กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
Department of Social Development and Welfare | |
ตราสัญลักษณ์ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ | |
ที่ทำการกรม | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545[1] |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 1034 ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10100 |
บุคลากร | 2,482 คน (พ.ศ. 2566)[2] |
งบประมาณต่อปี | 1,856,184,600 บาท (พ.ศ. 2568)[3] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
ลูกสังกัดกรม |
|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การจัดสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ และการให้บริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่ง ผู้ทำการขอทาน สมาชิกนิคมสร้างตนเอง ราษฎรบนพื้นที่สูง และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคมโดยการมีส่วนร่วมของ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง[4]
ประวัติ
[แก้]กรมประชาสงเคราะห์ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2483 โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) เป็นอธิบดีคนแรก โดยในระยะแรกสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี[5] โดยมีหน้าที่ในการจัดสวัสดิการสังคม การสังคมสงเคราะห์ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ บริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่ง ซึ่งระยะเวลาต่อมา กรมได้ดำเนินการครอบคลุมไปถึง การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก การป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมไปถึงการสงเคราะห์และพัฒนาชาวเขา[6]
ในเวลาต่อมาเมื่อได้มีการตรา พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[1] กำหนดให้จัดตั้ง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกำหนดให้แยก กรมประชาสงเคราะห์ ออกมาจาก กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พร้อมกับเปลื่ยนชื่อกรมเป็น กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยให้โอนภาระและหน้าที่ และ งบประมาณจาก กรมประชาสงเคราะห์ ด้วย[7]
ประวัติการย้ายส่วนราชการ
[แก้]กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ย้ายส่วนราชการมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง โดยเป็นการย้ายตั้งแต่สมัยยังใช้ชื่อ กรมประชาสงเคราะห์[5]:
- สำนักนายกรัฐมนตรี (1 กันยายน 2483 - 18 สิงหาคม 2484)
- กระทรวงสาธารณสุข (10 มีนาคม 2485 - 17 มกราคม 2486)
- กระทรวงมหาดไทย (18 มกราคม 2486 - 22 กันยายน 2536)
- กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (23 กันยายน 2536 - 1 ตุลาคม 2545)
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2 ตุลาคม 2545 - ปัจจุบัน)
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]- กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ
- สำนักงานเลขานุการกรม
- กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
- กองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม
- กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
- กองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กองส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม
- ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมและต่อต้านการทุจริตกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 11 แห่ง
- ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด
- นิคมสร้างตนเอง จำนวน 43 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัด จำนวน 16 จังหวัด
- ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 3 แห่ง
- ศูนย์ประสานงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ จำนวน 3 แห่ง
- พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙๙ ก หน้า ๒๔, ๒ ตุลาคม ๒๕๔๕
- ↑ (ร่าง) รายงานประจำปี 2566 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๑๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2559. เล่ม 133 ตอนที่ 94ก หน้า 29 วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559.
- ↑ 5.0 5.1 Historical Background The Department of Public Welfare (Old Website)
- ↑ หน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนราชการในกรมประชาสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
- ↑ การโอนหน้าที่และงบประมาณของกรมประชาสงเคราะห์ไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม