พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต)
พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) | |
---|---|
สมุหราชองครักษ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2452 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2456 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ |
ถัดไป | นายพลโท พระยาเทพอรชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2407 |
เสียชีวิต | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2457 (49 ปี) บ้านถนนดินสอ อำเภอพระนคร เมืองพระนคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) |
คู่สมรส | คุณหญิงเชื่อม สุรเสนา |
บุตร | 6 คน |
บุพการี |
|
อาชีพ | ทหารบก, ขุนนาง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() ![]() |
สังกัด | กองทัพออสเตรีย-ฮังการี กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ประจำการ | พ.ศ. 2432 – 2435 (ออสเตรีย) พ.ศ. 2435 – 2456 (สยาม) |
ยศ | ร้อยเอก (ออสเตรีย)[1] นายพลโท (กองทัพบกสยาม) นายกองเอก (กองเสือป่า) |
บังคับบัญชา | กรมราชองครักษ์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ |
ผ่านศึก | กบฏเงี้ยว |
นายพลโท พระยาสุรเสนา นามเดิม กลิ่น แสง-ชูโต (4 ตุลาคม พ.ศ. 2407 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2457)[2] เป็นทหารบกและขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ องคมนตรี และราชองครักษ์ เป็นน้องชายต่างมารดาของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
ประวัติ
[แก้]พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) เป็นราชนิกูลวงศ์ชูโต เกิดในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ปีชวด พ.ศ. 2407 เป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ชูโต) กับคุณหญิงต่วน สุรศักดิ์มนตรี[3]
เมื่อรัชกาลที่ 5 ได้เล่าเรียนอักขรสมัยในโรงเรียนหลวงที่ในพระบรมมหาราชวัง พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ เล่าเรียนจน พ.ศ. 2420 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งออกไปเล่าเรียนวิชาต่างประเทศในยุโรป ในคราวส่งนักเรียนไปเป็นครั้งที่ 2 โดยมีขุนวิทยานุกูลกวี (ห่วง อาจารยางกูร) บุตรของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้กำกับไป มีนักเรียน 10 คนหนึ่งในนั้นคือพระยารำไพพงษ์บริพัตร (จิตร บุนนาค)
พระยาสุรเสนาอยู่ในนักเรียนที่ส่งไปเพื่อจะให้เรียนวิชาทหารบก จึงได้ไปเรียนอยู่ในประเทศออสเตรีย เรียนวิชาทหารบกของประเทศออสเตรียจนสอบได้ ได้มียศเป็นนายร้อยตรี แล้วเลื่อนเป็นนายร้อยโททหารบกออสเตรีย แล้วได้ทำการในตำแหน่งนายร้อยเอกแล้วจึงกลับมาบ้านเมือง[1]
การรับราชการ
[แก้]พระยาสุรเสนากลับมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯในตำแหน่งผู้บังคับกองทหารม้าในกรุงเทพฯ แต่รับราชการอยู่ได้ปีเดียว ถึง พ.ศ. 2436 โปรดกลับออกไปเป็นตำแหน่งนายทหารในสำนักราชทูต ณ ประเทศเยอรมนีและอยู่ประจำพระองค์พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เมื่อทรงศึกษาวิชาการทหารอยู่ในประเทศเดนมาร์กด้วย และในเวลาที่กลับไปรับราชการอยู่ในยุโรปคราวนี้ ได้ตามเสด็จกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เมื่อเสด็จต่างพระองค์ในงานพระราชพิธีราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2 จักรพรรดิรัสเซีย และต่อมาถึง พ.ศ. 2440 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตำแหน่งราชองครักษ์ตามเสด็จในกระบวน แล้วตามเสด็จกลับมากรุงเทพฯ ด้วย
ในระหว่าง พ.ศ. 2441 ถึง พ.ศ. 2443 รับราชการในตำแหน่งราชองครักษ์ประจำ[4] ได้เป็นผู้ไปประจำเจ้าต่างประเทศและแขกเมืองมีบรรดาศักดิ์สูง ซึ่งเข้ามาเฝ้าในครั้งนั้นแทบทุกคราว
ถึง พ.ศ. 2443 ได้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ถึง พ.ศ. 2445 เมื่อโปรดฯ ให้กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสด็จไปราชการในยุโรป โปรดฯ ให้ไปตามเสด็จกรมหลวงนครไชยศรีด้วย
ถึง พ.ศ. 2446 เนื่องในการปราบปรามพวกเงี้ยวที่ก่อการจราจลขึ้นในมณฑลพายัพ โปรดฯ ให้พระยาสุรเสนาเมื่อยังเป็นพระยารามกำแหง เป็นผู้บังคับการกองทหาร ตั้งรักษาการอยู่ที่เมืองเชียงคำปีหนึ่ง จึงได้กลับมารับราชการในกรุงเทพฯ
ถึง พ.ศ. 2447 ได้เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ มณฑลกรุงเทพ
ถึง พ.ศ. 2452 ได้เป็นตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ แทนเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม ได้รับราชการในตำแหน่งสมุหราชองครักษ์มาตลอดรัชกาลที่ 5[5]
ถึงรัชกาลที่ 6 พระยาสุรเสนาเป็นผู้ซึ่งได้ทรงคุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่เดิม ก็ทรวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ต่อมา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าฯ เป็นอเนกประการ
เมื่อ พ.ศ. 2454 ทรงพระราชดำริจัดตั้งคณะเสือป่า ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาสุรเสนา มีหน้าที่เป็นปลัดกอง[6] รองแต่พระองค์ตลอดมา สนองพระเดชพระคุณในการคณะเสือป่าตลอดมา[1]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สัญญาบัตรเป็นองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2453[7]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 – หลวงศัลยยุทธวิธีกรร ถือศักดินา 800[8]
- 21 มีนาคม พ.ศ. 2441 – พระศัลยยุทธวิธีกรร ถือศักดินา 1000[9]
- 22 ธันวาคม พ.ศ. 2445 – พระยารามกำแหง ถือศักดินา 1500[10]
- 13 มกราคม พ.ศ. 2450 – พระยาสุรเสนา ถือศักดินา 1500[11]
ยศ
[แก้]ยศทหาร
[แก้]- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 – นายร้อยเอก[12]
- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 – นายพันตรี[13]
- 5 เมษายน พ.ศ. 2444 – นายพันโท[14]
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2446 – นายพันเอก[15]
- 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 – นายพลตรี[16]
- 2 เมษายน พ.ศ. 2453 – นายพลโท[17]
- 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 – นายพันตรี ในกรมทหารราบที่ 1 (มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)[18]
ยศเสือป่า
[แก้]- 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 – นายกองเอก[19]
ชีวิตครอบครัว
[แก้]พระยาสุรเสนา สมรสกับคุณหญิงเชื่อม สุรเสนามีบุตรธิดารวม 6 คน คือ[3]
- พันตรี หลวงสรสิทธยานุการ (สิทธิ์ แสง-ชูโต) อดีตสมาชิกวุฒิสภา สมรสกับประเมิน บุนนาค แล้วต่อมาจึงสมรสกับประมัย บุนนาค
- เหมาะ แสง-ชูโต สมรสกับขุนมวลพลพีรยุทธ์ (บูล ตรีสกุล)
- ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ (ไชยแสง-ชูโต) คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนแรก สมรสกับเผดียง บุนนาค ธิดาของเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)
- เกลา แสง-ชูโต สมรสกับภักตร์ บุนนาค
- สอย แสง-ชูโต สมรสกับพันตรี หลวงอำนาจสรกาญจน์ (ประสิทธิ ดิษยบุตร)
- สน แสง-ชูโต สมรสกับพระยาอภิบาลราชไมตรี (ต่อม บุนนาค)
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ถึง พ.ศ. 2456 พระยาสุรเสนาเป็นวัณโรคเกิดขึ้นในปาก ได้พยายามรักษา อาการหาคลายไม่ก็มีความทุพลภาพลงโดยลำดับ ภายหลังได้ทราบว่าโรคนั้นเป็นมะเร็งดอกบุก เมื่อพระยาสุรเสนาทราบว่าอาการโรคของตนพ้นวิสัยที่แพทย์จะเยียวยาได้แล้ว ก็นำความกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตและพระราชทานเบี้ยบำนาญเป็นพิเศษแก่ตัวพระยาสุรเสนา[20]
พระยาสุรเสนาป่วยมาจนถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ที่บ้านพระราชทาน ณ ถนนดินสอ ในพระนคร คำนวณอายุได้ 51 ปี ได้รับพระราชทานโกษเป็นเกียรติยศ[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[21]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[22]
- พ.ศ. 2452 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[23]
- พ.ศ. 2454 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[24]
- พ.ศ. 2455 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[25]
- พ.ศ. 2440 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[26]
- พ.ศ. 2442 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[27]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[28]
- พ.ศ. 2453 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[29]
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[30]
- พ.ศ. 2446 –
เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 –
เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 –
เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 –
เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 –
เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 –
เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]รัสเซีย :
- พ.ศ. 2439 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญสตานิสลาส ชั้นที่ 3[31]
- พ.ศ. 2439 –
สวีเดนและนอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2439 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ชั้นที่ 3[31]
- พ.ศ. 2439 –
อิตาลี :
สันตะสำนัก :
- พ.ศ. 2440 –
เครื่องอิสริยาภรณ์ปิอุสที่ 9 ชั้นที่ 5[32]
- พ.ศ. 2440 –
ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2448 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 2[34]
- พ.ศ. 2448 –
ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2449 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 2[35]
- พ.ศ. 2449 –
เบราน์ชไวค์ :
- พ.ศ. 2452 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1[36]
- พ.ศ. 2452 –
ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2457 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเหล็ก ชั้นที่ 1[37]
- พ.ศ. 2457 –
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 โครงสุภาษิตเจ้านาย พระราชนิพนธ์ และพระนิพนธ์ ทรงเมื่อในรัชกาลที่ 5 นายพลโท พระยาสุรเสนา (กลิ่น แสง-ชูโต)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๔๙, ๒๘ มิถุนายน ๒๔๕๗
- ↑ 3.0 3.1 สุภาษิตพระร่วงคำโคลง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงไชยอัศวรักษ์ (ไชย แสง-ชูโต)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามผู้ที่เป็นราชองครักษ์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๓ หน้า ๒๘, ๑๗ เมษายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมยุทธนาธิการ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๘๘, ๑๗ ตุลาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ทำเนียบตำแหน่งชั้นนายที่บังคับบัญชาในกองเสือป่า, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๑, ๑๔ พฤษภาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๘, ๑๘ ธันวาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๙ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๐๐, ๑๑ ธันวาคม ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๕๖๓, ๒๖ มีนาคม ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๘๑, ๒๘ ธันวาคม ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๑๑๔๔, ๑๙ มกราคม ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหาร, เล่ม ๙ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๒๘๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหาร, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๘ หน้า ๑๐๘, ๒๑ พฤษภาคม ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒ หน้า ๒๕, ๑๔ เมษายน ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๑๑ หน้า ๑๖๙, ๑๕ มิถุนายน ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๙ หน้า ๑๗๕, ๒๘ พฤษภาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๘, ๘ พฤษภาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงกลาโหม, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๗๙, ๕ มีนาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๐, ๑๔ พฤษภาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, กระแสพระบรมราชโองการให้นายพลโท พระยาเทพอรชุน เป็นสมุหราชองครักษ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ก หน้า ๔๘๕, ๑๕ มีนาคม ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๓๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๘๓, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๑, ๑๙ ธันวาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๘, ๙ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ประเทศยุโรป, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๒๘, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๔, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐, ๙ เมษายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐
- ↑ 31.0 31.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๒๕๐, ๑๓ กันยายน ๑๑๕
- ↑ 32.0 32.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๓๒, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๕๑๕, ๑๙ สิงหาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิค, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๖, ๓ พฤษภาคม ๒๔๕๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2407
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2457
- ขุนนางไทย
- ทหารบกชาวไทย
- นายพลชาวไทย
- สกุลแสง-ชูโต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ม.ล.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3
- สมุหราชองครักษ์
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6