ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศเซเนกัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Senegal)
สาธารณรัฐเซเนกัล

République du Sénégal (ฝรั่งเศส)
ตราแผ่นดินของเซเนกัล
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Un Peuple, Un But, Une Foi" (ฝรั่งเศส)
"หนึ่งชนชาติ หนึ่งเป้าหมาย หนึ่งศรัทธา"
ที่ตั้งของ ประเทศเซเนกัล  (เขียวเข้ม)
ที่ตั้งของ ประเทศเซเนกัล  (เขียวเข้ม)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดาการ์
14°40′N 17°25′W / 14.667°N 17.417°W / 14.667; -17.417
ภาษาราชการฝรั่งเศส
ภาษากลาง
ภาษาประจำชาติ
กลุ่มชาติพันธุ์
การปกครองรัฐเดี่ยว ประธานาธิบดีแบบสาธารณรัฐ[1]
Bassirou Diomaye Faye
Ousmane Sonko
Amadou Mame Diop
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช
• ก่อตั้งสาธารณรัฐ
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958
• จากฝรั่งเศสa
4 เมษายน ค.ศ. 1960
• ถอนตัวจาก
สหพันธรัฐมาลี
20 สิงหาคม ค.ศ. 1960
พื้นที่
• รวม
196,712 ตารางกิโลเมตร (75,951 ตารางไมล์) (อันดับที่ 86)
2.1
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
15,411,614[2] (อันดับที่ 72)
• สำมะโนประชากร 2016
16,624,000[3] (อันดับที่ 73)
68.7 ต่อตารางกิโลเมตร (177.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 134)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
66.438 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 99)
3,675 ดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 158)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
28.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4][5] (อันดับที่ 105)
1,675 ดอลลาร์สหรัฐ[4] (อันดับที่ 149)
จีนี (2011)40.3[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)ลดลง 0.512[7]
ต่ำ · อันดับที่ 168
สกุลเงินWest African CFA franc (XOF)
เขตเวลาUTC (เวลามาตรฐานกรีนิช)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+221
โดเมนบนสุด.sn

เซเนกัล (ฝรั่งเศส: Sénégal) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเซเนกัล (ฝรั่งเศส: République du Sénégal) เป็นประเทศที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก มีพรมแดนทางตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ทางเหนือจรดมอริเตเนีย ทางตะวันออกจรดมาลี และทางใต้จรดกินีและกินี-บิสเซา โดยล้อมแกมเบียซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศไว้เกือบทั้งหมด และมีหมู่เกาะกาบูเวร์ดีตั้งอยู่ห่างจากชายแดนตะวันตกไปราว 560 กิโลเมตร

ภูมิศาสตร์

[แก้]

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกึ่งทะเลทราย โดยค่อย ๆ ลาดสูงขึ้นไปจรดเชิงเขาบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยป่าไม้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ศตวรรษที่ 19-20

[แก้]

ยุคอาณานิคม ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาและมีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และสามารถสยบรัฐมุสลิมรัฐสุดท้ายได้ในปี 1893 เซเนกัลตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนานถึง 300 ปี (1659-1960) และดาการ์กลายเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกาตะวันตก เซเนกัลได้รับเอกราชโดยรวมอยู่ในสหพันธรัฐมาลีในวันที่ 20 มิถุนายน 1960 และได้ถอนตัวออกจากสหพันธรัฐเพื่อเป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1960

หลังการประกาศเอกราช

[แก้]

ยุคหลังได้รับเอกราช เมื่อเซเนกัลได้รับเอกราช นาย เลออปอล เซดาร์ ซ็องกอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกและเป็นประมุขของประเทศ จนเมื่อปี 1980 นักการเมืองรุ่นใหม่ ได้กดดันให้เขาลาออกเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจส่งผลให้นาย Abdou Diouf ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของเซเนกัลแทน และดำรงตำแหน่งต่อมาเป็นเวลา 19 ปี โดยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 3 ครั้ง ในปี 1983, 1988 และ 1993 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2000 นาย Diouf พ่ายแพ้แก่ผู้นำฝ่ายค้าน นาย Abdoulaye Wade เนื่องจากชาวเซเนกัลอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเกิดความเบื่อหน่ายในพรรคสังคมนิยมของนาย Diouf ซึ่งครองอำนาจมานานถึง 40 ปี และมีความแตกแยกภายในพรรคสูง อนึ่ง เซเนกัลเคยรวมประเทศกับแกมเบียจัดตั้งสหพันธรัฐเซเนแกมเบียในปี 1982 แต่ก็กลับแยกกันดังเดิมอีกในปี 1989

การเมืองการปกครอง

[แก้]

บริหาร

[แก้]

การเมืองเซเนกัลมีความมั่นคงมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และ เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในแอฟริกาซึ่งไม่เคยประสบเหตุปฏิวัติรัฐประหาร พรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรค Senegalese Democratic Party ของประธานาธิบดี Wade คุมเสียงข้างมากในสภา การเมืองจึงมีเสถียรภาพสูง นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างแนวร่วมได้เพิ่มขึ้น

ปัญหาสำคัญของเซเนกัลคือการต่อต้านจากกลุ่มติดอาวุธ the Movement of Democratic Forces in Casamance ของชนเผ่า Dioula ซึ่งไม่พอใจในการปกครองของชนเผ่า Wolof ซึ่งเป็นเผ่าใหญ่ที่สุดของเซเนกัล เนื่องจากเห็นว่า กลุ่มตนไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลในอดีต แม้ว่าจะมีการลงนามความตกลงสันติภาพกันเมื่อเดือนธันวาคม 2004 แต่ก็ยังมีต่อต้านอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีปัญหาภายในดังกล่าว แต่ก็ถือได้ว่าเซเนกัลเป็นหนึ่งในประเทศประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในแอฟริกา

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ประเทศเซเนกัลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 เขตการปกครอง (regions) ได้แก่

  1. เขตดาการ์
  2. เขตดิอัวร์เบล
  3. เขตฟาทิค
  4. เขตคาฟฟรีน
  5. เขตเคาแล็ค
  6. เขตเคเดาเกา
  7. เขตโคลดา
  8. เขตลูกา
  9. เขตมาตัม
  10. เขตเซดิว
  11. เขตเซนต์หลุยส์
  12. เขตทัมบาเคาน์ดา
  13. เขตทิเอส
  14. เขตชิกูยน์ชอร์


เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]

เซเนกัลเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แต่ใน ค.ศ. 1993 เซเนกัลประสบปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจอันเป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าและมีหนี้สินต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 2.1 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1994 รัฐบาลได้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนจากประเทศผู้บริจาค การปฏิรูปเริ่มจากการประกาศลดค่าเงินสกุลฟรังค์เซฟา (CFA) ลง 50 % (ค่า CFA ได้ผูกค่าเงินตายตัวกับค่าเงินยูโร) การควบคุมราคาและการอุดหนุนได้ค่อย ๆ ยกเลิกไป ผลจากการปฏิรูปส่งผลให้เศรษฐกิจเซเนกัลปรับตัวดีขึ้น GDP ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 ในช่วงปี 1995-2006 อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือร้อยละ 2 ในปี 2006

ในฐานะที่ เซเนกัลเป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งแอฟริกาตะวันตก (WAEMU) เซเนกัลได้ดำเนินการในการรวมตัวให้เข้มข้นมากขึ้นโดยการปรับระบบภาษีที่คิดกับนอกกลุ่มให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และดูแลนโยบายการเงินอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ปัญหาการว่างงานยังคงเป็นแรงผลักดันให้มีคนเซเนกัลอพยพไปยุโรปเพื่อหางานทำอย่างต่อเนื่อง วิกฤติด้านพลังงานก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาไฟดับบ่อยครั้งในบริเวณที่กว้างขวางในปี 2006 นอกจากนั้น เซเนกัลยังพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามผลจากการประกาศโครงการยกหนี้ให้กับประเทศยากจนของ IMF นั้น เซเนกัลได้รับการปลดหนี้ไปถึง 2 ใน 3

เศรษฐกิจของเซเนกัลขึ้นอยู่กับภาคบริการ การค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากจุดเด่นด้านทำเลที่ตั้งของเซเนกัลที่เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าและการขนส่งในแอฟริกาตะวันตก แต่ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมกลับได้รับการพัฒนาน้อย อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ก่อสร้าง และการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปลา น้ำมันจากถั่วลิสง และฟอสเฟต

รายได้หลักของเซเนกัลมาจากการส่งออกสินค้าภาคเกษตร อาทิ ถั่วลิสง ประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอสเฟต ฝ้าย การท่องเที่ยว การบริการ และพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ประเทศและองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือเซเนกัลในด้านการพัฒนามีหลายแหล่ง อาทิ ฝรั่งเศส กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สหภาพยุโรป ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา USAID ญี่ปุ่น เยอรมนี แคนาดา และหน่วยงานของสหประชาติ รัฐบาลเซเนกัลมีนโยบายเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของประเทศจากสังคมนิยมเป็นทุนนิยม สนับสนุนการค้าเสรีโดยได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้า และแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากแรงกดดันจากองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะ IMF และธนาคารโลก ซึ่งประสงค์ให้รัฐบาลเซเนกัลปฏิรูปนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นแบบการค้าเสรี

ประชากรศาสตร์

[แก้]

จำนวนประชากร 14,354,690 คน (กรกฎาคม 2015) อัตราขยายตัว 2.6 % (2007)

เชื้อชาติ

[แก้]

เชื้อชาติ – โวลอฟ 43.3%, พูลาร์ 23.8%, เซเรร์ 14.7 %, โจล่า 3.7 %, แมนดินก้า 3 %, โซนินเก 1.1 %, ชาวยุโรปและเลบานอน 1 %, อื่น ๆ 9.4 %

ศาสนา

[แก้]

ประชากรเซเนกัลส่วนใหญ่ นับถือศาสนามุสลิม 94 %, คริสเตียน 5 % (ส่วนใหญ่เป็นแคธอลิค, ความเชื่อท้องถิ่น 1 % พุทธ 0.01% ดูเพิ่มได้ในพุทธศาสนาในประเทศเซเนกัล


ภาษา

[แก้]

ภาษาฝรั่งเศส (ภาษาทางการ), โวลอฟ, พูลาร์, โจล่า, แมนดินก้า

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Central Intelligence Agency (2009). "Senegal". The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 12 October 2015.
  2. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  3. "Senegal". Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 20 October 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.
  5. "GDP Ranked by Country 2021". worldpopulationreview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-21. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021.
  6. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  7. "Human Development Report 2019" (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-30. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Babou, Cheikh Anta, Fighting the Greater Jihad: Amadu Bamba and the Founding of the Muridiyya of Senegal, 1853–1913, (Ohio University Press, 2007)
  • Behrman, Lucy C, Muslim Brotherhood and Politics in Senegal, (iUniverse.com, 1999)
  • Buggenhage, Beth A, Muslim Families in Global Senegal: Money Takes Care of Shame, (Indiana University Press, 2012)
  • Bugul, Ken, The Abandoned Baobab: The Autobiography of a Senegalese Woman, (University of Virginia Press, 2008)
  • Foley, Ellen E, Your Pocket is What Cures You: The Politics of Health in Senegal, (Rutgers University Press, 2010)
  • Gellar, Sheldon, Democracy in Senegal: Tocquevillian Analytics in Africa, (Palgrave Macmillan, 2005)
  • Glover, John, Sufism and Jihad in Modern Senegal: The Murid Order, (University of Rochester Press, 2007)
  • Kane, Katharina, Lonely Planet Guide: The Gambia and Senegal, (Lonely Planet Publications, 2009)
  • Kueniza, Michelle, Education and Democracy in Senegal, (Palgrave Macmillan, 2011)
  • Mbacké, Khadim, Sufism and Religious Brotherhoods in Senegal, (Markus Wiener Publishing Inc., 2005)
  • Streissguth, Thomas, Senegal in Pictures, (Twentyfirst Century Books, 2009)
  • Various, Insight Guide: Gambia and Senegal, (APA Publications Pte Ltd., 2009)
  • Various, New Perspectives on Islam in Senegal: Conversion, Migration, Wealth, Power, and Femininity, (Palgrave Macmillan, 2009)
  • Various, Senegal: Essays in Statecraft, (Codesria, 2003)
  • Various, Street Children in Senegal, (GYAN France, 2006)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Trade