ประเทศไทยใน พ.ศ. 2484
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 160 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ผู้นำ[แก้]
- พระมหากษัตริย์: สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์:
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา
- เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
- ปรีดี พนมยงค์ (ตั้งแต่ 16 ธันวาคม)
- นายกรัฐมนตรี: แปลก พิบูลสงคราม (คณะราษฎร) (ก่อนวันที่ 6 ธันวาคม ใช้บรรดาศักดิ์ "หลวงพิบูลสงคราม")
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 3
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (จนถึง 24 มิถุนายน)
- พระยามานวราชเสวี (แต่งตั้ง) (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม)
- ประธานศาลฎีกา: พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (ตั้งแต่ 17 มกราคม)
- เจ้าผู้ครองประเทศราช
- นครจัมปาศักดิ์: เจ้ายุติธรรมธร (ตั้งแต่ 9 พฤษภาคม)
- นครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เหตุการณ์[แก้]
มกราคม[แก้]
- 1 มกราคม - ครั้งแรกของประเทศไทยที่กำหนดให้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ หลังจากเคยใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่มาก่อนหน้านี้
- 17 มกราคม - กรณีพิพาทอินโดจีน (ยุทธนาวีเกาะช้าง) : กองเรือรบราชนาวีไทยเข้าปะทะต่อสู้กับกองเรือรบฝรั่งเศส ที่ล่วงล้ำเข้าสู่น่านน้ำด้านจังหวัดตราด
เมษายน[แก้]
พฤษภาคม[แก้]
- 9 พฤษภาคม - สิ้นสุดกรณีพิพาทอินโดจีน โดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจาสงบศึกการรบไทยกับฝรั่งเศส มีการลงนามในอนุสัญญาโตเกียวทำให้ไทยได้ดินแดนในลาวและกัมพูชา ได้แก่ ฝั่งขวาของหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ พระตะบอง คืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดลานช้าง
ธันวาคม[แก้]
- 8 ธันวาคม - สงครามมหาเอเชียบูรพา : กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพเข้าสู่ประเทศไทย
(กองทัพญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาทางด้านจังหวัดพิบูลสงคราม และยกพลขึ้นบกจากอ่าวไทย เพื่อขอใช้ไทยเป็นทางผ่านไปสู่พม่าและมลายู จากนั้นมาคนไทยทั้งในและนอกประเทศร่วมกันก่อตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านการรุกราน)
- 14 ธันวาคม - สงครามมหาเอเชียบูรพา : จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ลงนามในเอกสารหลักการร่วมยุทธระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ผู้เสียชีวิต[แก้]

พฤษภาคม[แก้]
- 30 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี (พระราชสมภพ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436) สวรรคต ณ เซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ