สมัย เมษะมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัย เมษะมาน
รูปปั้นจำลองพ่อครูสมัย เมษะมาน
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2457[1]
ไทย ตำบลบางธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1]
เสียชีวิต28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (84 ปี)[2]
สัญชาติไทย
รูปแบบกระบี่กระบอง
นักเรียนเด่นครูโทนี มัวร์[2],
ครูสมพงษ์ ศักดิ์ประเสริฐ
(อาจารย์ดำ)[3],
ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา[4]
แม่ครูขวัญยืน (ซ้าย), ครูโทนี มัวร์ (กลาง) และพ่อครูสมัย เมษะมาน (ขวา)

พ่อครูสมัย เมษะมาน (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541) เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่กรุงเทพมหานคร และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ในฐานะผู้ฝึกสอนศิลปะการต่อสู้กระบี่กระบอง[1]

ประวัติ[แก้]

พ่อครูสมัย เมษะมาน เป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงจากนักรบผู้ปกป้องแผ่นดินสยามในสมัยโบราณ เขาเป็นผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ จากวัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1]

พ่อครูสมัย ยังเป็นผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ ทั้งมวยไทย, ยูโด, ฟันดาบสากล และกระบี่กระบอง[1] โดยในวัยหนุ่ม เขาได้เป็นแชมป์การแข่งฟันดาบเซเบอร์ และการแข่งยูโด[2]

ครั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาเอกพลศึกษา ที่กรุงเทพมหานคร เขาได้สำนึกต่อบุญคุณของแผ่นดินและบรรพบุรุษ ตลอดจนพระบารมีแห่งพระเจ้าอู่ทอง ที่ทรงเสียสละเพื่อแผ่นดินอยุธยา จึงนำเรื่องมาปรึกษากับสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผู้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น เพื่อขออนุญาตฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ แล้วเขาก็ได้รับการสนับสนุน โดยเริ่มฝึกสอนครั้งแรกที่บริเวณข้างวัดวัดระฆังโฆสิตาราม[5]

ต่อมา พ่อครูสมัยได้ทำการเปิดโรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ที่บริเวณสี่แยกบ้านแขก ถนนอิสรภาพ โดยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานธงชัย และตราประจำโรงเรียนเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2500[5]

พ่อครูสมัยเสียชีวิตใน พ.ศ. 2541 สิริอายุได้ 84 ปี[1]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พ่อครูสมัย มีภรรยาชื่อขวัญยืน เมษะมาน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์[5] และมีบุตรชายชื่อปราโมทย์ เมษะมาน ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวพุทไธสวรรย์เช่นกัน[1]

เกียรติประวัติ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]