อดีตแหล่งมรดกโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิเวอร์พูล

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกอาจสูญเสียสถานะแหล่งมรดกโลก หากคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาแล้ว เห็นว่าสถานที่นั้น ๆ ไม่ได้รับการดูแลหรือป้องกันอย่างเหมาะสม โดยประการแรก คณะกรรมการฯ จะจัดสถานที่ที่มีความกังวลดังกล่าวไว้ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย (World Heritage in Danger) และพยายามดำเนินการเจรจากับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ หากการแก้ไขล้มเหลว คณะกรรมการฯ จะเพิกถอนสถานะมรดกโลกของสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนนั้น

รัฐอาจร้องขอต่อคณะกรรมการฯ ให้ลดขอบเขต/พื้นที่ของแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งจะมีผลให้เพิกถอนแหล่งดังกล่าวจากการเป็นมรดกโลกทั้งหมดหรือบางส่วน ภายใต้คู่มือมรดกโลก (World Heritage guidelines) รัฐมีหน้าที่รายงานต่อคณะกรรมการฯ เมื่อใดก็ตามที่ขึ้นบัญชีมรดกโลกได้เสื่อมโทรมลงอย่างร้ายแรง หรือเมื่อยังไม่มีมาตรการแก้ไขความเสื่อมโทรมที่จำเป็น[1]

ปัจจุบัน มีสถานที่/รายการที่ถูกเพิกถอนจากการเป็นมรดกโลกอย่างสิ้นเชิงทั้งสิ้น 3 ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์ออริกซ์อาระเบีย ลุ่มน้ำเอ็ลเบอในเดรสเดิน และลิเวอร์พูล

รายการที่ถูกเพิกถอนจากบัญชีมรดกโลก[แก้]

ปีที่ถูกถอด สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ.)
ช่วงเวลาที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย
(พ.ศ.)
เหตุผลการถูกเพิกถอน อ้างอิง
2550 เขตรักษาพันธุ์ออริกซ์อาระเบีย
 โอมาน
ธรรมชาติ:
(x)
2,750,000 2537 การลดพื้นที่คุ้มครองลง 90% และการลดลงของประชากรอาระเบียนออริกซ์จาก 450 ตัว ในปี 2539 เหลือ 65 ตัวในปี 2550 อันเป็นผลมาจากการรุกล้ำและการสูญเสียถิ่นที่อยู่ ในขณะที่เหลือคู่ผสมพันธุ์เพียงสี่คู่ ทั้งนี้ เขตรักษาพันธุ์ฯ ไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตรายก่อนที่จะถูกเพิกถอน[2] [3]
2552 ลุ่มน้ำเอ็ลเบอในเดรสเดิน
เดรสเดิน รัฐซัคเซิน  เยอรมนี
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv), (v)
1,930 2547 2549–2552 การก่อสร้างสะพานวัลท์ชเลิสเชิน (Waldschlösschen) [4]
2564 ลิเวอร์พูล เมืองการค้าทางทะเล
ลิเวอร์พูล เมอร์ซีย์ไซด์  อังกฤษ
53°24′N 2°59′W / 53.40°N 2.99°W / 53.40; -2.99 (Liverpool Maritime Mercantile City)  สหราชอาณาจักร
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv)
136 2547 2555–2564 โครงการพัฒนาหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในเมือง โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งแม่น้ำเมอร์ซีย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมทั้งด้านภูมิทัศน์และโครงสร้าง หนึ่งในนั้นคือแผนการก่อสร้างสนามฟุตบอลของสโมสรเอฟเวอร์ตัน [5] [6][7]

รายการที่ถูกเพิกถอนจากบัญชีมรดกโลกบางส่วน[แก้]

ปีที่ถูกถอด สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ.)
ช่วงเวลาที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย
(พ.ศ.)
เหตุผลการถูกเพิกถอน อ้างอิง
2560 อาสนวิหารบากรัต
 จอร์เจีย
วัฒนธรรม:
(iv)
2537 2553—2560 เดิมขึ้นทะเบียนภายใต้ชื่อ "อาสนวิหารบากรัตและอารามเกลาที" แต่เมื่อ พ.ศ. 2560 ยูเนสโกได้ถอด "อาสนวิหารบากรัต" จากสถานะมรดกโลก เนื่องจากมีการดัดแปลงตัวอาคารจนมีผลเสียต่อความสมบูรณ์แบบและความเป็นของจริงของสิ่งก่อสร้าง ทั้งนี้ "อารามเกลาที" ยังคงสถานะมรดกโลก [8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017. Section IV.C.193
  2. "Oman's Arabian Oryx Sanctuary: first site ever to be deleted from UNESCO's World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
  3. "Arabian Oryx Sanctuary". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.
  4. "Dresden Elbe Valley". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.
  5. https://www.dailynews.co.th/news/78898/ ยูเนสโกมีมติปลด ‘ลิเวอร์พูล’ ออกจาก ‘เมืองมรดกโลก’
  6. "Liverpool – Maritime Mercantile City". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  7. "World Heritage Committee deletes Liverpool - Maritime Mercantile City from UNESCO's World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  8. "Arabian Oryx Sanctuary". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.