พ.ศ. 2550
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก 2007)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2550 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2007 MMVII |
Ab urbe condita | 2760 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1456 ԹՎ ՌՆԾԶ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6757 |
ปฏิทินบาไฮ | 163–164 |
ปฏิทินเบงกอล | 1414 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2957 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 55 Eliz. 2 – 56 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2551 |
ปฏิทินพม่า | 1369 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7515–7516 |
ปฏิทินจีน | 丙戌年 (จอธาตุไฟ) 4703 หรือ 4643 — ถึง — 丁亥年 (กุนธาตุไฟ) 4704 หรือ 4644 |
ปฏิทินคอปติก | 1723–1724 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3173 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1999–2000 |
ปฏิทินฮีบรู | 5767–5768 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2063–2064 |
- ศกสมวัต | 1929–1930 |
- กลียุค | 5108–5109 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12007 |
ปฏิทินอิกโบ | 1007–1008 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1385–1386 |
ปฏิทินอิสลาม | 1427–1428 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 19 (平成19年) |
ปฏิทินจูเช | 96 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4340 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 96 民國96年 |
เวลายูนิกซ์ | 1167609600–1199145599 |
พุทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีกุน นพศก จุลศักราช 1369 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีจัดงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80พรรษา 5ธันวาคม 2550 ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 61 ปี 9 มิถุนายน 2550
- 120 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น
- เป็นปีฟิสิกส์สุริยะสากล (International Heliophysical year)[1] ปีขั้วโลกสากล (International Polar Year)[2]
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม -
- เริ่มใช้เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN) แบบ 13 หลัก แทนแบบ 10 หลัก
- พัน กี-มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ต่อจาก โคฟี อันนัน
- สาธารณรัฐบัลแกเรียและประเทศโรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
- สาธารณรัฐสโลวีเนียเปลี่ยนสกุลเงินจากโทลาร์เป็นยูโร
- สาธารณรัฐแองโกลาเข้าเป็น
สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)
- 11 มกราคม
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)
- ประเทศจีนทดลองยิงทำลายดาวเทียมของตนในอวกาศด้วยขีปนาวุธ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากประเทศอื่น
- 12 มกราคม - สถานทูตสหรัฐประจำกรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (ประเทศกรีซ) ถูกโจมตีด้วยจรวดอาร์พีจี ทำให้เกิดความเสียหายในระดับเล็กน้อย และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ
- 14 มกราคม - ไรอัน ฮอลล์ นักวิ่งชาวอเมริกัน ทำลายสถิติการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนของสหรัฐ
- 22 มกราคม - เกิดเหตุระเบิดในตลาดกลางกรุงแบกแดด สาธารณรัฐอิรัก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 88 ราย
- 29 มกราคม
- กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ (compulsory licensing) กับยารักษาโรคเอดส์ชนิดดื้อยา เอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) คาเลตรา (Kaletra) และยาละลายลิ่มเลือดอุดตัน พลาวิคซ์ (Plavix) ซึ่งเปิดทางให้ไทยผลิตยาเอง มีราคาถูกลง และถูกต้องตามปฏิญญาโดฮาขององค์การการค้าโลก
- เกิดเหตุระเบิดพลีชีพในร้านขายขนมปังในรัฐอิสราเอล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย
- 30 มกราคม - ไมโครซอฟท์เปิดตัว "วินโดวส์วิสตา" ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวใหม่ล่าสุด
กุมภาพันธ์
[แก้]- 2 กุมภาพันธ์ - คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ลงความเห็นว่าเป็นไปได้อย่างยิ่งที่มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และคาดว่าปลายคริสต์ศตวรรษที่ 21 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 1.8-4 ?C พร้อมกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
- 3 กุมภาพันธ์
- สาธารณรัฐอินโดนีเซียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหลังจากเกิดวาตภัยจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
- เกิดเหตุระเบิดรถบรรทุกกลางฝูงชนในตลาดกลางกรุงแบกแดด สาธารณรัฐอิรัก เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 135 ราย และบาดเจ็บ 339 ราย
- 4 กุมภาพันธ์
- ซูเปอร์โบวล์ XLI จัดขึ้นที่สนามกีฬาดอลฟิน เมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐ
- ทีมฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ได้รับตำแหน่งชนะเลิศจากการแข่งขันรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน ครั้งที่ 6 ด้วยการเอาชนะทีมฟุตบอลทีมชาติไทยด้วยประตูรวม 3 ประตูต่อ 2 หลังจากที่เสมอกัน 1 ประตูต่อ 1 ในรอบชิงชนะเลิศนัดสุดท้าย ณ สนามศุภชลาศัย กรุงเทพมหานคร
- 13 กุมภาพันธ์ - การเจรจา 6 ฝ่ายแก้วิกฤตินิวเคลียร์คืบหน้า หลังเกาหลีเหนือยอมปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลักเป็นการชั่วคราวเพื่อแลกกับน้ำมัน และยอมให้ไอเออีเอเข้าไปตรวจสอบ
- 28 กุมภาพันธ์ - ยานนิวฮอไรซันส์ ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดี ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังดาวพลูโต
มีนาคม
[แก้]- 3-4 มีนาคม - เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
- 7 มีนาคม - เกิดไฟไหม้เครื่องบินโบอิง 737-400 ของสายการบินการูด้าแอร์ ขณะลงจอดที่สนามบินจังหวัดย็อกยาการ์ตา บนเกาะชวาทางตอนกลางของประเทศอินโดนีเซีย ผู้โดยสารส่วนหนึ่งรวมทั้งนักบินถูกไฟคลอกเสียชีวิต 49 คน มีผู้รอดชีวิต 90 คน
- 13 มีนาคม - วันก่อตั้งแนวร่วมสหชาติ
- 19 มีนาคม - เกิดสุริยุปราคาบางส่วน เห็นได้ในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และอะแลสกา
- 23 มีนาคม - เครื่องเล่นเกม "โซนี่เพลย์สเตชัน 3" ออกวางจำหน่ายทั่วโลก
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน
- เวลส์สั่งห้ามการสูบบุหรี่ในที่สาธาณะและสถานที่ทำงาน
- เกิดธรณีพิบัติภัยในหมู่เกาะโซโลมอนวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.1 ริกเตอร์ และยังส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ
- 16 เมษายน - โช ซึง-ฮี ก่อเหตุสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคในสหรัฐ มีผู้เสียชีวิต 33 คน นับเป็นเหตุการณ์ฆ่าหมู่ในสถานศึกษาที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐ
พฤษภาคม
[แก้]- 3 พฤษภาคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลท้องถิ่นของสกอตแลนด์
- การเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ
- 5 พฤษภาคม - เครื่องบินสายการบินเคนยาแอร์เวย์ส เที่ยวบินที่เคคิว 507 ตกในสาธารณรัฐแคเมอรูน
- 6 พฤษภาคม
- นีกอลา ซาร์กอซี ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยเอาชนะเซโกแลน รัวยาล ด้วยคะแนนร้อยละ 53 ของคะแนนเสียงทั้งหมด
- สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้รับตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ พรีเมียร์ลีก ฤดูกาลที่ 2006/2007
- 10 พฤษภาคม - นายโทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 27 มิถุนายน โดยสละตำแหน่ง ให้นายกอร์ดอน บราวน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
- 16 พฤษภาคม
- นีกอลา ซาร์กอซี เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ต่อจากฌัก ชีรัก
- 19 พฤษภาคม
- สโมสรฟุตบอลเชลซีได้รับตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอ คัพ 2007 (อังกฤษ) ณ สนามกีฬานิวเวมบลีย์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังเอาชนะสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 ประตูต่อ 0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ โดยการแข่งขันนัดนี้ยังใช้เป็นนัดเปิดสนามกีฬานิวเวมบลีย์อย่างเป็นทางการอีกด้วย
- ทีมฟุตซอลทีมชาติอิหร่านได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย 2007 ณ ญี่ปุ่น ด้วยการเอาชนะทีมฟุตซอลทีมชาติญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ 4 ประตูต่อ 1
- 23 พฤษภาคม - สโมสรฟุตบอลเอซี มิลาน ได้รับตำแหน่งชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ฤดูกาลที่ 2006 ถึง 2007 ณ สนามกีฬาโอลิมปิคสเตเดียม กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (ประเทศกรีซ) ด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในรอบชิงชนะเลิศ 2 ประตูต่อ 1
- 25 พฤษภาคม
- ภาพยนตร์เรื่อง "ผจญภัยล่าโจรสลัดสุดขอบโลก" (Pirates of the Caribbean: At World's End) เปิดฉายรอบปฐมทัศน์
- ฉลองครบรอบ 30 ปีของภาพยนตร์เรื่อง "สตาร์วอร์ส" ของจอร์จ ลูคัส
- เปิดตัวกูเกิ้ล สตรีตวิวเป็นครั้งแรก
- 30 พฤษภาคม - ตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสินคดียุบพรรค 5 พรรคการเมือง โดยมีมติยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย
มิถุนายน
[แก้]- 5 มิถุนายน - ยานเมสเซนเจอร์โคจรผ่านใกล้ดาวศุกร์
- 8 มิถุนายน - องค์การนาซาส่งกระสวยอวกาศแอตแลนติสขึ้นบินพร้อมนักบินอวกาศ 7 คน เพื่อเดินทางไปในภารกิจต่อเติมสถานีอวกาศนานาชาติ
- 14 มิถุนายน - ซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ มีชัยเหนือคลีฟแลนด์ คาวาเลียส์ 4-0 เกม คว้าแชมป์บาสเกตบอลเอ็นบีเอ ฤดูกาล 2006-2007 โดยโทนี พาร์กเกอร์ ได้รับเลือกเป็นผู้เล่นทรงคุณค่า
- 19 มิถุนายน - เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 4.5 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- 27 มิถุนายน - โทนี แบลร์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร โดยผู้ที่เข้าดำรงตำแหน่งแทนได้แก่ กอร์ดอน บราวน์
- 30 มิถุนายน-10 กรกฎาคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศปาปัวนิวกินี
กรกฎาคม
[แก้]- 7 กรกฎาคม
- การแสดงมหกรรมคอนเสิร์ต "ไลฟ์เอิร์ธ" เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักในปัญหาปรากฏการณ์โลกร้อน
- 21 กรกฎาคม - กำหนดวางจำหน่ายวรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาอังกฤษ ชุดที่ 7 (ชุดสุดท้าย) ตอน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต
- 29 กรกฎาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติอิรักชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 14 ณ สนามกีฬาบังการ์โน กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สิงหาคม
[แก้]- 19 สิงหาคม - การลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
- 28 สิงหาคม - จันทรุปราคาเต็มดวง
กันยายน
[แก้]- 8-9 กันยายน - การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่ซิดนีย์
- 11 กันยายน - สุริยุปราคาบางส่วน
- 16 กันยายน - เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินโดยสารของสายการบินวันทูโก ประสบอุบัติเหตุไถลออกจากทางวิ่งขณะร่อนลงจอดที่สนามบินภูเก็ต เครื่องเกิดการระเบิด ทำให้มีผู้เสียชีวิต 89 คน บาดเจ็บ 41 คน
- 19 กันยายน - นวน เจีย อดีตสมาชิกผุ้นำเขมรแดงถูกจับกุมข้อหาอาชญากรสงครามและก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติระหว่างที่เขมรแดงเรืองอำนาจในกัมพูชา
- กันยายน - องค์การนาซาส่งยานดอว์นขึ้นสู่อวกาศในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย 2 ดวง
ตุลาคม
[แก้]พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน
- การเลือกตั้งทั่วไปในสาธารณรัฐตุรกี
ธันวาคม
[แก้]- 19 ธันวาคม - การเลือกตั้งประธานาธิบดีในสาธารณรัฐเกาหลี
- 23 ธันวาคม - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550
- 27 ธันวาคม - เบนาซีร์ บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน ถูกลอบสังหาร และมีผู้เสียชีวิตอีกอย่างน้อย 20 คน โดยเหตุระเบิดในการหาเสียงในราวัลปินดี
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
[แก้]- 18 กุมภาพันธ์ - วันตรุษจีน
- 3 มีนาคม - วันมาฆบูชา
- 13-15 เมษายน - สงกรานต์
- 10 พฤษภาคม - วันพืชมงคล
- 31 พฤษภาคม - วันวิสาขบูชา
- 29 กรกฎาคม - วันอาสาฬหบูชา
- 30 กรกฎาคม - วันเข้าพรรษา
- 27 สิงหาคม - วันสารทจีน
- 11 กันยายน - วันแรกของเดือนรอมะฎอน
- 26 ตุลาคม - วันออกพรรษา
- 24 พฤศจิกายน - วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาส
วันเกิด
[แก้]- 13 มกราคม - กิตติชัย แช่มฉลี ทายาทแช่มฉลีคนที่ 4 รองจากวาสนา แช่มฉลี
- 10 เมษายน - เจ้าหญิงอารียานแห่งเนเธอร์แลนด์
- 11 เมษายน - จอง อาฮยอน สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวงเบบีมอนสเตอร์
- 18 เมษายน - เจ้าชายเลโรโทรี เซเอโซ มกุฎราชกุมารแห่งเลโซโท
- 21 เมษายน - เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก
- 29 เมษายน - อินฟันตาโซฟีอาแห่งสเปน
- 6 สิงหาคม - จักริน โมแรน นักแสดงชายลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
- 17 ตุลาคม - ชิน ฮารัม สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปวงเบบีมอนสเตอร์
- 18 ตุลาคม - ณัฐพัชร์ นิมจิรวัฒน์ นักแสดงชายชาวไทย
- 23 ตุลาคม - ภูวรักษ์ คำสิงห์ ลูกชายของ สมรักษ์ คำสิงห์
- 28 พฤศจิกายน - สุภาภัสสร์ ผลเจริญรัตน์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 30 พฤศจิกายน - กัณฐพัทธ์ กิติชัยวรางค์กูร นักแสดงชายชาวไทย
- 17 ธันวาคม - เจมส์ ไวเคานต์เซเวิร์น
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 8 มกราคม - จูหลิง ปงกันมูล ข้าราชการชาวไทย (เกิด มีนาคม พ.ศ. 2522)
- 12 มกราคม - สุข สูงสว่าง นักธุรกิจชาวไทย
- 13 มกราคม - ไมเคิล เบรกเคอร์ นักดนตรีชาวอเมริกัน
- 19 มกราคม - สก็อตต์ ชาร์ลส์ บิเกอโลว์ นักแสดงมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2504)
- 21 มกราคม - ปรีชา เฉลิมวณิชย์ ข้าราชการชาวไทย (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)
- 29 มกราคม - พลตำรวจตรี หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร ตำรวจชาวไทย (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ - เสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2480)
- 7 กุมภาพันธ์ - ประมาณ ชันซื่อ ข้าราชการชาวไทย (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479)
- 8 กุมภาพันธ์ - แอนนา นิโคล สมิธ นางแบบ/นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510)
- 19 กุมภาพันธ์ - เหี่ยวฟ้า ศิลปินตลก
- 20 กุมภาพันธ์ - ศักดา โมกขมรรคกุล องคมนตรีและข้าราชการชาวไทย (เกิด 8 ธันวาคม พ.ศ. 2480)
มีนาคม
[แก้]- 12 มีนาคม - สุวิทย์ วัดหนู นักเคลื่อนไหวชาวไทย (เกิด 20 ธันวาคม พ.ศ. 2495)
- 19 มีนาคม - บุญชู โรจนเสถียร นักการธนาคารและนักการเมือง อดีตรองนายกรัฐมนตรี (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2465)
- 30 มีนาคม - ดีเด่น เก่งการุณ นักมวยชาวไทย (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2521)
เมษายน
[แก้]- 15 เมษายน - สุวัฒน์ วรดิลก (รพีพร) นักเขียน ศิลปินแห่งชาติ
- 18 เมษายน - กิตติ อัครเศรณี ผู้สร้างภาพยนตร์และละคร
- 23 เมษายน - บอริส เยลซิน ประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซีย (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474)
พฤษภาคม
[แก้]- 13 พฤษภาคม - พระประมุขมาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2 ประมุขแห่งรัฐซามัว
- 14 พฤษภาคม - เพ็ญศรี พุ่มชูศรี นักร้อง ศิลปินแห่งชาติ
- 21 พฤษภาคม - สาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติ
- 27 พฤษภาคม - อิซูมิ ซากาอิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น (เกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510)
- 30 พฤษภาคม - เกษม ศิริสัมพันธ์ นักการเมืองไทย อดีตรัฐมนตรี
มิถุนายน
[แก้]- 8 มิถุนายน - เสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์ พิธีกร นักดนตรี
- 25 มิถุนายน - คริสโตเฟอร์ ไมเคิล เบนวา นักแสดงมวยปล้ำชาวแคนาดา (เกิด 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2510)
- 28 มิถุนายน - คิอิชิ มิยาซาวา นายกรัฐมนตรีคนที่ 78 ของญี่ปุ่น (เกิด 8 ตุลาคม พ.ศ. 2462)
กรกฎาคม
[แก้]- 3 กรกฎาคม - ทองใบ เรืองนนท์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2469)
- 13 กรกฎาคม - ท้วม ทรนง นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2469)
กันยายน
[แก้]- 6 กันยายน - ลูซิอาโน ปาวารอตติ นักร้องโอเปร่าชาวอิตาลี (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2478)
- 28 กันยายน - กิตติคุณ เชียรสงค์ นักร้อง (เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2500)
สิงหาคม
[แก้]- 8 สิงหาคม - ครูทองดี สุจริตกุลครูผู้สอนดนตรีไทย (จะเข้) (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2455)
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม - หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ พระสงฆ์ชาวไทย
- 12 ตุลาคม - โซ วิน นายกรัฐมนตรีพม่า
- 26 ตุลาคม - ขุนส่า ขุนศึกชาวไทยใหญ่
พฤศจิกายน
[แก้]- 3 พฤศจิกายน - ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ สถาปนิก ทหารเรือ ราชบัณฑิต และศิลปินแห่งชาติ (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)
- 10 พฤศจิกายน - นอร์มัน เมลเลอร์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ คอลัมนิสต์ และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 31 มกราคม พ.ศ. 2466)
- 23 พฤศจิกายน - ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดง (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2478)
- 24 พฤศจิกายน - ศุภพร มาพึ่งพงศ์ ผู้บรรยายกีฬา (เกิด 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489)
- 24 พฤศจิกายน - อุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2456)
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม - เปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ (เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2475)
- 9 ธันวาคม - ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญ นักร้อง (เกิด 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525)
- 27 ธันวาคม - เบนาซี บุตโต อดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]วิดีโอเกม
[แก้]- ร็อกแมน (เมกา แมน) - มีเนื้อเรื่องที่กล่าวว่า ดร.โธมัส ไลท์ ผู้สร้างร็อกแมน ได้รับรางวัลโนเบลสาขานักสร้างหุ่นยนต์ประจำปีนี้
- ดุกนูกเค็ม 3ดี วางจำหน่าย พ.ศ. 2539 - มีเหตุการณ์ในเกมที่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคมของปีนี้
- เอาต์แคสต์ วางจำหน่าย พ.ศ. 2542
- เมทัลเกียร์โซลิด 2: ซันส์ออฟลิเบอร์ตี วางจำหน่าย พ.ศ. 2544
- ทอม แคลนซีย์ส เรนโบว์ซิกซ์ 3: ราเว็นชีลด์ วางจำหน่าย พ.ศ. 2546
- ทอม แคลนซีย์ส โกสท์รีคอน 2 วางจำหน่าย พ.ศ. 2547 - มีการแต่งเนื้อเรื่องเกี่ยวกับสงครามเกาหลีครั้งที่ 2 ที่ได้เกิดขึ้นในปีนี้
- ทอม แคลนซีย์ส สปรินเตอร์เซลล์: เคออสเธียวรี วางจำหน่าย พ.ศ. 2548
- แอ็กต์ออฟวอร์: ไดเร็กต์แอ็กชัน วางจำหน่าย พ.ศ. 2548
ภาพยนตร์
[แก้]- ดับเบิลดรากอน เข้าฉาย พ.ศ. 2537
- เพย์เช็ก (แกะรอยอดีต ล่าปมปริศนา) เข้าฉาย พ.ศ. 2546
- เดอะแจ็คเก็ต (ขังสยอง ห้องหลอนดับจิต) เข้าฉาย พ.ศ. 2548
ภาพยนตร์สารคดี
[แก้]- เดธออฟอะเพรสซิเดนต์ เข้าฉาย พ.ศ. 2549 - มีเนื้อเรื่องที่สมมุติให้ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 43 ถูกลอบสังหารในวันที่ 19 ตุลาคมของปีนี้
วรรณกรรม
[แก้]- เดอะพัพเพ็ตมาสเตอร์ส ตีพิมพ์ พ.ศ. 2494 - เหตุการณ์ทั้งหมดในเรื่องเกิดขึ้นในปีนี้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม
- เดอะฟอร์เอเวอร์วอร์ ตีพิมพ์ พ.ศ. 2518 - มีเหตุการณ์บางเหตุการณ์ในเรื่องที่เกิดขึ้นในปีนี้
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – Gerhard Ertl
- สาขาวรรณกรรม – ดอริส เลสซิง
- สาขาสันติภาพ – คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, อัล กอร์
- สาขาฟิสิกส์ – อัลเบิร์ต เฟิร์ต, ปีเตอร์ กรุนเบอร์ก
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – มาริโอ คาเปกกี, เซอร์ มาร์ติน อีวานส์, โอลิเวอร์ สมิธีส์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Leonid Hurwicz, Eric Maskin, Roger Myerson
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ "International Heliophysical Year". IHY. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 25, 2005. สืบค้นเมื่อ 2008-10-12.
- ↑ "International Polar Year 2007-2008". IPY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-10-12.