ข้ามไปเนื้อหา

เรือพระที่นั่งมหาจักรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำที่ 1
เรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ 1)
ประวัติ
สยาม
ชื่อเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ 1)
ตั้งชื่อตามราชวงศ์จักรี
อู่เรือบริษัท Ramage and Ferguson, ลีธ, สกอตแลนด์
เดินเรือแรก27 มิถุนายน พ.ศ. 2434
ส่งมอบเสร็จ6 ธันวาคม พ.ศ. 2435
เข้าประจำการพ.ศ. 2435
ปลดระวาง23 มิถุนายน พ.ศ. 2459
ความเป็นไปขายต่อให้บริษัทอู่กาวาซากิ, โกเบ, ญี่ปุ่น (ยกเว้นเครื่องจักร)
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือลาดตระเวน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,600 ตัน (เต็มที่)
ความยาว: 88.4 เมตร (299 ฟุต)
ความกว้าง: 12 เมตร (40 ฟุต)
กินน้ำลึก: 4.2 เมตร (14 ฟุต)
ระบบพลังงาน: เครื่องจักรไอน้ำชนิด 3 สูบ 2 เครื่อง
กำลังขับ 3,000 แรงม้า
ระบบขับเคลื่อน: เครื่องจักรท้ายแบบใบจักรคู่
ความเร็ว: 16 นอต (29.632 กม./ชม.)
ลูกเรือ: 318 คน
ยุทโธปกรณ์: 4 x ปืนใหญ่อาร์มสตอง 4 นิ้ว (120 มม.)
8 x ปืนใหญ่ฮอทชกีสขนาด 57 มม.
เกราะ: เหล็ก ความหนาสูงสุด 51 มม.

เรือพระที่นั่งมหาจักรี เป็นเรือพระที่นั่งแบบเรือลาดตระเวน ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2435 ในการสร้างเรือลำนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับพระยาชลยุทธโยธินทร์ ไปติดต่อกับบริษัท ราเมจแอนด์เฟอร์กูสัน ต่อที่เมืองลีธ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2434 ใช้เวลา 10 เดือนจึงสร้างเสร็จ ออกเดินทางจากเมืองลีธเมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 มาถึงกรุงเทพเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2435

เรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จในประเทศไทย เช่น เกาะสีชัง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2436 และในการเสด็จประพาศต่างประเทศ เช่น ชวา (พ.ศ. 2439) ยุโรป (พ.ศ. 2440 และ 2450) สิงคโปร์ (พ.ศ. 2445) และออกรับแขกบ้านแขกเมืองหลายครั้งตลอดรัชกาลที่ 5

เรือพระที่นั่งมหาจักรีลำแรกปลดระวางเมื่อ พ.ศ. 2459 ทางราชการขายเรือลำนี้ยกเว้นเครื่องจักรให้บริษัทกาวาซากิ โกเบ ซึ่งทางบริษัทมารับเรือลำนี้ออกจากกรุงเทพฯเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2459 เครื่องจักรของเรือลำนี้ บริษัทกาวาซากิ โกเบ ได้นำไปต่อเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง ซึ่งขึ้นระวางในสมัยรัชกาลที่ 6 (ต่อมาคือ เรือหลวงอ่างทอง ลำที่ 1) และถูกระเบิดทำลายในสงครามโลกครั้งที่ 2

อ้างอิง

[แก้]
  • เรือพระที่นั่งมหาจักรี 24 ปีก่อนปลดระวาง. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 18 (6) เมษายน 2540 หน้า 113-117