ข้ามไปเนื้อหา

เพลย์สเตชัน 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพลย์สเตชัน 3
PlayStation 3
โลโก้เพลย์สเตชัน 3 แบบเก่า (ฟอนต์ไอ้แมงมุม)
โลโก้เพลย์สเตชัน 3 แบบเก่า (ฟอนต์ไอ้แมงมุม)

โลโก้เพลย์สเตชัน 3 แบบใหม่
เพลย์สเตชัน 3 รุ่นแรก
เพลย์สเตชัน 3 สลิม
เพลย์สเตชัน 3 ซูเปอร์ สลิม
  • บน ตัวเครื่องเพลย์สเตชัน 3 รุ่นแรก
  • กลาง ตัวเครื่องเพลย์สเตชัน 3 สลิม
  • ล่าง ตัวเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ซูเปอร์ สลิม
ผู้พัฒนาSCEI
ผู้ผลิตโซนี่ อิเล็กทรอนิกส์, ฟ็อกซ์คอนน์, เอซุส[1]
ตระกูลเพลย์สเตชัน
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่เจ็ด
ออกจำหน่าย
  • JP: 11 พฤศจิกายน 2006; 18 ปีก่อน (2006-11-11)
  • NA: 17 พฤศจิกายน 2006; 18 ปีก่อน (2006-11-17)
  • PAL: 23 มีนาคม 2007; 17 ปีก่อน (2007-03-23)
วางจำหน่าย2549-2560
ยกเลิก
  • NZ: 29 กันยายน 2558
  • EU/AU: มีนาคม 2559
  • NA: ตุลาคม 2559
  • JP: 29 พฤษภาคม 2560
ยอดจำหน่าย35.7 ล้าน (as of March 31, 2010)[2]
สื่อ
ระบบปฏิบัติการXrossMediaBar
System software version 3.40[3]
ซีพียู3.2 GHz Cell Broadband Engine with 1 PPE & 7 SPEs
สื่อบันทึกข้อมูล2.5" SATA hard drive
(20 GB, 40 GB, 60 GB, 80 GB, 120 GB, 160 GB, 250 GB, or 320 GB included) (upgradeable)
หน่วยความจำ256 MB system and 256 MB video
การแสดงผล
Video output formats
กราฟิกการ์ด550 MHz NVIDIA/SCEI RSX 'Reality Synthesizer'
ระบบเสียง
Audio output formats
  • A/V-Multi
    • Analog stereo
    TOSLINK HDMI *All models can decode Dolby TrueHD and as of firmware 2.30 DTS-HD Master Audio, to be output as LPCM. Output of the raw undecoded stream is limited to slim models.[4]
ที่บังคับSixaxis, DualShock 3, Logitech Driving Force GT, Logitech Cordless Precision™ controller, standard USB controllers, GT Force, Rhythm game controllers, PlayStation Move, GunCon 3, PlayStation Portable, Keyboard and Mouse
การเชื่อมต่อ
บริการออนไลน์PlayStation Network
เกมที่ขายดีที่สุดแกรนด์เธฟต์ออโต V 19.24 ล้านชุด (ณ วันที่ 7 มกราคม 2558)[5]
การรองรับเครื่องรุ่นก่อนเพลย์สเตชัน (ทุกรุ่น)
PlayStation 2 (รุ่น 20 GB, 60 GB และรุ่น 80 GB (CECHExx) บางรุ่น)
รุ่นก่อนหน้าเพลย์สเตชัน 2
รุ่นถัดไปเพลย์สเตชัน 4

เพลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB. และ US$599 (฿23,000) สำหรับรุ่น 60 GB. การออกแบบตัวเครื่องจะดูเรียบง่าย ทันสมัย มีรูปทรงโค้งมน น้ำหนักประมาณ 11 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) ซึ่งหนักกว่า Xbox 360 ซึ่งราคาจำหน่ายในไทยสัปดาห์แรกหลังจากที่ออกขายที่ญี่ปุ่น ราคาอยู่ที่ 38,000 บาท โดยประมาณ

ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 โซนีได้ประกาศว่ามีโครงการ folding@home ร่วมกับทางนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในการใช้เครื่องเพลย์สเตชัน 3 เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณผลการทดลองในทางการแพทย์ [6] และได้มีการเพิ่มรุ่น 40GB และ 80GB และปัจจุบันไม่มีการจำหน่ายรุ่น 20GB และ 60GB อีกแล้ว

โครงสร้างระบบ

[แก้]

การจัดระบบภายใน

[แก้]
ปัจจุบันนี้รุ่น 20GB , 40GB , 50GB และ 80GB ได้ถูกยกเลิกการผลิต เมื่อเดือน ตุลาคม 2009 แล้ว เนื่องจากตัวเครื่องมีความหนา กินไฟ ทำให้ขายไม่ดีเท่าที่ควร โซนี่จึงได้ออกเพลย์สเตชัน 3 สลิม (PlayStation 3 Slim) มาแทนซึ่งมีรุ่นย่อยเพียง สามรุ่นคือรุ่น 120 GB , 160 GB และ 320 GB พร้อมกับตัดความเข้ากันได้ในการเล่นเกมรุ่นก่อนหน้า และการลงระบบปฏิบัติการพร้อมกับเปลี่ยนชิพซาวน์การ์ดเป็นรุ่นใหม่ เพื่อเสียงที่ดีกว่า เดิม และอย่างสุดท้ายคือเปลี่ยนดีไซน์ตัวเครื่องพร้อมกับเปลี่ยนโลโก้ใหม่อีกด้วย นอกนั้นยังคงเหมือนเดิมทุกประการ
เครื่องเพลย์สเตชัน 3 แสดงส่วนโค้งแบบเก่า

ความสามารถในการเล่นอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้า

[แก้]

ทางโซนี่ได้กล่าวมาว่าเครื่องเพลย์สเตชัน 3 สามารถเล่นเกมเพลย์สเตชัน 1 และเพลย์สเตชัน 2 ที่ผ่านมาตรฐานของระบบ Technical Requirements Checklist โดยทางประธาน เคน คุตะระงิ ได้กล่าวไว้ว่าอาจมีหลายเกมที่ไม่ผ่านมาตรฐานนี้ แต่จะมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์ ออกมาแก้ไขออกมาเป็นระยะๆ

สำหรับเมมโมรีการ์ด ทางเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ไม่มีช่องสำหรับใช้แต่อย่างใด แต่จะมีอแดปเตอร์เสริมสำหรับการนำข้อมูลจากเมมโมรีการ์ดมาเซฟเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้เพลย์สเตชัน 3 ยังคงนำเมมโมรีสติกมาเซฟข้อมูลของเพลย์สเตชัน 1 และเพลย์สเตชัน 2 ได้

สำหรับรุ่น 40GB นั้นได้มีการถอดเอา Emotion Engine Chip ของเพลย์สเตชัน 2ออกเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ยังสามารถเล่นเกมของเพลย์สเตชัน 1ได้ ส่วนเกมของเพลย์สเตชัน 2 นั้นสามารถเล่นได้โดย Simulation Softwareแทน ซึ่งรองรับจำนวนเกมที่เล่นได้น้อยกว่า แต่ทางโซนี่จะทำการอัปเดตให้สามารถเล่นเกมของเพลย์สเตชัน 2 ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะๆ

บริการออนไลน์

[แก้]

ด้วยความสำเร็จของบริการเอกซ์บ็อกซ์ ไลฟ์ ของไมโครซอฟท์ โซนี่จึงได้เปิดบริการออนไลน์ของโซนี่คือ เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม (PlayStation Network ตัวย่อ PSN) โดยจะให้บริการฟรีสำหรับการเล่นหลายคนผ่านเครือข่าย และโซนี่ได้พัฒนาระบบสังคมออนไลน์ ซึ่งมีชื่อว่า PlayStation Home ซึ่งในปัจจุบันทาง Sony ได้เปิดให้ผู้ที่มีเครื่อง PS3 เข้าร่วมทดสอบ Open Beta ไปเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551

อินเตอร์เฟสและระบบปฏิบัติการ

[แก้]

อินเตอร์เฟสของระบบ

[แก้]

เพลย์สเตชัน 3 จะใช้อินเตอร์เฟสชื่อว่า "ครอส มีเดีย บาร์" (Cross Media Bar : XMB) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระบบเดียวกับ เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งสำหรับเพลย์สเตชัน 3 อินเตอร์เฟสนี่จะแบ่งโหมดการทำงานตามสื่อต่างๆ เช่น เพลง วิดีโอ อินเทอร์เน็ต เกม รายชือเพื่อน (Friend List) พร้อมสามารถแบ่งบัญชีผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานร่วมกับ คีย์บอร์ดและเม้าส์ที่รองรับผ่านช่อง ยูเอสบี เพื่อความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ตและพูดคุยกับเพื่อนผ่านระบบ การพิมพ์ ภาพ และเสียง

ระบบปฏิบัติการ

[แก้]

เป็นที่รับรองแล้วว่า เพลย์สเตชัน 3 สามารถลงระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์ได้ ซึ่งโซนี่หวังจะให้เพลย์สเตชัน 3 ทำงานแทนอุปกรณ์บางชิ้นในบ้านได้

เพลย์สเตชัน 3 สามารถเลือกบู๊ตได้ 2 แบบไม่ว่าจะเป็นจากระบบปฏิบัติการ"ลินุกซ์"หรือจากจาก XMB ของเพลย์สเตชัน 3 เอง

แต่เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2553 ได้ตัดคุณสมบัติ Install OS ออกไป เหตุผลที่ตัดลูกเล่นนี้ออกไปเนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยเป็นหลัก

สเป็กเครื่องและส่วนประกอบ

[แก้]

รายละเอียดนี้เป็นข้อมูลจากการเปิดเผยของโซนี่ในงาน อี3 (E³ : Electronic Entertainment Expo)

หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)

[แก้]

3.2 GHz PowerPC "Cell Processor" 1 ตัว ที่เป็น "Power Processing Element : PPE" และ "Synergystic Processing Elements : SPEs" ความเร็ว 3.2 GHz จำนวน 7 ตัว มีความจำแคช L2 ขนาด 512Kb

หน่วยประมวลผลกราฟิก (จีพียู)

[แก้]

พัฒนาขึ้นโดย nVidia โดยให้ชื่อว่า "Reality Syntheziser"

  • พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้าง NVIDIA NV47
  • ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 550 MHz.
  • ความจำแบบ 128 บิต
  • 211.2 GFLOPS แบบโปรแกรมได้ สูงสุด 1.8 TFLOPS
  • 136 shader operations per clock ( * 550 Mhz = 74.8 billion / second, 1 แสนล้าน with CPU)
  • 24 2D texture lookups per clock ( * 550 Mhz = 13.2 billion / second)
  • 33 billion dot products per second (51 billion dot products with CPU)
  • 128-bit pixel precision offers rendering of scenes with High dynamic range rendering

หน่วยความจำ

[แก้]

ทั้งหมด 512 MB แบ่งเป็น

  • 256 MB Rambus XDR DRAM ความเร็ว 3.2 เท่ากับซีพียู
  • 256 MB GDDR3 VRAM ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 700 MHz

System Bandwidth

[แก้]
  • 204.8 GB/s Cell Element Interconnect Bus (Theoretical peak performance)
  • Cell FlexIO Bus: 35 GB/s outbound, 25 GB/s inbound (7 outbound and 5 inbound 1Byte wide channels operating at 5 GHz) (effective bandwidth typically 50-80% of total)
  • 51.2 GB/s SPE to local store
  • Experimental Sustained bandwidth for some SPE-to-SPE DMA transfers - 78 to 197 GB/s.
  • 25.6 GB/s to Main Ram XDR DRAM: 64 bits × 3.2 GHz / 8 bits to a byte
  • 22.4 GB/s to GDDR3 VRAM: 128 bits × 700 MHz × 2 accesses per clock cycle (one per edge) / 8 bits to a byte
  • RSX 20 GB/s (write) , 15 GB/s (read)
  • System Bus (separate from XIO controller) 2.5 GB/s write and 2.5 GB/s read

อินเตอร์เฟส

[แก้]

วิดีโอ

  • แบบ Composite (หัวสีเหลือง แบบ RCA)
  • แบบ S-Video (แยกระหว่างสัญญาณภาพและแสง)
  • แบบ Component Video (หัวแบบ RCA สีแดง น้ำเงิน และเขียว) ความละเอียดสูงสุด 1080p
  • แบบ HDMI 1.3 (สัญญาณดิจิตอล เฉพาะรุ่น "พิเศษ" เท่านั้น)
ขนาดภาพ (กว้าง*ยาว) สัดส่วนภาพ เมกะพิกเซลล์ ระบบ ช่องต่อ (RGB ผ่าน ช่องต่อ VGA หรือ SCART)
720x480 แบบไขว้กัน 4:3 0.31 แบบไขว้กัน 480i Composite video / S-Video / Component video / RGBHV / RGB-SCART
720x480 4:3 0.31 VGA / 480p Component video / RGBHV
1280x720 16:9 0.92 720p Component video / RGBHV
1920x1080 แบบไขว้กัน 16:9 2.07 แบบไขว้กัน 1080i
1920x1080 แบบเส้นตรง 16:9 2.07 1080p Component video / HDMI

เสียง

[แก้]
  • S/PDIF เป็นช่องต่อแบบ ออพติคอล แบ่งสัญญาณมากที่สุดที่ 7.1 ช่อง
  • Dolby TrueHD โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับ
  • DTS-HD
  • LPCM ประมวลผลโดยระบบประมวลผลกลาง

การเชื่อมต่อ/สื่อสาร

[แก้]
  • Wireless Network 54G 1 พอร์ต (ยกเว้นรุ่น 20 GBที่ยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว)
  • Gigabit Ethernet 1 พอร์ต
  • ยูเอสบี 4 พอร์ต (มีเฉพาะรุ่น 60 (ยกเลิกสายการผลิต) และ 80 GB) 2 พอร์ต (เฉพาะรุ่น 20 GB(ยกเลิกสายการผลิต) และ 40 GB)
  • บลูทูธ 2.0 พร้อม EDR
  • การ์ดรีดเดอร์ 1 ชุด (เฉพาะรุ่น 60 (ยกเลิกสายการผลิต) และ 80 GB)

การเก็บข้อมูล

[แก้]

แบบออฟติคอล

  • บลูเรย์ (ความเร็ว 2x = 9MB/s) เพลย์สเตชัน 3 BD-ROM, BD-Video, BD-R/RE
  • ดีวีดี (ความเร็ว 8x = 11MB/s) เพลย์สเตชัน 2 DVD-ROM, DVD-Video, DVD ± R/RW
  • ซีดี (ความเร็ว 24x = 3.5MB/s) เพลย์สเตชัน CD-ROM, เพลย์สเตชัน 2 CD-ROM, CD-DA, CD-DA (ROM) , CD-R, CD-RW
  • เอสเอซีดี (2x)

ฮาร์ดไดรฟ์ แบบอัพเกรดได้ 2 ความจุ คือ 20 และ 60GB ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมติดตั้ง ลีนุกซ์
เมมโมรี่แบบการ์ด (เฉพาะรุ่น "พิเศษ") อ่าน Memory Stick, SD&MMC, CompactFlash.

คอนโทรลเลอร์

[แก้]
คอนโทรลเลอร์แบบล่าสุด รูปร่างคล้าย Dualshock 2 เดิมมาก

หลังจากเปิดตัวคอนโทรลเลอร์รูปทรงคล้าย บูมเมอแรง หรือ กล้วยหอม ในงาน E3 2005 มีเสียงปฏิเสธอย่างหนาหู ทำให้โซนี่ยกเลิกรูปแบบคอนโทรลเลอร์นี้และหันกลับมาใช้แบบ Dualshock 2 เดิม โดยเพิ่มระบบไร้สาย เพิ่มประสิทธิภาพของการวัดแรงกดของปุ่มต่างๆ ทำรูปทรงปุ่ม L2 และ R2 คล้ายไกปืนมากขึ้น เพิ่มปุ่มกลางคอนโทรลเลอร์ (คล้ายกับ Xbox 360) และมีช่องต่อ B-type ยูเอสบี เพื่อใช้ในการชาร์จแบตและเล่นแบบต่อสาย มีไฟ 4 ดวงพร้อมตัวเลขแสดงการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเมื่อต่อพร้อมกัน 4 ตัว มีระบบจับการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้องตัดระบบสั่นออกเพื่อป้องกันการก่อกวน แต่ในปัจจุบันโซนี่ได้นำระบบสั่นเข้ามาในคอนโทรลเลอร์โดยใช้ชื่อว่า Dualshock 3

ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]

เคน คุตะระงิ กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะใช้ระบบลดอุณหภูมิด้วยท่อนำความร้อน และไม่ใช้ระบบของเหลว เพื่อให้เครื่องทำงานเงียบเทียบเท่าเพลย์สเตชัน 2 ตัวเล็ก

ปัญหาของเครื่อง เพลย์สเตชัน 3

[แก้]
  • ในบางรุ่นสายการผลิตมีปัญหาในเรื่องของหัวอ่านบลูเรย์ดิสก์มีความบอบบางและเสียหายได้ง่าย เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด โดยที่รุ่นที่พบมากที่สุดคือรุ่น 60GB (ยกเลิกสายการผลิตแล้ว) ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหานี้น้อยลงแล้ว
  • Yellow Light Of Dead เป็นปัญหาที่ทำให้ตัวเครื่อง PS3 ไม่สามารถใช้งานได้ โดยเมื่อกดเปิดเครื่อง จะปรากฏเป็นสัญญาณไฟเป็นสีเหลือง แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงกะพริบ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้น ทางโซนี่ไม่ได้แถลงว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และรุ่นที่พบมากที่สุด คือรุ่น 20GB และ 60GB ที่ผลิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shilov, Anton (2006-07-18). "Asustek Computer Ships PlayStation 3 Consoles". X-bit labs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  2. "PlayStation®3 Worldwide Hardware Unit Sales". SCEI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-13.
  3. "PlayStation 3.com - Support - System Updates". Sony. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
  4. ""PS3 Slim gains ability to bitstream Dolby TrueHD, DTS-HD MA"". Joystiq. 2009-08-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-09. สืบค้นเมื่อ 2010-03-22.
  5. "Grand Theft Auto V Sales Top 40 Million Worldwide | VG Chartz". VG Chartz. 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 2016-11-23.
  6. ข่าวโซนีและ folding@home จาก ซีเอ็นเอ็น (อังกฤษ)