ประเทศไทยใน พ.ศ. 2519
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 195 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 31 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ผู้นำ[แก้]
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- นายกรัฐมนตรี:
- หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (กิจสังคม) (จนถึง 20 เมษายน)
- หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ประชาธิปัตย์) (20 เมษายน – 6 ตุลาคม)
- สงัด ชลออยู่ (รัฐประหาร, ผู้ใช้อำนาจ) (6 – 8 ตุลาคม)
- ธานินทร์ กรัยวิเชียร (รัฐประหาร) (ตั้งแต่ 8 ตุลาคม)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (6 – 8 ตุลาคม)
- หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน: สงัด ชลออยู่ (6 – 8 ตุลาคม)
- รัฐสภา: สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (เริ่ม 8 ตุลาคม)
- ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน:
- กมล เดชะตุงคะ (แต่งตั้ง) (22 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน)
- หะริน หงสกุล (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน)
- สภาผู้แทนราษฎร:
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ (สังคมชาตินิยม) (จนถึง 12 มกราคม)
- อุทัย พิมพ์ใจชน (ประชาธิปัตย์) (19 เมษายน – 6 ตุลาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 4 (ถึง 6 ตุลาคม)
- ประธานวุฒิสภา: จิตติ ติงศภัทิย์ (แต่งตั้ง) (จนถึง 6 ตุลาคม)
- ประธานศาลฎีกา: สุธรรม ภัทราคม
เหตุการณ์[แก้]
- 6 ตุลาคม – เหตุการณ์ 6 ตุลา: ตำรวจปราบปรามผู้ชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งมีนักศึกษาและประชาชนหลายพันคนร่วมชุมนุมประท้วงการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม กิตติขจร อย่างรุนแรง พร้อมกับมีการลงประชาทัณฑ์ของกำลังกึ่งทหารฝ่ายขวา ท่ามกลางการกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจากการแสดงล้อเหตุฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้า 2 คนที่จังหวัดนครปฐม ตกเย็น คณะทหารนำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ประกาศรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลที่มี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
ผู้เสียชีวิต[แก้]
- 6 ตุลาคม: รายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาเท่าที่ทราบชื่อ 46 คน