ขุนส่า
ขุนส่า | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขุนส่าที่ศูนย์บัญชาการในป่าที่พม่า ค.ศ. 1988 | |||||||||
ชื่อพื้นเมือง | |||||||||
ชื่อเกิด | Sai Sa | ||||||||
ชื่ออื่น | ไทย: จันทร์ จางตระกูล; Tun Sa; U Htet Aung | ||||||||
เกิด | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 Loi Maw, Mongyai, พม่าของอังกฤษ | ||||||||
เสียชีวิต | 26 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ย่างกุ้ง ประเทศพม่า | ||||||||
สุสาน | สุสาน Yayway ย่างกุ้ง | ||||||||
รับใช้ | กองทัพเมิงไต กองทัพปฏิวัติสหรัฐฉาน | ||||||||
ประจำการ | ค.ศ. 1985 –ค.ศ. 1996 | ||||||||
ชั้นยศ | ผู้บัญชาการทหาร | ||||||||
การยุทธ์ | สงครามฝิ่น ค.ศ. 1967, ความขัดแย้งภายในพม่า | ||||||||
งานอื่น | ขุนศึกฉาน | ||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 張奇夫 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 张奇夫 | ||||||||
|
ขุนส่า (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550)[1] มีชื่อจริงว่า จาง ฉีฝู (จีน: 张奇夫; พินอิน: Zhāng Qífú จาง ฉีฝู) และมีชื่อไทยว่า จันทร์ จางตระกูล [2] เป็นอดีตผู้นำกองทัพเมิงไตซึ่งต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่ชนกลุ่มน้อยชาวไทใหญ่ในพม่า และเป็นผู้ผลิตและค้าเฮโรอีนและฝิ่นรายใหญ่ของโลก โดยมีที่มั่นอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ มีอิทธิพลอยู่ในเขตรัฐชานและว้า
ขุนส่ามีบิดาเป็นชาวจีน และมีมารดาเป็นชาวไทใหญ่ ชื่อนางแสงคำ[3] ขุนส่าเคยตั้งกองกำลังใหญ่อยู่ที่บ้านหินแตก ในเขตตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งโรงพยาบาล วัด โรงเรียน และใช้ที่นี้เป็นฐานการผลิตเฮโรอีน จากฝิ่นที่ลักลอบนำเข้ามาจากรัฐชานและรัฐโยนก ส่งขายไปทั่วโลก
ในปี พ.ศ. 2512 ทางการพม่าจับตัวขุนส่าไปจำคุกด้วยข้อหาค้ายาเสพติด และได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2516 เพื่อแลกกับชีวิตของแพทย์ชาวโซเวียต 2 คน ที่กองกำลังของขุนส่าจับไปเป็นตัวประกัน ที่บ้านหินแตก จากเหตุการณ์ครั้งนั้น รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายผลักดันกองกำลังขุนส่าออกนอกประเทศ ตำรวจตระเวนชายแดนของไทยได้เข้ากวาดล้างบ้านหินแตกเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2525 [4]
กองกำลังขุนส่าย้ายไปตั้งอยู่ฝั่งพม่า ที่บ้านหัวเมือง ตรงข้ามกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพรวมชาน (Shan United Army) และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสภาปฏิวัติไท (Tai Revolutionary Council) เมื่อ พ.ศ. 2528
ในปี พ.ศ. 2532 ทางการสหรัฐตั้งค่าหัวขุนส่าเป็นเงิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำตัวขุนส่าไปดำเนินคดี หลังจากศาลสหรัฐสั่งฟ้องในข้อหาลักลอบนำเฮโรอีนจำนวน 1,000 ตัน เข้าประเทศ
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ขุนส่าตกลงสวามิภักดิ์และส่งมอบอาวุธของกองทัพเมิงไตแก่ทางการพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่สหรัฐ ขุนส่าถูกทหารพม่าควบคุมตัวให้อยู่ภายในบ้านพักในย่างกุ้ง ต่อมาได้ล้มป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน[2] จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อคืนวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 อายุ 73 ปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Former Notorious Druglord Khun Sa Dies เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press
- ↑ 2.0 2.1 "ปิดตำนานขุนส่า ราชายาเสพติดโลก คนใกล้ชิดงงสาเหตุการตาย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-09. สืบค้นเมื่อ 2007-10-30.
- ↑ บุญยงค์ เศเทศ. อรุณรุ่งฟ้าฉาน เล่าตำนานคนไท. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, พ.ศ. 2548. 272 หน้า. หน้า หน้าที่ 127. ISBN 974-93146-5-4
- ↑ ตามรอยขุนส่าราชายาเสพติดกับยุทธการบ้านหินแตก จาก คมชัดลึก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยชายแดนไทย-พม่า จาก สารคดี