิบัติการต่อต้านการก่อกการร้ายที่ปฏิบัติการโดยรัฐชาติ[44]

จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2564 ใน American Political Science Review พบว่าการมีอยู่ของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีความสัมพันธ์ที่อ่อนแอในหลักนิติธรรมในขณะที่ความขัดแย้งยังคงดำเนินการอยู่ แต่เกิดความสัมพันธ์ที่แข็งแรงในช่วงระยะเวลาสันติภาพ การศึกษายังพบว่า "ความสัมพันธ์นี้แข็งแรงมากขึ้นกับบุคลากรพลเรือนมากกว่าบุคลากรในเครื่องแบบ และจะแข็งแรงที่สุดเมื่อคณะผู้แทนของสหประชาชาติได้มีส่วนร่วมกับรัฐเจ้าภาพในกระบวนการปฏิรูป"[45] ในทำนองเดียวกัน ลิซ ฮาวเวอร์ด ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ได้โต้แย้งว่าการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีประสิทธิผลมากกว่าด้วยวิธีการที่ไม่ใช้การบังคับ แต่ใช้วิธีที่หลีกเลี่ยงความรุนแรง เช่น "การโน้มน้าวด้วยคำพูด การจูงใจทางการเงิน และการบีบบังคับไม่ให้ใช้กำลังทหารที่รุนแรง รวมไปถึงการสอดส่องสอดแนมและการจับกุม" ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้สงครามสงบลงได้[46]

และจากอีกการศึกษาปีเดียวกันใน American Journal of Political Science พบว่าการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดานใต้ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น[47]

จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2554 ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด หากได้รับความช่วยเหลือและยินยอมจากผู้มีบทบาทภายในประเทศในรัฐเจ้าบ้าน[48]

การรักษาสันติภาพและมรดกทางวัฒนธรรม[แก้]

ความมุ่งมั่งของสหประชาชาติในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการกวาดล้างครั้งใหญ่ในประเทศมาลี ซึ่งในกรณีนี้ การคุ้มครองทางมรดกและวัฒนธรรมของประเทศจะถูกรวมอยู่ในอาณัติของคณะผู้แทนสหประชาชาติ (มติที่ 2100) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากความก้าวหน้ามากมายที่สำเร็จก่อนหน้านี้ โดยอิตาลีได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับยูเนสโกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เพื่อสร้างกองกำลังเฉพาะกิจฉุกเฉินด้านวัฒนธรรมแห่งแรกของโลก ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญภาคพลเรือนและกองกำลังตำรวจคาราบิเนียร์ของอิตาลี ซึ่งในอีกด้านหนึ่ง หน่วยงานรักษาสันติภาพของสหประชาชาติก็ได้ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรของตนให้มีความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และในทางกลับกัน ก็ได้มีการติดต่ออย่างเหนียวแน่นสำหรับเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่ง "ฟอรัมหมวกสีฟ้า ในปี พ.ศ. 2562" (Blue Helmet Forum 2019) เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้แลกเปลี่ยนกันและกระชับความร่วมมือกัน ซึ่งภารกิจที่โดนเด่นคือการนำไปปรับใช้ในภารกิจของกองกำลังเฉพาะกาลของสหประชาชาติประจำเลบานอน (UNIFIL) ร่วมกันกับบลูชิลด์อินเตอร์เนชั่นแนล (Blue Shield International) เมื่อปี พ.ศ. 2562 เพื่อปกป้องแหล่งมรดกโลกในเลบานอน ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (ซึ่งดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญพลเรือนและทหาร) เป็นพื้นฐานในการพัฒนาอย่างสันติและส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคตของเมือง ภูมิภาค หรือประเทศในพื้นที่ขัดแย้ง ซึ่งความจำเป็นในการฝึกและการประสานงานทางการทหารและพลเรือนในด้านนี้ รวมถึงการเปิดให้ประชากรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมก็เด่นชัดขึ้นมา หลักจากเหตุระเบิดในเบรุตเมื่อปี พ.ศ. 2563 กองกำลังรักษาสันติภาพสามารถเข้าปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ร่วมกันกับบลูชิลด์อินเตอร์เนชั่นแนล และกองทัพเลบานอน[55]

อาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ[แก้]

การรักษาสันติภาพ การค้ามนุษย์ และการบังคับค้าประเวณี[แก้]

ผู้สื่อข่าวพบเห็นอัตราการค้าประเวณีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในกัมพูชาและโมซัมบิกหลังจากกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเคลื่อนกำลังเข้ามา ในปี พ.ศ. 2539 สหประชาชาติได้ศึกษา "ผลกระทบของความขัดแย้งทางอาวุธต่อเด็ก" (The Impact of Armed Conflict on Children) ซึ่งอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของโมซัมบิก Graça Machel ได้บันทึกเอาไว้ว่า: "ใน 6 จาก 12 ประเทศที่มีการศึกษาประเด็นการหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยอาวุธที่ศึกษาเพื่อประกอบในรายงานเล่มนี้ระบุว่า การมาถึงของกองกำลังรักษาสันติภาพมีส่วนเชื่อมโยงกับอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการค้าประเวณีในเด็ก"[56]

Gita Sahgal ได้กล่าวในปี พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับความจริงที่ว่าการค้าประเวณีและการล่วงละเมิดทางเพศนั้น เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ที่มีการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม โดยเธอตั้งข้อสังเกตว่า: "ปัญหาของสหประชาชาติคือ น่าเสียดายที่ปฏิบัติการักษาสันติภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้มีความแตกต่างจากสิ่งที่กองทัพอื่น ๆ ได้ทำ ซึ่งการเป็นผู้พิทักษ์เสียเองนั้นยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นไปอีก"[57]

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในคณะผู้แทนของสหประชาชาติ[แก้]

ตารางต่อไปนี้แสดงรายการที่ได้รับการยืนยันเกี่ยวกับอาชญากรรมและการล่วงละเมิดทางเพศที่กระทำโดยทหาร เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ และพนักงานของสหประชาชาติ[68]

ทหารกองทัพบกบราซิลเข้าร่วมในคณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH)
การเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ กองทหาร และพนักงานของสหประชาชาติ
ความขัดแย้ง คณะผู้แทนสหประชาชาติ การล่วงละเมิดทางเพศ ฆาตกรรม การขู่กรรโชก/โจรกรรม
สงครามคองโกครั้งที่สอง คณะผู้แทนสหประชาชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (MONUSCO) 150 3 44
สงครามกลางเมืองโซมาเลีย ปฏิบัติการสหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II) 5 24 5
สงครามกลางเมืองเซียร์ราลีโอน คณะผู้แทนสหประชาชาติในเซียร์ราลีโอน (UNAMSIL) 50 7 15
สงครามเอริเทรีย-เอธิโอเปีย คณะผู้แทนสหประชาชาติในเอธิโอเปียและเอริเทรีย (UNMEE) 70 15 0
สงครามกลางเมืองบุรุนดี ปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB) 80 5 0
สงครามกลางเมืองรวันดา คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติประจำชายแดนยูกันดา–รวันดา (UNOMUR) 65 15 0
สงครามกลางเมืองไลบีเรียครั้งที่สอง คณะผู้แทนสหประชาชาติในไลบีเรีย (UNMIL) 30 4 1
สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS) 400 5 0
สงครามกลางเมืองไอวอรีครั้งแรก ปฏิบัติการสหประชาชาติในโกตดิวัวร์ (UNOCI) 500 2 0
รัฐประหารในเฮติ พ.ศ. 2547 คณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH) 110 57 0
สงครามคอซอวอ องค์การบริหารชั่วคราวในคอซอวอของสหประชาชาติ (UNMIK) 800 70 100
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล–เลบานอน กองกำลังเฉพาะกาลแห่งสหประชาชาติประจำเลบานอน (UNIFIL) 0 6 0

ข้อเสนอในการปฏิรูป[แก้]

รายงานบราฮิมี[แก้]

เพื่อตอบสนองต่อการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะกรณีการล่วงละเมิดทางเพศโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ สหประชาชาติได้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิรูปการปฏิบัติงานของตน รายงานบราฮิมี (Brahimi Report) เป็นขั้นตอนแรกจากหลายขั้นตอนในการสรุปภารกิจคณะผู้แทนรักษาสันติภาพในอดีต มีการถอดบทเรียนความผิดพลาดออกมา และดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติการภารกิจรักษาสันติภาพในอนาคต กระบวนการปฏิรูปในมุมของเทคโนโลยีได้รับการดำเนินการต่อ และได้รับการรับช่วงต่อโดยทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติในวาระของการปฏิรูปที่ชื่อว่า "ปฏิบัติการสันติภาพ 2010" (Peace Operations 2010) ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มบุคลากร การประสานงานระหว่างการทำงานของเจ้าหน้าที่ในภาคสนามและสำนักงานใหญ่ การพัฒนาแนวปฏิบัติและขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน การปรับปรุงการบริหารจัดการระหว่างทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติ (DPKO) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สหภาพแอฟริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งหลักนิยมในระดับบนสุด (Capstone Doctrine) ในปี พ.ศ. 2551 มีชื่อว่า "ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ: หลักการและแนวปฏิบัติ"[9] ซึ่งได้รวบรวมและสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์รายงานบราฮิมี

หน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็ว[แก้]

ข้อเสนอแนะหนึ่งที่เกิดมาจากความล่าช้าของกองกำลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรวันดา คือการมีหน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็ว (rapid reaction force) ที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพที่มีลักษณะคล้ายกับกองทัพประจำการที่สามารถจัดกำลังได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยหน่วยจะถูกบริหารจัดการโดยสหประชาชาติและถูกส่งกำลังไปในพื้นที่โดยคณะมนตรีความมั่นคง หน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็วแห่งสหประชาชาติจะประกอบไปด้วยบุคลากรทางทหารจากสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงหรือรัฐสมาชิกของสหประชาชาติที่ประจำการอยู่ในประเทศของตน แต่จะได้รับการฝึกอบรม ได้รับอุปกรณ์ และรูปแบบการปฏิบัติการแบบเดียวกัน และมีการฝึกซ้อมร่วมกันกับกองกำลังอื่น ๆ[69][70]

การปรับโครงสร้างสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ[แก้]

ความสามารถในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพในปี พ.ศ. 2550 ด้วยการเพิ่มทบวงการสนับสนุนภาคสนาม (Department of Field Support: DFS) เพื่อเข้ามาสนับสนุนทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติ ในขณะที่หน่วยงานใหม่ที่เพิ่มเข้ามามีหน้าที่ในการขับเคลื่อนด้านการประสานงาน การบริหารจัดการ และการส่งกำลังบำรุงในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยที่ทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติมุ่งเน้นไปที่การวางแผนในระดับนโยบายและการจัดทำทิศทางของกลยุทธ์[71]

ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ[แก้]

โครงการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดยกองเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology Division) ของอดีตทบวงการสนับสนุนภาคสนาม (DFS) โดยมีวัตถุประสงค์ในการมีส่วนร่วมมากขึ้นในการรักษาสันติภาพผ่านแนวทางในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการของสหประชาชาติทั่วโลก[72]

มีการจัดการประชุมสัมมนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพประจำปี โดยการประชุมนานาชาติว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่เมืองอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 28 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศในเอเชียกลางจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพ ซึ่งมี Jean-Pierre Lacroix รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพ และ Atul Khare องเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายสนับสนุนภาคสนาม เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้[73]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Contributors to UN Peacekeeping Operations by Country and Post Police, UN Military Experts on Mission, Staff Officers and Troops" (PDF), United Nations, 31 August 2020, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 September 2020
  2. "สหประชาชาติขอบคุณประเทศไทยสำหรับความร่วมมือในภารกิจรักษาสันติภาพ | สหประชาชาติใน ประเทศไทย". thailand.un.org.
  3. "United Nations Peacekeeping". United Nations Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  4. "คู่มือภาคสนาม การสร้างสันติภาพ (PEACEBUILDING) สถาบันพระปกเกล้า". kpi.ac.th.
  5. 5.0 5.1 การรักษาและเสริมสร้างสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ (PDF). กองสันติภาพ ความมั่นคงและการลดอาวุธ กรมการระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. 2561.
  6. "Peace and Security". United Nations. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
  7. "คุยกับทูต : มองกองทัพปากีสถาน - หันกลับมามองกองทัพไทย และกลไกสันติภาพ - มติชนสุดสัปดาห์". www.matichonweekly.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Nau, Henry (2015). Perspectives on International Relations. Washington DC: CQ Press. pp. 252. ISBN 978-1-4522-4148-7.
  9. 9.0 9.1 "DPKO Capstone Doctrine" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-08-19. สืบค้นเมื่อ 2011-07-16.
  10. Oksamytna, Kseniya; Bove, Vincenzo; Lundgren, Magnus (2021). "Leadership selection in United Nations peacekeeping". International Studies Quarterly. 65: 16–28. doi:10.1093/isq/sqaa023.
  11. Lundgren, Magnus; Oksamytna, Kseniya; Katharina, Coleman (2021). "Only as fast as its troop contributors: Incentives, capabilities, and constraints in the UN's peacekeeping response". Journal of Peace Research. 58 (4): 671–686. doi:10.1177/0022343320940763.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Financing peacekeeping. United Nations Peacekeeping". www.un.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-31.
  13. 13.0 13.1 Nichols, Michelle. "U.N. states agree $7.3 bln peacekeeping budget, U.S. share cut 7.5 pct". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  14. "General Assembly Authorizes $8.3 billion for 15 Peacekeeping Operations in 2015/16 as It Adopts 25 Resolutions, 1 Decision in Reports of Fifth Committee | Meetings Coverage and Press Releases". www.un.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  15. "UN ends peacekeeping mission in Ivory Coast after 13 years" (ภาษาอังกฤษ). ABC News. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
  16. "หวั่นทีมสันติภาพ UN หยุดทำงาน หากยังหาข้อตกลงเรื่องงบประมาณไม่ได้". www.thairath.co.th. 2021-06-30.
  17. "Approved resources for peacekeeping operations for the period from 1 July 2017 to 30 June 2018". United Nations General Assembly. United Nations. 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
  18. "Approved resources for peacekeeping operations for the period from 1 July 2018 to 30 June 2019". United Nations General Assembly. United Nations. 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
  19. 19.0 19.1 (srsg) -for-south-sudan-and-head-of-the-united-nations-mission-in-south-sudan- (unmiss) "นายเชิดเกียรติ อัตถากร เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้พบหารือกับนาย David Shearer ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติประจำเซาท์ซูดานและหัวหน้าปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเซาท์ซูดาน | His Excellency Mr. Cherdkiat Atthakor, Ambassador of the Kingdom of Thailand had a meeting with Mr. David Shearer, Special Representative of the United Nations Secretary-General (SRSG) for South Sudan and Head of the United Nations Mission in South Sudan (UNMISS)". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  20. "ไทย ส่งกำลังพลเพื่อดำเนินปฏิบัติการสันติภาพ". Indo-Pacific Defense Forum.
  21. หลักนิยมกองทัพไทยสายยุทธการด้านการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (PDF). ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธศาสตร์ กองบัญชาการกองทัพไทย. 2552.[ลิงก์เสีย]
  22. "Total size of United Nations peacekeeping forces". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  23. "University of Minnesota Human Rights Library". hrlibrary.umn.edu.
  24. "DATA | United Nations Peacekeeping". United Nations. 30 June 2019. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
  25. "United Nations troop and police contributors archive (1990 - 2013)". สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.
  26. "The Korean War armistice". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-03-05. สืบค้นเมื่อ 2017-02-09.
  27. "United Nations Command > History > Post-1953: Evolution of UNC". www.unc.mil.
  28. "The Nobel Peace Prize 1957". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  29. "Beyond Peace Deals: The United Nations Experiment in "Peacebuilding"". Pulitzer Center. June 22, 2010.
  30. "United Nations Peacekeeping Contribution" (PDF). UN Peacekeeping. สืบค้นเมื่อ October 10, 2022.
  31. "Background Note – United Nations Peacekeeping Operations".
  32. "Fatalities". United Nations Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  33. UN Peacekeeping, "Fatalities by Nationality and Mission up to 8/31/2018" เก็บถาวร 27 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  34. "Peacekeeping Fact Sheet". United Nations. สืบค้นเมื่อ 2010-12-20.
  35. "United Nations Peacekeepers - How are peacekeepers compensated?".
  36. Victoria K. Holt, and Michael G. Mackinnon. "The origins and evolution of US policy towards peace operations." International peacekeeping 15.1 (2008) : 18-34 online. เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  37. Richard Gowan, "The United States and Peacekeeping Policy in Europe and Latin America: An Uncertain Catalyst?." International Peacekeeping 15.1 (2008) : 84-101.
  38. "Enough with the Pessimism about Peacekeeping". Political Violence @ a Glance. 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-10-22.
  39. Lundgren, Magnus (2016). "Which international organizations can settle civil wars?". Review of International Organizations. DOI 10.1007/s11558-016-9253-0 (4): 613–641. doi:10.1007/s11558-016-9253-0. S2CID 152898046.
  40. "Peacekeepers in name only". The Economist (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
  41. Sambanis, Nicholas (2008). "Short- and Long-Term Effects of United Nations Peace Operations". The World Bank Economic Review. 22: 9–32. doi:10.1093/wber/lhm022. hdl:10986/4470.
  42. Hegre, Håvard; Hultman, Lisa; Nygård, Håvard Mokleiv (2018-11-28). "Evaluating the Conflict-Reducing Effect of UN Peacekeeping Operations". The Journal of Politics. 81 (1): 215–232. doi:10.1086/700203. ISSN 0022-3816. S2CID 13894244.
  43. Fortna, Virginia Page (2008-07-21). Does Peacekeeping Work?: Shaping Belligerents' Choices After Civil War (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-13671-4.
  44. Howard, Lise Morjé (2019-05-16). Power in Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-45718-7.
  45. Blair, Robert A. (2021). "UN Peacekeeping and the Rule of Law". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 115 (1): 51–68. doi:10.1017/S0003055420000738. ISSN 0003-0554. S2CID 226196050.
  46. "A U.N. Peacekeeping Mission Is Afghanistan's Best Hope". www.worldpoliticsreview.com (ภาษาอังกฤษ). 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  47. Bove, Vincenzo; Salvatore, Jessica Di; Elia, Leandro (2021). "UN Peacekeeping and Households' Well-Being in Civil Wars". American Journal of Political Science (ภาษาอังกฤษ). 66 (2): 402–417. doi:10.1111/ajps.12644. ISSN 1540-5907.
  48. Pushkina, Darya; Siewert, Markus B.; Wolff, Stefan (2021). "Mission (im) possible? UN military peacekeeping operations in civil wars". European Journal of International Relations (ภาษาอังกฤษ). 28: 158–186. doi:10.1177/13540661211046602. ISSN 1354-0661.
  49. Referat 3, BMLVS-Abteilung Kommunikation-. ""Blue Helmet Forum" an der Landesverteidigungsakademie: "Protection of Cultural Heritage in Peace Operations&quot". bundesheer.at (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  50. UNESCO (2017-10-17). "A historic resolution to protect cultural heritage". UNESCO (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  51. "Action plan to preserve heritage sites during conflict". United Nations Peacekeeping (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  52. "Austrian Armed Forces Mission in Lebanon" (ภาษาเยอรมัน). 28 April 2019.
  53. UNESCO Director-General calls for stronger cooperation for heritage protection at the Blue Shield International General Assembly. UNESCO, 13 September 2017.
  54. "BEIRUT / HERITAGE PROTECTION". United Nations UN Audiovisual Library (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  55. [49][50][51][52][53][54]
  56. "The Impact of Armed Conflict on Children" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2003.
  57. "Sex charges haunt UN forces". Christian Science Monitor. November 26, 2004. สืบค้นเมื่อ 16 February 2010.
  58. "Congo's Desperate 'One-Dollar U.N. Girls' (washingtonpost.com)". www.washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  59. "UN troops face child abuse claims" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-11-30. สืบค้นเมื่อ 2019-07-30.
  60. http://www.weeklystandard.com/Content/Public/Articles/000/000/005/081zxelz.asp เก็บถาวร 2020-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The U.N. Sex Scandal
  61. "UN troops buy sex from teenage refugees in Congo camp - Africa, World - The Independent". Independent.co.uk. 2009-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2022-07-28.
  62. "UN Peacekeepers Criticized". www.globalpolicy.org. สืบค้นเมื่อ 2019-07-30.
  63. "Global Rules Now Apply to Peacekeepers". www.globalpolicy.org. สืบค้นเมื่อ 2019-07-30.
  64. http://law.bepress.com/cgi/viewcontent.cgi?article=3113&context=expresso Victims of Peace: Current Abuse Allegations against U.N. Peacekeepers and the Role of Law in Preventing Them in the Future
  65. No One to Turn To - BBC Analysis เก็บถาวร 15 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  66. Holt, Kate (2007-01-02). "UN staff accused of raping children in Sudan". Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-12. สืบค้นเมื่อ 2019-07-30.
  67. "Trafficking - Women - Girls - Bosnia - Herzegovina - Forced Prostitution". www.hrw.org. สืบค้นเมื่อ 2019-07-30.
  68. Report of the Panel on United Nations Peace Operations, 2000.
  69. M., Serafino, Nina (1995). A U.N. Rapid Reaction Force? A Discussion of the Issues and Considerations for U.S. Policymakers. Congressional Research Service, Library of Congress. OCLC 50077294.
  70. https://www.ipinst.org/wp-content/uploads/2012/06/pdfs_terrorism-directory_6-DPKO.pdf
  71. "Partnership for Technology in Peacekeeping". operationalsupport.un.org.
  72. "5th International Partnership for Technology in Peacekeeping Symposium kicks off in Kazakhstan". inform.kz. 28 May 2019.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]