โครงการอาหารโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Small Flag of the United Nations ZP.svg
โครงการอาหารโลก
World Food Programme Logo Simple.svg
ตราสัญลักษณ์
World Food Programme.jpg
อาคารสำนักงานใหญ่ที่โรม ประเทศอิตาลี
ประเภทองค์กรพหุรัฐบาล, องค์กรกำกับการ, คณะกรรมการแนะนำ
รัสพจน์ดับเบิลยูเอฟพี
หัวหน้าเดวิด บีสลีย์ (ประธาน)
สถานะดำเนินการอยู่
จัดตั้ง19 ธันวาคม 1961; 61 ปีก่อน (1961-12-19)
สำนักงานโรม ประเทศอิตาลี
เว็บไซต์www.wfp.org
ต้นสังกัดสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

โครงการอาหารโลก (อังกฤษ: World Food Programme, WFP) เป็นฝ่ายให้ความช่วยเหลือด้านอาหารขององค์การสหประชาชาติ และเป็นองค์การด้านมนุษยธรรมใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งจัดการปัญหาความหิวโหยทั่วโลก[1] ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ. 2020[2] โครงการอาหารโลกจัดหาอาหารให้แก่ประชากรโลกเฉลี่ย 90 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้ 58 ล้านคนเป็นเด็ก[3] โครงการดังกล่าวมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมีสำนักงานสาขาในอีกมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก มีหน้าที่ทำงานช่วยเหลือผู้ไม่สามารถผลิตหรือได้อาหารเพียงพอแก่ตนเองและครอบครัว โครงการดังกล่าวเป็นสมาชิกของกลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติและเป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มฯ[4] ใน ค.ศ. 2007 โครงการฯ มีพนักงาน 9,139 คน โดยราว 90% ปฏิบัติการภาคสนาม[5]

ประวัติการจัดตั้ง[แก้]

โครงการอาหารโลกจัดตั้งขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1961[6] หลังการประชุมองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 1960 เมื่อจอร์จ แม็กกัฟเวิร์น ผู้อำนวยการโครงการอาหารเพื่อสันติภาพของสหรัฐอเมริกา (Food for Peace) เสนอให้จัดตั้งโครงการความช่วยเหลือด้านอาหารพหุภาคี ต่อมา โครงการฯ มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1963 โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีระยะขั้นทดลองสามปี ใน ค.ศ. 1965 โครงการดังกล่าวได้ขยายเป็นขั้นต่อเนื่อง

กิจกรรม[แก้]

ใน ค.ศ. 2006 โครงการอาหารโลกแจกจ่ายอาหาร 4 ล้านเมตริกตัน แก่ประชากร 87.8 ล้านคนใน 78 ประเทศ ผู้ได้รับประโยชน์ 63.4 ล้านคนได้รับความช่วยเหลือในปฏิบัติการฉุกเฉิน รวมถึงเหยื่อความขัดแย้ง ภัยธรรมชาติและความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในประเทศอย่างโซมาเลีย เลบานอน และซูดาน ค่าใช้จ่ายโดยตรงอยู่ที่ 2.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ประเทศที่โครงการอาหารโลกปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่สุดใน ค.ศ. 2006 คือ ซูดาน ซึ่งโครงการฯ ได้ช่วยเหลือประชากรกว่า 6.4 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีปฏิบัติการของโครงการฯ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและสาม คือ เอธิโอเปียและเคนยา ตามลำดับ

อ้างอิง[แก้]

  1. "About WFP". World Food Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31.
  2. "The Nobel Prize Peace 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "UN Agencies raised human rights awareness through photo exhibit". Daily Star Egypt. 2007-02-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-03.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-06.
  5. "Facts & Figures". World Food Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
  6. "About AFP". World Food Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-25. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.