ประเทศไทยใน พ.ศ. 2479
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 155 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 2 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และนับเป็นปี พ.ศ. 2478 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 2479 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์:
- นายกรัฐมนตรี: พระยาพหลพลพยุหเสนา (คณะราษฎร)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 1
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (แต่งตั้ง) (จนถึง 31 กรกฎาคม)
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 3 สิงหาคม)
- อธิบดีศาลฎีกา: พระยาวิกรมรัตนสุภาษ
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าแก้วนวรัฐ
- นครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เหตุการณ์
[แก้]กันยายน
[แก้]- 23 กันยายน - รัฐบาลไทยได้ตั้งหน่วยยุวชนทหารขึ้น เป็นการฟื้นฟูการจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารขึ้น เพื่อทำการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียนนิสิตนักศึกษา โดยให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ โดยมีแผนกที่ 6 ในกรมจเรทหารบก มีหน้าที่ฝึกวิชาทหารให้แก่ยุวชนทหาร ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น กรมยุวชนทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2480 หน่วยนี้ถูกยุบเลิกไป เมื่อปี พ.ศ. 2488
พฤศจิกายน
[แก้]- 5 พฤศจิกายน - ประเทศไทยได้เสนอไปยังนานาประเทศ ขอทำสัญญาทางพระราชไมตรี การค้าขาย และการเดินเรือใหม่ โดยถือหลักความมีสัมพันธไมตรีความเสมอภาค การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ หลักความเป็นธรรม และหลักผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
วันเกิด
[แก้]เมษายน
[แก้]- 6 เมษายน - ยุทธ อังกินันทน์ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)
- 11 เมษายน - ชาญชัย ปทุมารักษ์ นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 6 เมษายน พ.ศ. 2555)
- 12 เมษายน - หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
พฤษภาคม
[แก้]- 6 พฤษภาคม - อมรา อัศวนนท์ นักแสดง
- 10 พฤษภาคม - บรม ตันเถียร นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547)
มิถุนายน
[แก้]- 7 มิถุนายน - ชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- 22 มิถุนายน - สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 10 ธันวาคม พ.ศ. 2567)
กรกฎาคม
[แก้]- 5 กรกฎาคม - ทมยันตี ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 13 กันยายน พ.ศ. 2564)
- 6 กรกฎาคม - สมบัติ รอดโพธิ์ทอง นักการเมือง (ถึงแก่อนิจกรรม 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560)
- 18 กรกฎาคม - วงจันทร์ ไพโรจน์ ศิลปินแห่งชาติ
- 21 กรกฎาคม - หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน (ถึงแก่กรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
สิงหาคม
[แก้]- 18 สิงหาคม - ไพฑูรย์ แก้วทอง นักการเมือง
กันยายน
[แก้]- 30 กันยายน - วัฒนา อัศวเหม นักการเมือง
ตุลาคม
[แก้]- 13 ตุลาคม - ประสงค์ บูรณ์พงศ์ นักการเมือง
พฤศจิกายน
[แก้]- 7 พฤศจิกายน - สมบัติ อุทัยสาง นักการเมือง
- 10 พฤศจิกายน - เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี (ถึงแก่อนิจกรรม 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
- 12 พฤศจิกายน - ตามใจ ขำภโต นักการเมือง
ธันวาคม
[แก้]- 9 ธันวาคม - จตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ
- 21 ธันวาคม
- ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร นักการเมือง
- พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ศิลปินแห่งชาติ (ถึงแก่กรรม 1 กันยายน พ.ศ. 2558)
- 31 ธันวาคม - หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล (สิ้นชีพิตักษัย 1 กันยายน พ.ศ. 2565)
วันถึงแก่กรรม
[แก้]กันยายน
[แก้]- 30 กันยายน - พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2405)