หนังสือเลวีนิติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสือเลวีนิติ (อังกฤษ: Book of Leviticus, /lɪˈvɪtɪkəs/, จากภาษากรีกโบราณ: Λευιτικόν, Leuïtikón; ฮีบรู: וַיִּקְרָא, Wayyiqrāʾ, 'และพระองค์ทรงเรียก'; ละติน: Liber Leviticus) เป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของคัมภีร์โทราห์ (เบญจบรรณ) และของพันธสัญญาเดิม มีอีกคำเรียกว่า หนังสือเล่มที่สามของโมเสส (Third Book of Moses)[1] สมมติฐานหลายข้อที่นำเสนอโดยนักวิชาการเกี่ยวกับต้นกำเนิดของหนังสือเลวีนิติเห็นพ้องต้องกันว่าหนังสือเลวีนิติได้รับการพัฒนามาเป็นเวลายาวนาน โดยมาถึงรูปแบบปัจจุบันในช่วงยุคเปอร์เซียระหว่าง 538 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล แม้ว่าจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็ตาม

บทส่วนใหญ่ของหนังสือเลวีนิติ (บทที่ 1–7, 11–27) ประกอบด้วยพระดำรัสของพระยาห์เวห์ต่อโมเสสซึ่งทรงตรัสให้โมเสสนำไปกล่าวซ้ำต่อชาวอิสราเอล เรื่องราวนี้เกิดขึ้นภายในเรื่องราวการอพยพของชาวอิสราเอลหลังการหนีจากอียิปต์และมาถึงภูเขาซีนาย (อพยพ 19:1) หนังสืออพยพเล่าเรื่องที่โมเสสนำชาวอิสราเอลในการสร้างพลับพลา (อพยพ 35-40) ตามรับสั่งของพระเจ้า (อพยพ 25-31) ในหนังสือเลวีนิติ พระเจ้าตรัสบอกกับชาวอิสราเอลและปุโรหิตอาโรนกับบุตรชายถึงวิธีการถวายเครื่องบูชาในพลับพลา และวิธีการปฏิบัติตนขณะตั้งค่ายโดยรอบพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของเต็นท์ เรื่องราวในหนังสือเลวีนิติเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งเดือนหรือหนึ่งเดือนครึ่งระหว่างที่สร้างพลับพลาจนเสร็จ (อพยพ 40:17) และชาวอิสราเอลเดินทางออกจากบริเวณภูเขาซีนาย (กันดารวิถี 1:1, 10:11)

ชื่อ[แก้]

4Q120 ต้นฉบับภาษากรีกของหนังสือเลวีนิติเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล

ชื่อเลวีนิติ (Leviticus) มาจากภาษาละติน Leviticus ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณ: Λευιτικόν[2] (Leuitikon) ซึ่งหมายถึง 'เผ่าเลวี' เผ่าปุโรหิตของชาวอิสราเอล วลีในภาษากรีกเป็นรูปที่แตกต่างจากในภาษาฮีบรูว่า torat kohanim[3] 'กฎหมายของปุโรหิต' จากการที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายหลายข้อที่เกี่ยวข้องกับปุโรหิต[4]

ในภาษาฮีบรูเรียกหนังสือเลวีนิติว่า Vayikra (ฮีบรู: וַיִּקְרָא) มาจากวลีเปิดของหนังสือว่า va-yikra "และพระองค์ [พระเจ้า] ทรงเรียก"[3]

โครงสร้าง[แก้]

โครงสร้างของเนื้อหาหนังสือเลวีนิติจากคำอธิบายต่าง ๆ มีความคล้ายกัน แม้ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เปรียบเทียบจาก Wenham, Hartley, Milgrom และ Watts[5][6][7][8]

  • กฏการบูชา (บทที่ 1:1–7:38)
    • ข้อปฏิบัติสำหรับฆราวาสในการถวายเครื่องบูชา (1:1–6:7)
      • ประเภทของเครื่องบูชา: เครื่องบูชาเผาทั้งตัว, ธัญบูชา, ศานติบูชา, เครื่องบูชาลบล้างบาป, เครื่องบูชาชดใช้บาป (บทที่ 1–5)
    • ข้อปฏิบัติสำหรับปุโรหิต (6:1–7:38)
      • เครื่องบูชาแบบต่าง ๆ เสริมด้วยธัญบูชาของปุโรหิต (6:1–7:36)
      • สรุป (7:37–38)
  • พิธีสถาปนาปุโรหิต (8:1–10:20)
  • มลทินและการชำระ (11:1–15:33)
    • เนื้อสัตว์ที่เป็นมลทิน (บทที่ 11)
    • เด็กแรกคลอดในฐานะที่มาของมลทิน (บทที่ 12)
    • โรคมลทิน (บทที่ 13)
    • การชำระโรค (บทที่ 14)
    • สิ่งที่ไหลออกจากร่างกายที่เป็นมลทิน (บทที่ 15)
  • วันลบมลทิน: การชำระพลับพลาจากผลของมลทินและบาป (บทที่ 16)
  • บัญญัติความศักดิ์สิทธิ์ในทางปฏิบัติ (ประมวลกฎหมายศักดิ์สิทธิ์, บทที่ 17–26)
    • การบูชาและอาหาร (บทที่ 17)
    • เพศสัมพันธ์ (บทที่ 18)
    • ความเป็นเพื่อนบ้าน (บทที่ 19)
    • อาชญากรรมร้ายแรง (บทที่ 20)
    • กฎสำหรับปุโรหิต (บทที่ 21)
    • กฏสำหรับการรับประทานของถวาย (บทที่ 22)
    • เทศกาล (บทที่ 23)
    • กฎสำหรับพลับพลา (บทที่ 24:1–9)
    • โทษของการเหยียดหยามพระนาม (บทที่ 24:10–23)
    • ปีสะบาโตและปีอิสรภาพ (บทที่ 25)
    • คำเตือนให้เคารพกฎ: คำอวยพรและคำแช่ง (บทที่ 26)
  • การไถ่ของถวาย (บทที่ 27)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Third Book of Moses, Called Leviticus". The Bible: Authorized King James Version. Oxford Biblical Studies Online, Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
  2.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Leviticus" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 16 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 515.
  3. 3.0 3.1 Berlin & Brettler 2014, p. 193.
  4. Hezekiah ben Manoah (Chizkuni), closing notes to Leviticus
  5. Wenham, pp. 3–4
  6. Hartley, pp. vii–viii
  7. Milgrom (1991), pp. v–x
  8. Watts (2013), pp. 12–20

บรรณานุกรม[แก้]

คำแปลของหนังสือเลวีนิติ[แก้]

คำอธิบายของหนังสือเลวีนิติ[แก้]

ทั่วไป[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หนังสือเลวีนิติแบบออนไลน์:

บทความที่เกี่ยวข้อง:

การแนะนำขนาดสั้น

ก่อนหน้า
หนังสืออพยพ
หนังสือเลวีนิติ
คัมภีร์ฮีบรู /
พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์
ถัดไป
หนังสือกันดารวิถี