การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำแห่งความขมขื่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในคัมภีร์ฮีบรู การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำแห่งความขมขื่น (อังกฤษ: ordeal of the bitter water) เป็นการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในศาสนายูดาห์ที่ดำเนินการโดยปุโรหิตในพลับพลากระทำต่อภรรยาที่สามีสงสัยว่านอกใจแต่ฝ่ายสามีไม่มีพยานยืนยัน การพิสูจน์ความบริสุทธิ์นี้มีการบรรยายในหนังสือกันดารวิถี (กันดารวิถี 5:11 -31)

ศัพท์[แก้]

น้ำแห่งความขมขื่นในภาษาฮีบรูเรียกว่า "מֵי הַמָּרִים" mei ha-marim ในศาสนายูดาห์รับบี หญิงที่เข้ารับการทำพิธีนี้เรียกว่า sotah (ฮีบรู: שוטה[1] / סוטה, "ผู้หลงผิด") คำว่า sotah นี้ไม่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรู แต่เป็นคำภาษาฮีบรูมิซนะห์ที่อิงจากวรรคที่ว่า "ถ้าภรรยาของชายคนไหนหลงผิด" (กริยา: שטה satah) ใน กันดารวิถี 5:12 [2][3]

คัมภีร์ฮีบรู[แก้]

ความเกี่ยวกับการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำแห่งความขมขื่นอยู่ในหนังสือกันดารวิถี:

จากนั้นปุโรหิตจะให้นางสาบานและพูดกับนางว่า 'ถ้าไม่มีชายใดมานอนกับเจ้า หรือถ้าเจ้าไม่ได้หลงผิดไปมีมลทิน เมื่อเจ้ายังอยู่กินกับสามี ก็ให้เจ้าพ้นจากน้ำแห่งความขมขื่นที่ทำให้เกิดการสาปแช่งนี้ แต่ถ้าเจ้าหลงผิดในขณะที่เจ้าอยู่กินกับสามีแล้วมีมลทิน โดยชายอื่นที่ไม่ใช่สามีได้นอนกับเจ้า (และให้ปุโรหิตบอกหญิงนั้นกล่าวคำสาบานของการสาปแช่ง ทั้งบอกกับหญิงนั้นว่า) ขอพระยาห์เวห์ทรงทำให้เจ้าเป็นคำแช่ง และคำสาปท่ามกลางชนชาติของเจ้า โดยการที่พระองค์ทรงทำให้มดลูกของเจ้าลีบ และท้องเจ้าป่อง และน้ำที่ทำให้เกิดการสาปแช่งนี้จะเข้าในตัวเจ้า แล้วทำให้ท้องเจ้าป่อง และมดลูกของเจ้าลีบไป' และหญิงนั้นจะต้องพูดว่า 'อาเมน อาเมน' แล้วปุโรหิตจะเขียนคำสาปนี้ลงในหนังสือม้วน แล้วลบข้อความนั้นออกในน้ำแห่งความขมขื่น จากนั้นให้หญิงนั้นดื่มน้ำแห่งความขมขื่นที่ทำให้เกิดการสาปแช่ง แล้วน้ำที่ทำให้เกิดการสาปแช่งนั้นจะเข้าไปในตัวนางและทำให้นางเจ็บปวดมาก

อ้างอิง[แก้]

  1. Spelled "שוטה" in Maimonides' manuscript; this spelling recurs in Rabbi Yosef Qafih's editions of Maimonides' works.
  2. Grushcow, Lisa J. (2006). Writing the Wayward Wife: Rabbinic Interpretations of Sotah. Brill. p. 1. ISBN 90-04-14628-8. The name sotah is derived from Num. 5:12 based on the word שטה to stray.
  3. The Holy Scriptures: Proverbs, with commentary - Julius Hillel Greenstone, Jewish Publication Society of America - 1950 - Page 42 "10.6; 21.10; Num. 5.18). turn] The word is used in connection with the woman suspected of infidelity (Num. 5), whence the technical term sotah is derived, the name given to the treatise of the Mishnah and the Talmud dealing with this subject."

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Amzallag, Nissim; Yona, Shamir (2017), "The Kenite Origin of the Sotah Prescription (Numbers 5.11–31)", Journal for the Study of the Old Testament, 41 (4): 383–412, doi:10.1177/0309089216661176, S2CID 171723202.
  • Daniel Friedmann: From the Trial of Adam and Eve to the Judgments of Solomon and Daniel
  • Luzia Sutter Rehmann: "The Doorway into Freedom - The Case of the 'Suspected Wife' in Romans 7.1-6" in Journal for the Study of the New Testament (JSNT) no 79, 91-104.