ประเทศไทยใน พ.ศ. 2498
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 174 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 10 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- นายกรัฐมนตรี: แปลก พิบูลสงคราม (ธรรมาธิปัตย์)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 7
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- พระประจนปัจจนึก (แต่งตั้ง) (จนถึง 23 มิถุนายน)
- พระประจนปัจจนึก (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม)
- ประธานศาลฎีกา: พระมนูเวทย์วิมลนาท
เหตุการณ์
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 17 กุมภาพันธ์ - มีการประหารชีวิตนักโทษในคดีลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศรินที่เรือนจำกลางบางขวาง
- 23 กุมภาพันธ์ - ประเทศในองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียอาคเนย์ (SEATO) ร่วมประชุมกันครั้งแรก
พฤษภาคม
[แก้]- 16 พฤษภาคม - พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ในขณะนั้น) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
มิถุนายน
[แก้]- 12 มิถุนายน - สถาปนา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- 20 มิถุนายน - เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่นานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 2 (นาน 7 นาที 8 วินาที) มองเห็นได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีสุริยุปราคาเต็มดวงเพียง 7 ครั้งเท่านั้น ที่ยาวนานกว่า 7 นาที
- 24 มิถุนายน -มีพิธีเปิดการแพร่ภาพและเสียงสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยที่วังบางขุนพรหม ซึ่งบริหารโดยบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยใช้ชื่อสถานีว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ว่า "ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม" โดยมี จอมพล ป.พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) มาเป็นประธานในพิธี
พฤศจิกายน
[แก้]- 14 พฤศจิกายน - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระราชดำริโครงการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม - จรัล มโนเพ็ชร นักร้อง (ถึงแก่กรรม 3 กันยายน พ.ศ. 2544)
- 5 มกราคม - วิทยา แก้วภราดัย นักการเมือง
- 13 มกราคม - สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- 19 มกราคม - วิยะดา อุมารินทร์ นักแสดง
- 29 มกราคม
- มานิต นพอมรบดี นักการเมือง
- สีดา พัวพิมล นักแสดง (ถึงแก่กรรม 20 มีนาคม พ.ศ. 2568)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ - สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 3 กุมภาพันธ์ - เสรี รุ่งสว่าง นักร้อง
- 6 กุมภาพันธ์ - อังคนางค์ คุณไชย นักร้อง
- 9 กุมภาพันธ์ - สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 12 กุมภาพันธ์ - พล พลาพร นักแสดง
- 15 กุมภาพันธ์
- เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ
- วรพงษ์ สง่าเนตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- 26 กุมภาพันธ์ - ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ นักการเมือง
มีนาคม
[แก้]- 24 มีนาคม - ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกร และนักแสดงชาวไทย
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- 18 เมษายน - ปรีชา ชนะภัย นักร้อง
- 22 เมษายน - วิชัย ชัยจิตวณิชกุล นักการเมือง
พฤษภาคม
[แก้]- 6 พฤษภาคม - หม่อมราชวงศ์อุษณิษา สุขสวัสดิ์
- 15 พฤษภาคม - เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ คู่สมรสอดีตนายกรัฐมนตรี
- 24 พฤษภาคม - ฉัตรชัย เอียสกุล นักการเมือง
มิถุนายน
[แก้]- 2 มิถุนายน - พลเดช ปิ่นประทีป นักการเมือง
- 8 มิถุนายน - ธงทอง จันทรางศุ นักวิชาการ
- 21 มิถุนายน - ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี
กรกฎาคม
[แก้]- 25 กรกฎาคม - พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ นักการเมือง
- 31 กรกฎาคม - ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
สิงหาคม
[แก้]- 5 สิงหาคม
- ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- พิพัฒน์ รัชกิจประการ นักการเมือง
- 15 สิงหาคม - อุดมเดช สีตบุตร นักการเมือง
กันยายน
[แก้]- 14 กันยายน - ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ทหาร
- 25 กันยายน - นันทนา เงากระจ่าง นักแสดง
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม - อำพน กิตติอำพน องคมนตรี
- 11 ตุลาคม - วงเดือน อินทราวุธ นักแสดง
- 31 ตุลาคม - รักชาติ ศิริชัย นักร้อง
พฤศจิกายน
[แก้]- 6 พฤศจิกายน - ภูมิ สาระผล นักการเมือง
- 15 พฤศจิกายน - อัญชลี จงคดีกิจ นักร้อง
- 16 พฤศจิกายน - ธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี
- 19 พฤศจิกายน - มนตรี เจนอักษร นักแสดง
- 20 พฤศจิกายน - วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล นักการเมือง
- 28 พฤศจิกายน - วิฑูรย์ กรุณา นักแสดง
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม - ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ
- 5 ธันวาคม - นิกร จำนง นักการเมือง
- 9 ธันวาคม - พิเชษฐ์ ตันเจริญ นักการเมือง
- 10 ธันวาคม - น้อย โพธิ์งาม นักแสดง
- 25 ธันวาคม - ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ นักการเมือง
วันถึงแก่กรรม
[แก้]พฤษภาคม
[แก้]- 16 พฤษภาคม - พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2419)
กันยายน
[แก้]- 14 กันยายน - พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี สุวรรณประทีป) (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2430)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน - หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร (ประสูติ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424)
ธันวาคม
[แก้]- 17 ธันวาคม - สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (พระราชสมภพ 10 กันยายน พ.ศ. 2405)