เนหุชทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมเสสยกงูทองสัมฤทธิ์ขึ้นในภาพบนกระจกสีที่วิหารนักบุญมาระโก เมืองกิลลิงแฮม

ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ (2 พงศ์กษัตริย์ 18:4; เขียนเมื่อราว 550 ปีก่อนคริสตกาล) เนหุชทาน (อังกฤษ: Nehushtan; ฮีบรู: נְחֻשְׁתָּן Nəḥuštān [nəħuʃtaːn]) เป็นรูปสัมฤทธิ์ของงูบนเสา รูปสัมฤทธิ์นี้มีการบรรยายในหนังสือกันดารวิถี เมื่อพระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสให้ชูงูทองสัมฤทธิ์ขึ้นเพื่อให้ชาวอิสราเอลที่ได้เห็นจะได้รับการรักษาและได้รับความปกป้องจากการตายเพราะถูก "งูแมวเซา" กัด ซึ่งเป็นงูที่พระยาห์เวห์ทรงส่งมาลงโทษผู้ที่พูดต่อว่าพระองค์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -9)

ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ กษัตริย์เฮเซคียาห์โปรดให้ปฏิรูปการทำลายรูปเคารพ รวมถึงการทำลาย "งูทองสัมฤทธิ์ซึ่งโมเสสสร้างขึ้นนั้นเสีย เพราะว่าคนอิสราเอลได้เผาเครื่องหอมให้แก่งูนั้นจนถึงวันเหล่านั้น เขาเรียกงูนั้นว่า เนหุชทาน"[1]

ศัพทมูล[แก้]

คำว่า "เนหุชทาน" เป็นคำนามเฉพาะที่มาจากคำว่า "งู" หรือ "สัมฤทธิ์" จึงมีความหมายว่า "งู (ใหญ่)" หรือ "สัมฤทธิ์ (ใหญ่)"[2]

การแปลแบบต่าง ๆ[แก้]

ในคัมภัร์ไบเบิลฉบับภาษาอังกฤษมาตรฐานและฉบับแปลภาษาอังกฤษร่วมสมัยส่วนใหญ่กล่าวถึงงูว่าทำจาก "bronze" ในขณะที่ฉบับพระเจ้าเจมส์และฉบับอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งระบุด้วยคำว่า "brass" 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 แปลเป็นคำว่า "brasen" ในฉบับพระเจ้าเจมส์[3] ในฉบับ Douay-Rheims ปี ค.ศ. 1899 ระบุด้วยคำว่า "brazen" Eugene H. Peterson ผู้ถอดความพระคัมภีร์อย่างหลวม ๆ ในชื่อ เดอะเมซเซจ (ค.ศ. 2002) เลือกใช้คำว่า "a snake of fiery copper"[4]

ในคัมภีร์ไบเบิล[แก้]

คัมภัร์ฮีบรู[แก้]

งูทองสัมฤทธิ์ (ภาพวาดสีน้ำราว ค.ศ. 1896–1902 โดย James Tissot)
มหาวิหารนักบุญแอมโบรสในเมืองมิลานมีเสาแบบโรมัน ยอดเสามีงูสัมฤทธิ์ที่บริจาคโดยจักรพรรดิเบซิลที่ 2 ในปี ค.ศ. 1007 อาจเป็นที่มาของสัญลักษณ์ biscione/bissa แห่งมิลาน[5]

ในเรื่องเล่าคัมภีร์ไบเบิลเกี่ยวกับการอพยพของชาวอิสราเอลจากอียิปต์ ชาวอิสราเอลเดินทางจากภูเขาโฮร์ไปยังทะเลแดง แต่พวกเขาต้องอ้อมไปรอบดินแดนเอโดม (กันดารวิถี 20:21,25) พวกเขาเกิดความท้อแท้และต่อว่าพระยาห์เวห์และโมเสส (กันดารวิถี 21:4 -5) พระเจ้าจึงทรงส่ง "งูแมวเซา" ไปท่ามกลางพวกเขาและพวกเขาหลายคนก็ถูกกัดตาย ประชาชนมาหาโมเสสเพื่อกลับใจและร้องหาโมเสสให้ช่วยทูลพระเจ้าให้ทรงนำงูไปจากพวกเขา โมเสสจึงทูลวิงวอนพระเจ้า พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า "จงทำงูพิษตัวหนึ่งติดไว้บนเสา และทุกคนที่ถูกงูกัดมองดูงูนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่ได้" (กันดารวิถี 21:4 -9)

คำว่า "เนหุชทาน" ปรากฏใน 2 พงศ์กษัตริย์ 18:4 ในความที่กล่าวถึงการปฏิรูปโดยกษัติรย์เฮเซคียาห์ซึ่งพระองค์ทรงรื้อปูชนียสถานสูงทิ้งไป ทรงโค่นสัญลักษณ์ของอาเช-ราห์ลง และทำลายเนหุชทาน[6][7][8] ตามฉบับแปลของคัมภัร์ไบเบิลหลายฉบับให้ชื่อของงูทองสัมฤทธิ์เช่นนั้น[9]

พันธสัญญาใหม่[แก้]

ในพระวรสารนักบุญยอห์น พระเยซูทรงเปรียบเทียบระหว่างการยกบุตรมนุษย์ขึ้นกับการยกงูทองสัมฤทธิ์ของโมเสสเพื่อรักษาประชาชน[10] พระเยซูตรัสว่า "โมเสสยกงูขึ้นในถิ่นทุรกันดารอย่างไร บุตรมนุษย์จะต้องถูกยกขึ้นอย่างนั้น" (ยอห์น 3:14 )

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "2 พงศ์กษัตริย์ 18:4". You Version. สืบค้นเมื่อ 09 January 2024. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "Nehushtan Definition and Meaning – Bible Dictionary". Bible Study Tools. สืบค้นเมื่อ Sep 9, 2019.
  3. BibleGateway.com https://www.biblegateway.com/verse/en/2%20Kings%2018:4 accessed 15 September 2015
  4. All translations of Numbers 21:9 taken from BibleGateway.com https://www.biblegateway.com/verse/en/Numbers%2021:9 accessed 15 September 2015
  5. Reina (2018), p. 69
  6. Noth 1968, p. 156
  7. "The Mystery of the Nechushtan", Hershel Shanks, Biblical Archaeology Review, pp.58–63, March/April 2007.
  8. Joines, Karen Randolph (1968). The Bronze Serpent in the Israelite Cult The Bronze Serpent in the Israelite Cult. JOBL, 87. p. 245, note 1.
  9. "2 Kings 18:4 – Bible Gateway". www.biblegateway.com. สืบค้นเมื่อ Sep 9, 2019.
  10. Olson 1996, p. 137

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]