ประเทศไทยใน พ.ศ. 2444
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 120 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 34 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี ร.ศ. 119 (1 มกราคม - 31 มีนาคม) และ 120 (1 เมษายน - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สยามมกุฎราชกุมาร: สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครเชียงใหม่: เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (ก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน มีพระอิสริยยศ "เจ้าอุปราช")
- นครลำปาง: เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
- นครลำพูน: เจ้าอินทยงยศโชติ
เหตุการณ์
[แก้]- 4 เมษายน – กำลังทหารจากอุบลราชธานีมีพันตรีหลวงสุรกิจพิศาลเป็นผู้นำไปปราบผีบุญองค์มั่นที่บ้านสะพือใหญ่
- 5 พฤษภาคม –
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวาครั้งที่ 3
- โรงเรียนเบญจมบพิตร หรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน เปิดสอนมีนักเรียน 40 คน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงกำหนดหลักสูตรแนวการสอนด้วยพระองค์เอง เป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์โดยตรง ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงธรรมการสมัยนั้น
- 12 สิงหาคม – ตราพระราชบัญญัติกรรมสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือในสยาม
- 18 สิงหาคม – ตัดถนนราชดำเนินกลาง
- 28 พฤศจิกายน – มีพิธีสถาปนาเจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ เป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่
- 15 ธันวาคม – ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองที่วัดเบญจมบพิตร
ผู้เกิด
[แก้]





มกราคม
[แก้]- 31 มกราคม – หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) ประธานรัฐสภาคนที่ 8 (อสัญกรรม พ.ศ. 2511)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 11 กุมภาพันธ์ – พระอธิการหลุย จนฺทสาโร เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาบิ้ง (มรณภาพ พ.ศ. 2532)
- 19 กุมภาพันธ์ – ชลอ ศรีธนากร (ขุนศรีศรากร) อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต (อนิจกรรม พ.ศ. 2530)
- 21 กุมภาพันธ์ – ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี (ขุนรณนภากาศ) รองนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 9 (อสัญกรรม พ.ศ. 2530)
- 24 กุมภาพันธ์ – แช่ม พรหมยงค์ (ซำซุดดิน มุสตาฟา) จุฬาราชมนตรีคนที่ 14 (อนิจกรรม พ.ศ. 2532)
มีนาคม
[แก้]- 15 มีนาคม – หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2510)
- 21 มีนาคม – หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) อดีตรัฐมนตรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2512)
- 23 มีนาคม – พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี (มรณภาพ พ.ศ. 2535)
- 29 มีนาคม – จวงจันทร์ จันทร์คณา (พรานบูรพ์) นักประพันธ์เพลง (เสียชีวิต พ.ศ. 2519)
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน – ชลิต กุลกำม์ธร อดีตรัฐมนตรี (อนิจกรรม พ.ศ. 2539)
- 11 เมษายน – พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว) เจ้าคณะตรวจการภาค 4 และ 5 (มรณภาพ พ.ศ. 2516)
- 16 เมษายน – หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2513)
- 19 เมษายน – หม่อมเจ้าสมรศรีโสภา เทวกุล อดีตผู้จัดการโรงเรียนราชินีบน (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2539)
มิถุนายน
[แก้]- 23 มิถุนายน – หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 4 (อนิจกรรม พ.ศ. 2519)
กรกฎาคม
[แก้]- 14 กรกฎาคม – สังวรณ์ สุวรรณชีพ (หลวงสังวรยุทธกิจ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมคนที่ 7 (อนิจกรรม พ.ศ. 2515)
สิงหาคม
[แก้]- 7 สิงหาคม – หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) เลขาธิการพระราชวังคนที่ 2 (อสัญกรรม พ.ศ. 2513)
- 15 สิงหาคม – อบ ไชยวสุ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (หัสคดี) (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2529)
กันยายน
[แก้]- 30 กันยายน – จงกล ไกรฤกษ์ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (อนิจกรรม พ.ศ. 2511)
พฤศจิกายน
[แก้]- 14 พฤศจิกายน – นารถ โพธิประสาท ราชบัณฑิต (อนิจกรรม พ.ศ. 2497)
- 17 พฤศจิกายน – หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ จิรประวัติ พระอนุวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2483)
- 21 พฤศจิกายน – ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 8 (อสัญกรรม พ.ศ. 2531)
- 29 พฤศจิกายน – พระครูสารกิจประยุต (สิงห์ โสภโณ) เจ้าคณะตำบลท่าสองคอน (มรณภาพ พ.ศ. 2526)
ธันวาคม
[แก้]- 23 ธันวาคม – เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ พระราชวงศ์เชียงใหม่ (พิราลัย พ.ศ. 2482)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 5 (อนิจกรรม พ.ศ. 2513)
- โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ นักมวยไทย (เสียชีวิต พ.ศ. 2522)
- พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้ง) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย (มรณภาพ พ.ศ. 2529)
- พระครูอินทรวุฒิกร (ต่วน อินทฺปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดกล้วย (มรณภาพ พ.ศ. 2529)
- เย็น แก้วมะณี ศตวรรษิกชน (เสียชีวิต พ.ศ. 2551)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]

มกราคม
[แก้]- 5 มกราคม – สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เจ้าคณะใหญ่หนใต้ (เกิด พ.ศ. 2365)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 26 กุมภาพันธ์ – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงษ์ องคมนตรี (ประสูติ พ.ศ. 2387)
เมษายน
[แก้]- 29 เมษายน – ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา (เกิด พ.ศ. 2405)
กรกฎาคม
[แก้]- 2 กรกฎาคม – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพัลลัภดนัย พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2442)
- 20 กรกฎาคม – เจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน) พระราชวงศ์ลำพูน (ประสูติ พ.ศ. 2409)
กันยายน
[แก้]- 9 กันยายน – เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) สมุหพระกลาโหมคนที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (เกิด พ.ศ. 2363)
ตุลาคม
[แก้]- 15 ตุลาคม – พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 (ประสูติ พ.ศ. 2389)
- 29 ตุลาคม – หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตัน เอส.เย.เอมส์) ผู้บังคับกองโปลิศคนที่ 1 (เกิด พ.ศ. 2375)
ธันวาคม
[แก้]- 28 ธันวาคม – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เจ้าคณะอรัญวาสีรูปที่ 9 (ประสูติ พ.ศ. 2386)