พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาราชสงคราม
เกิด16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406
เสียชีวิต14 ธันวาคม พ.ศ. 2457 (51 ปี)
คู่สมรสเยื้อน
อรุณ
สงวน
บิดามารดา
  • พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) (บิดา)
ญาติพระสามภพพ่าย (เจริญ) (พี่ชาย)
พระนวโกวิท (เลื่อน) (พี่ชาย)

พลเรือตรี พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) (16 พฤศจิกายน 2406 – 14 ธันวาคม 2457) เป็นขุนนาง นายทหารเรือชาวไทย อดีตองคมนตรี อดีตมรรคนายก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร และเป็นนายช่างผู้ควบคุมการต่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เบญจศก จุลศักราช 1125 ตรงกับวันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406 เป็นบุตรชายของ พระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล)

พระยาราชสงครามสมรสกับภรรยาเอกชื่อ เยื้อน ซึ่งเป็นบุตรสาวของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน แต่พระยาราชสงครามมีบุตรธิดาจำนวน 5 คนที่เกิดจากอนุภรรยา 2 คน

เกิดจากอนุภรรยาชื่อ อรุณ จำนวน 4 คนคือ

  • นายเตียบ เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. 2453
  • นายจวบ เกิดเมื่อปีกุน พ.ศ. 2454
  • นายสืบ เกิดเมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456
  • ดวงกมล (ญ) เกิดเมื่อปีขาล พ.ศ. 2457

เกิดจากอนุภรรยาชื่อ สงวน จำนวน 1 คนคือ

  • เจียด เกิดเมื่อปีวอก พ.ศ. 2451

ด้านการศึกษา พระยาราชสงครามได้รับการศึกษาวิชางานช่างจาก พระยาราชสงคราม (ทัด) ผู้เป็นบิดาพร้อมกับพี่น้องอีก 2 คนคือ พระยาสามภพพ่าย (เจริญ) และ พระนวโกวิท (เกลื่อน)

ด้านการรับราชการ พระยาราชสงครามได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2422 จากนั้นจึงได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทด้วยการเป็นนายช่างนายกองในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สถานที่สำคัญ เช่น

ต่อมาท่านได้รับหน้าที่ในการออกแบบและควบคุมการต่อเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำใหม่แทนเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ซึ่งทรุดโทรมยากแก่การบูรณะซ่อมแซมโดยเรือพระที่นั่งลำนี้ต่อขึ้นในปลายรัชกาลที่ 5 และมาแล้วเสร็จในต้นรัชกาลที่ 6

หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติได้ไม่ถึงปีพระยาราชสงครามก็กราบถวายบังคมลาออกจากราชการในตำแหน่ง ผู้บัญชาการกรมทหารเรือฝ่ายบก รับเบี้ยบำนาญเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457[1]ขณะอายุได้ 51 ปีโดยได้พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ วัดเครือวัลย์วรวิหาร [2]

ตำแหน่งหน้าที่ราชการและหน้าที่อื่น ๆ[แก้]

  • ปลัดกรมช่างทหารในไทยขวา
  • เจ้ากรมช่างทหารในซ้าย
  • จางวางกรมช่างทหารใน
  • 25 กันยายน พ.ศ. 2444 องคมนตรี[3]
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2445 มรรคนายก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร[4]
  • 1 กันยายน พ.ศ. 2445 เจ้ากรมยุทธโยธา[5][6]
  • 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ออกจากราชการ[7]

บรรดาศักดิ์และยศทหาร[แก้]

บรรดาศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2429 ขุนพรหมรักษา ถือศักดินา ๘๐๐[8]
  • 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 พระราชโยธาเทพ ถือศักดินา ๑๖๐๐ [9]
  • 20 เมษายน พ.ศ. 2444 พระยาราชสงคราม ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]

ยศทหาร[แก้]

  • พันโท
  • เรือเอก
  • 22 มีนาคม พ.ศ. 2449 พลเรือตรี[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวถึงอนิจกรรม
  2. พระราชทานเพลิงศพ
  3. การพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒสัตยาและตั้งองคมนตรี
  4. พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
  5. พระราชทานสัญญาบัตร์ทหารเรือ
  6. ประกาศกรมทหารเรือ
  7. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  8. ข่าวราชการ (หน้า ๓๑๖)
  9. พระราชทานสัญญาบัตร
  10. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  11. พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๖๒๕, ๒๘ มกราคม ๑๑๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๓๘๘, ๒๙ มกราคม ๑๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒๐ หน้า ๒๙๗, ๑๘ สิงหาคม ๑๒๐
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๙, ๖ มีนาคม ๑๒๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๕๒ หน้า ๗๑๔, ๒๕ มีนาคม ๑๑๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]