ประเทศไทยใน พ.ศ. 2457
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 133 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี พ.ศ. 2456 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 2457 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- อธิบดีศาลฎีกา: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ
- นครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
- นครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เหตุการณ์
[แก้]- 1 มกราคม – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเนติบัณฑิตยสภา
- 23 กุมภาพันธ์ - สร้างสนามบินดอนเมืองเสร็จสมบูรณ์
- 27 มีนาคม – ท่าอากาศยานกรุงเทพ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก
- 1 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมสถิติพยากรณ์ อยู่ภายใต้กระทรวงการคลังมหาสมบัติ โดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี
- 30 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไขกุญแจเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถือเป็นวันเริ่มดำเนินกิจการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อย่างเป็นทางการ
- 30 กันยายน – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมคลองมาเป็นกรมทดน้ำ โดยอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เพื่อดำเนินงานด้านชลประทาน
ไม่ทราบวัน
[แก้]- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบของราชนาวี ทรงสังเกตเห็นท้องที่ตำบลสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เหมาะจะเป็นฐานทัพเรือ ทำให้เกิดฐานทัพเรือสัตหีบในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2465
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พ.ศ. 2450 และประกาศใช้พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เปิดทำการ หลังจากเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2454 โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมทบกับเงินช่วยเหลือจากสภาอุณาโลมแดง
- นายชิต บุรทัต ประพันธ์ สามัคคีเภทคำฉันท์
ผู้เกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 14 มกราคม
- ไสว มาลยเวช (ไพศาล มาลาพันธ์) นักเขียน (เสียชีวิต พ.ศ. 2551)
- จงกล กิตติขจร คู่สมรสอดีตนายกรัฐมนตรีไทย (อนิจกรรม พ.ศ. 2555)
- 18 มกราคม – ทองดี อิสราชีวิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2518)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 4 กุมภาพันธ์ – มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2554)
มีนาคม
[แก้]- 8 มีนาคม – ชิต เวชประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2536)
- 23 มีนาคม – หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2518)
- 25 มีนาคม – กฤษณ์ สีวะรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 17 (อนิจกรรม พ.ศ. 2519)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – สวง ทรัพย์สำรวย (ล้อต๊อก) ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2545)
- 5 เมษายน – ประสิทธิ์ จุลละเกศ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (อนิจกรรม พ.ศ. 2524)
- 12 เมษายน – หม่อมเจ้าอุษารดี สวัสดิวัตน์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2550)
พฤษภาคม
[แก้]- 5 พฤษภาคม – สมัย เมษะมาน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์ (เสียชีวิต พ.ศ. 2541)
- 9 พฤษภาคม – ถนัด คอมันตร์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 (อสัญกรรม พ.ศ. 2559)
มิถุนายน
[แก้]- 3 มิถุนายน – รักษ ปันยารชุน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่ 7 (อนิจกรรม พ.ศ. 2550)
- 8 มิถุนายน – เกษมเสาวภา ซัคกาเรีย (หม่อมเจ้าเกษมเสาวภา เกษมศรี) อดีตพระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2545)
- 21 มิถุนายน – ชาญ อังศุโชติ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (อนิจกรรม พ.ศ. 2544)
กรกฎาคม
[แก้]- 11 กรกฎาคม
- แสน ธรรมยศ นักปรัชญา (เสียชีวิต พ.ศ. 2495)
- เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน พระราชวงศ์ลำพูน (พิราลัย พ.ศ. 2512)
- 12 กรกฎาคม – ไสล ไกรเลิศ นักไวโอลิน (เสียชีวิต พ.ศ. 2529)
- 15 กรกฎาคม
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช นักกีฬาแข่งรถ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2528)
- สุภา ศิริมานนท์ (จิตติน ธรรมชาติ) นักเขียน (เสียชีวิต พ.ศ. 2529)
- 17 กรกฎาคม – ประหยัด ศ. นาคะนาท อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2545)
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม – แผน สิริเวชชะพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคนที่ 35 (อนิจกรรม พ.ศ. 2525)
- 8 สิงหาคม – ทวี จุลละทรัพย์ รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 (อสัญกรรม พ.ศ. 2539)
- 15 สิงหาคม – เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรคนที่ 16 (อสัญกรรม พ.ศ. 2503)
- 29 สิงหาคม
- เล็ก แนวมาลี รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 (อนิจกรรม พ.ศ. 2536)
- หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภาคนที่ 17 (อสัญกรรม พ.ศ. 2551)
- 30 สิงหาคม – กันยา เทียนสว่าง นางสาวสยาม พ.ศ. 2477 (เสียชีวิต พ.ศ. 2503)
กันยายน
[แก้]- 8 กันยายน – เนื่อง แฝงสีคำ ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2558)
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม – ประนอม รัชตพันธุ อดีตกรรมการสโมสรอาสากาชาด (อนิจกรรม พ.ศ. 2557)
- 9 ตุลาคม – ธวัชชัย นามวงศ์พรหม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2535)
- 11 ตุลาคม
- ชูสง่า ฤทธิประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยคนที่ 34 (อนิจกรรม พ.ศ. 2537)
- หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า อาภากร พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2542)
- 20 ตุลาคม – ชำนาญ ยุวบูรณ์ นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพคนที่ 1 (อนิจกรรม พ.ศ. 2558)
- 30 ตุลาคม – จำกัด พลางกูร เลขาธิการเสรีไทยสายในประเทศ (เสียชีวิต พ.ศ. 2486)
พฤศจิกายน
[แก้]- 6 พฤศจิกายน – พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (มรณภาพ พ.ศ. 2554)
- 10 พฤศจิกายน – หม่อมราชวงศ์แหลมฉาน หัสดินทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนที่ 3 (อนิจกรรม พ.ศ. 2525)
- 24 พฤศจิกายน – กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เลขาธิการพระราชวังคนที่ 3 (อสัญกรรม พ.ศ. 2539)
- 26 พฤศจิกายน – พจน์ เภกะนันทน์ อธิบดีกรมตำรวจคนที่ 19 (อนิจกรรม พ.ศ. 2536)
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม – หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2537)
- 12 ธันวาคม – ชื่น ระวิวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรคนที่ 18 (อนิจกรรม พ.ศ. 2537)
- 20 ธันวาคม – หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (อนิจกรรม พ.ศ. 2527)
- 23 ธันวาคม – เสมอ กัณฑาธัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 6 (อนิจกรรม พ.ศ. 2520)
- 28 ธันวาคม – หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ศิลปินแห่งชาติ (อนิจกรรม พ.ศ. 2543)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- แพน ทิพโยสถ (แพน เรืองนนท์; เจ้าจอมสีสุวัตถิ์ อำไพพงศ์) อดีตพระสนมในพระมหากษัตริย์กัมพูชา (อนิจกรรม พ.ศ. 2522)
- จินตา บุณยอาคม ประธานศาลฎีกาคนที่ 18 (อสัญกรรม พ.ศ. 2530)
- อรุณ สรเทศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนที่ 18 (อนิจกรรม พ.ศ. 2537)
- ศวร เภรีวงษ์ (เสือมเหศวร) อดีตจอมโจร (เสียชีวิต พ.ศ. 2557)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 7 มกราคม – พระพุทธวิริยากร (จิตร ฉนฺโน) เจ้าอาวาสวัดสัตตนารถปริวัตร (เกิด พ.ศ. 2390)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 4 กุมภาพันธ์ – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมคนที่ 15 (ประสูติ พ.ศ. 2419)
- 15 กุมภาพันธ์ – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2384)
มีนาคม
[แก้]- 20 มีนาคม – เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) กรมการพิเศษเมืองนครเชียงใหม่ (ประสูติ พ.ศ. 2423)
มิถุนายน
[แก้]- 20 มิถุนายน – พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) สมุหราชองครักษ์คนที่ 2 (เกิด พ.ศ. 2407)
- 22 มิถุนายน – พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมเหสีในรัชกาลที่ 4 (ประสูติ พ.ศ. 2381)
กันยายน
[แก้]- 16 กันยายน – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา อดีตผู้บังคับการกรมช่างกระจก (ประสูติ พ.ศ. 2378)
ตุลาคม
[แก้]- 9 ตุลาคม – พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร) เจ้าคณะอรัญวาสี (เกิด พ.ศ. 2380)
ธันวาคม
[แก้]- 14 ธันวาคม – พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) อดีตเจ้ากรมยุทธโยธา (เกิด พ.ศ. 2406)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- เทียน โปรเทียรณ์ (เทียนวรรณ; ต.ว.ส. วัณณาโภ) นักวารสารศาสตร์ (เกิด พ.ศ. 2385)