การคืนพระชนม์ของพระเยซู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การคืนพระชนม์ของพระคริสต์ (การคืนพระชนม์ฉบับของคินแนร์ด) โดยราฟาเอล ปี 1502

การคืนพระชนม์ของพระเยซู[1] (อังกฤษ: Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น NIV, มาระโก NIV, มาระโก NIV). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่น ๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” (1 โครินธ์ 15:6]) ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์

ชนกลุ่มอื่น ๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม่[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 974-9588-33-9. หน้า 422.
  2. Lorenzen, Thorwald. Resurrection, Discipleship, Justice: Affirming the Resurrection Jesus Christ Today. Macon, Georgia: Smyth & Helwys, 2003, p. 13.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]