จินตา บุณยอาคม
จินตา บุณยอาคม (พ.ศ. 2457 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2530) เป็นอดีตประธานศาลฎีกา และองคมนตรีไทย
ประวัติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
จินตา บุณยอาคม สำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตสยามเมื่อ พ.ศ. 2476 และปริญญาโททางกฎหมายเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัย Southern Methodist University (SMU) สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2502
ประวัติการทำงาน[แก้]
จินตา บุณยอาคม เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นพนักงานอัยการ แต่มาเป็นผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม ได้รับราชการมาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เคยดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆมากมาย อาทิ อธิบดีผู้พิพากษาภาค5 (เชียงใหม่) อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์ รับราชการศาลยุติธรรมจนดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2516 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517[1]
จินตา บุณยอาคม ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 อยู่ในตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2530 [2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2517 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2515 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2522 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "รายนามประธานศาลฎีกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๒๙, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่พฤศจิกายน 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2457
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2530
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นักกฎหมายชาวไทย
- องคมนตรี
- ประธานศาลฎีกาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์