บทเพลงของโมเสส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทเพลงของโมเสส (อังกฤษ: Song of Moses) เป็นชื่อที่บางครั้งใช้เรียกกวีนิพนธ์ซึ่งปรากฏในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ[1] ของคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งตามคัมภีร์ไบเบิลแล้วเป็นกวีนิพนธ์ที่ถูกกล่าวออกมาก่อนการเสียชีวิตโมเสสบนภูเขาเนโบ บางครั้งบทเพลงนี้ถูกเรียกในชื่อ เฉลยธรรมบัญญัติ 32 (อังกฤษ: Deuteronomy 32) แม้ว่าบทที่ 32 ของหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติมีอยู่ 9 วรรค (44–52) ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงก็ตาม[2]

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าบทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 10 ถึง 8 ก่อนคริสตกาล[3] แม้ว่ามีเสนอความเห็นว่าอาจเป็นยาวนานกว่านั้นเป็นศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล[2] ถึงใหม่กว่านั้นเป็นศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล[4]

เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล[แก้]

ข้อความของเฉลยธรรมบัญญัติ 32:1-4 ในคัมภีร์ฮีบรู ตามที่เขียนในม้วนคัมภีร์โทราห์ของศาสนายูดาห์

ในวรรคที่ 16-18 ของเฉลยธรรมบัญญัติ 31[5] พระยาห์เวห์ทรงพบกับโมเสสและโยชูวา (ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำถัดจากโมเสส) ที่ "เต็นท์นัดพบ" และตรัสกับพวกเขาว่าหลังจากการเสียชีวิตของโมเสส ชาวอิสราเอลจะละเมิดพันธสัญญาที่พระยาห์เวห์ทรงกระทำกับพวกเขาและไปบูชาพระของดินแดนที่เขากำลังจะยึดครอง พระยาห์เวห์ตรัสกับโมเสสให้เขียนบทเพลงและสอนแก่ชุมนุมชน เพื่อให้เป็น "พยานของเราปรักปรำคนอิสราเอล"[6] วรรคที่ 22 ระบุว่าโมเสสทำตามที่พระยาห์เวห์ทรงบัญชา[7] และในวรรคที่ 30 โมเสสจึง "กล่าวถ้อยคำในบทเพลงต่อไปนี้ให้เข้าหูชุมนุมชนอิสราเอลทั้งหมดจนจบ"[8]

บทเพลงเริ่มด้วย exordium หรือบทเริ่ม (วรรคที่ 1-3) ความว่าฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกถูกเรียกให้ฟังว่าบทเพลงจะกล่าวว่าอะไร ในวรรคที่ 4-6 ระบุสาระสำคัญของบทเพลงคือความยุติธรรมและเที่ยงตรงของพระยาห์เวห์ต่อผู้คนที่เสื่อมทรามและไม่ซื่อสัตย์ วรรคที่ 7-14 พรรณนาถึงกิจการของพระยาห์เวห์ซึ่งนำชาวอิสราเอลผ่านถิ่นทุรกันดารไปอย่างปลอดภัยและประทานแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์แก่ชาวอิสราเอล วรรคที่ 15-18 กล่าวถึงความไม่ซื่อสัตย์ของชาวอิสราเอลและหันไปบูชารูปเคารพ การละเมิดเช่นนี้ทำให้พระยาห์เวห์ทรงพิพากษา (วรรคที่ 19–27) ด้วยภัยพิบัติระดับชาติซึ่งเกือบทำให้สิ้นชาติ วรรคที่ 28–43 กล่าวถึงวิธีการที่พระยาห์เวห์ตั้งพระทัยที่จะตรัสกับชาวอิสราเอลเพื่อนำพวกเขาไปสู่จิตใจที่ดีขึ้นและเพื่อให้พวกเขามีชัยชนะเหนือศัตรู

ในม้วนคัมภีร์โทราห์ บทเพลงถูกเขียนด้วยการจัดวางแบบพิเศษคือเขียนในสองสดมภ์ที่ขนานกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. เฉลยธรรมบัญญัติ 32:1 -43
  2. 2.0 2.1 Paul Sanders (1996). Provenance of Deuteronomy Thirty-two. BRILL. p. 1. ISBN 90-04-10648-0.
  3. Jack R. Lundbom (1 January 2010). The Hebrew Prophets: An Introduction. Fortress Press. p. 47. ISBN 978-1-4514-1013-6.
  4. Gary Harlan Hall (2000). Deuteronomy. College Press. p. 466. ISBN 978-0-89900-879-0.
  5. เฉลยธรรมบัญญัติ 31:16 -18
  6. เฉลยธรรมบัญญัติ 31:19
  7. เฉลยธรรมบัญญัติ 31:22
  8. เฉลยธรรมบัญญัติ 31:30

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Mendenhall, George E. (1973). The Tenth Generation: The Origins of the Biblical Tradition. Baltimore: Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-1267-4.
  • Mendenhall, George E., Samuel's "Broken Rîb": Deuteronomy 32, 1975, Reprint from No Famine in the Land Studies in Honor of John L. McKenzie. Scholar's Press for The Institute for Antiquity and Christianity - Claremont
  •  บทความนี้นำข้อความมาจากสิ่งพิมพ์ที่ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติข้อผิดพลาด Lua: expandTemplate: template "cite Jewish Encyclopedia" does not exist
  • Jewish Encyclopedia bibliography:
    • Kamphausen, A., Das Lied Moses: Deut. 32, 1–43, 1862; Leipzig: Brockhaus
    • Klostermann, A., in Studien und Kritiken, 1871, pp. 249 et seq.; 1872, pp. 230 et seq., 450 et seq.;
    • Stade's Zeitschrift, 1885, pp. 297 et seq.;
    • Cornill, C. H., Einleitung in das Alte Testament, 1891, pp. 70 et seq.,
    • Driver, S. R., Deuteronomy, in International Critical Commentary, 1895, pp. 344 et seq.;
    • Steuernagel, Deuteronomium, in Nowack's Handkommentar, 1900, pp. 114 et seq.;
    • Bertholet, Deuteronomium, in K. H. C. 1899, pp. 94 et seq.;

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]