ข้ามไปเนื้อหา

ฮานุกกะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮานุกกะห์
ชานุกะห์ โดย รอเบิร์ท กัทมานน์ (1941) แสดงภาพชาวยิวกำลังจุดเมโนราห์
ชื่อทางการฮีบรู: חֲנֻכָּה หรือ חֲנוּכָּה
จัดขึ้นโดยชาวยิว
ประเภทยิว
ความสำคัญชาวมักกาบีปฏิวัติต่ออันตีโอคัสที่ห้า เอพิฟานีสสำเร็จ ตามในทัลมุดระบุว่า "วิหาร" ได้รับการชำระล้าง และเทียนในเมโนราห์จุดสว่างขึ้นเป็นเวลาแปดวันด้วยปาฏิหารย์ แม้จะมีน้ำมันพอสำหรับจุดไฟแค่วันเดียว
การเฉลิมฉลองจุดเทียน, ขับร้องดนตรีพิเศษ เช่น Ma'oz Tzur, สวดท่องบทภาวนาฮัลเลล, ทานอาหารทอด เช่น ลักเต กับ ซัฟกานียอต และอาหารพวกนม, เล่น เดรเดล, ให้เกลต์
เริ่ม25 กีสเลฟ
สิ้นสุด2 หรือ 3 เตเวท
วันที่25 Kislev, 26 Kislev, 27 Kislev, 28 Kislev, 29 Kislev, 30 Kislev, 1 Tevet, 2 Tevet, 3 Tevet
วันที่ในปี 2023เวลาอัสดง, 7 ธันวาคม –
เวลาสนธยา, 15 ธันวาคม[1]
วันที่ในปี 2024เวลาอัสดง, 25 ธันวาคม –
เวลาสนธยา, 2 มกราคม[1]
วันที่ในปี 2025เวลาอัสดง, 14 ธันวาคม –
เวลาสนธยา, 22 ธันวาคม[1]
วันที่ในปี 2026เวลาอัสดง, 4 ธันวาคม –
เวลาสนธยา, 12 ธันวาคม[1]
ส่วนเกี่ยวข้องปูรีม (รับไบนิก)

ฮานุกกะห์ (อังกฤษ: Hanukkah[a]; /ˈhɑːnəkə/; ฮีบรู: חֲנֻכָּה, ใหม่: Ḥanuka, ไทบีเรียน: Ḥanukā ฟัง) หรือเรียกว่า เทศกาลแห่งแสง (ฮีบรู: חַג הַאוּרִים, Ḥag HaUrim) เป็นเทศกาลยิว เฉลิมฉลองการกู้คืนนครเยรูซาเลม ซึ่งตามมาด้วยการอุทิศวิหารหลังที่สองอีกครั้ง ในช่วงต้นของกบฏมัคคาบีต่อจักรวรรดิซิลูซิดในราว 200 ปีก่อนคริสตกาล[3][4]

ฮานุกกะห์เฉลิมฉลองเป็นเวลาแปดวันแปดคืน เริ่มต้นในวันที่ 25 ของเดือนคีสเลฟ ตามปฏิทินฮีบรู ซึ่งอาจตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายนถึงปลายเดือนธันวาคมตามปฏิทินเกรกอเรียน การเฉลิมฉลองประกอบด้วยการจุดเทียนบนเชิงเทียนเก้าก้านที่เรียกว่าเมโนราห์หรือฮานุกิอะห์ หนึ่งก้านของเชิงเทียนมักอยู่สูงกว่าที่เหลือหรือต่ำกว่าที่เหลือเอาไว้ใช้สำหรับจุดเทียนที่เหลืออีกแปดเล่ม เทียนพิเศษเล่มนี้จะเรียดว่า ชัมมัช (ฮีบรู: שַׁמָּשׁ; shammash, "ผู้ดูแล") แต่ละคืนจะจุดเทียนเพิ่มหนึ่งเล่มด้วยไฟจาก ชัมมัช จนครบทั้งแปดเล่มในคืนสุดท้ายของฮานุกกะห์[5] กิจกรรมอื่น ๆ ในฮานุกกะห์ เช่น การขับร้องดนตรีฮานุกกะห์, การเล่นเดรย์เดล และการทานอาหารทอดในน้ำมัน เช่น ลักเต และ ซัฟกานียอต และอาหารพวกนม นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970s เป็นต้นมา ขบวนการชาบาดฮาซีดิกได้ริเริ่มการจุดเทียนบนเมโนราห์ในที่สาธารณะในหลายประเทศทั่วโลก[6]

โดยดั้งเดิมแล้ว ฮานุกกะห์เป็นเทศกาลฉลอง "อย่างซูกโกต" และไม่ได้มีข้อบังคับใด ๆ ฉะนั้นจึงถือเป็นเทศกาลเล็ก ๆ ในแง่ของศาสนา แต่กระนั้น ฮานุกกะห์ก็กลายมามีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมในอเมริกาเหนือและที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในบรรดาชาวยิวที่ไม่เคร่งศาสนานัก เนื่องมาจากว่าการฉลองฮานุกกะห์มักอยู่ในช่วงเดียวกันกับคริสต์มาสในช่วงวันหยุดยาวปลายปี[7]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Usually spelled חֲנוּכָּה ออกเสียงว่า [χanuˈka] ในฮีบรูใหม่, [ˈχanukə] หรือ [ˈχanikə] ในยิดดิช; หรือทับศัพท์เป็น ชานุกะห์ (Chanukah; และทับศัพท์อื่น ๆ เช่น Ḥanukah, Chanuka, Chanukkah, Hanuka)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Dates for ฮานุกกะห์". Hebcal.com by Danny Sadinoff and Michael J. Radwin (CC-BY-3.0). สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
  2. Miller, Jason (21 December 2011). "How Do You Spell Hanukkah?". The New York Jewish Week. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-30.
  3. "What Is Hanukkah?". Chabad-Lubavitch Media Center. In the second century BCE, the Holy Land was ruled by the Seleucids (Syrian-Greeks), who tried to force the people of Israel to accept Greek culture and beliefs instead of mitzvah observance and belief in G‑d. Against all odds, a small band of faithful but poorly armed Jews, led by Judah the Maccabee, defeated one of the mightiest armies on earth, drove the Greeks from the land, reclaimed the Holy Temple in Jerusalem and rededicated it to the service of G‑d. ... To commemorate and publicize these miracles, the sages instituted the festival of Chanukah.
  4. Bible_(King_James)/2_Maccabees#Chapter_10  – โดยทาง Wikisource.
  5. "How to Light the Menorah". chabad.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  6. "JTA NEWS". Joi.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2007.
  7. Moyer, Justin (22 December 2011). "The Christmas effect: How Hanukkah became a big holiday". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 30 December 2019.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Ashton, Dianne (2013). Hanukkah in America: A History. New York: New York University Press. ISBN 978-0-8147-0739-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Prone to spam