มานา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเก็บมานา โดย James Tissot

ในคัมภีร์ไบเบิล มานา (อังกฤษ: manna บางครั้งสะกดแบบโบราณว่า mana; ฮีบรู: מָן, อักษรโรมัน: mān, กรีก: μάννα; อาหรับ: اَلْمَنُّ) เป็นอาหารที่พระยาห์เวห์ประทานให้วงศ์วานอิสราเอลระหว่างการเดินทางในถิ่นทุรกันดารในช่วง 40 ปีหลังการอพยพและก่อนการยึดครองคานาอัน ในคัมภีร์อัลกุรอานยังมีการกล่าวถึงมานาสามครั้ง[1]

การบรรยาย[แก้]

ในคัมภีร์ฮีบรู[แก้]

ในคัมภีร์ฮีบรู มีการบรรยายถึงมานา 2 ครั้ง ครั้งแรกในอพยพ 16:1–36 ซึ่งการเป็นบรรยายแบบเต็มเกี่ยวกับมานา และอีกครั้งในกันดารวิถี 11:1–9 ในฐานะส่วนหนึ่งของการบรรยายต่างหาก ในคำบรรยายในหนังสืออพยพระบุว่ามานาเป็น "เกล็ดบางละเอียด" เหมือน้ำค้างแข็งอยู่บนพื้นดิน[2] ในหนังสือกันดารวิถีบรรยายว่ามานาตกลงมากับน้ำค้างในเวลากลางคืน[3] หนังสืออพยพเสริมว่าต้องเก็บมานาก่อนที่จะละลายไปเพราะความร้อนของแดด[4] มานามีขนาดเท่าเมล็ดผักชีแต่มีสีขาว[5]

หนังสือกันดารวิถีระบุว่ามานามีสีเหมือนยางไม้ตะคร้ำ (bdellium)[6] และเสริมว่าชาวอิสราเอลโม่หรือตำมานาและใส่หม้อต้มทำขนม ให้รสชาติเหมือนขนมคลุกเคล้าด้วยน้ำมัน[7] หนังสืออพยพระบุว่ามานาดิบรสชาติเหมือนขนมแผ่นผสมน้ำผึ้ง[5] ชาวอิสราเอลได้รับคำแนะนำให้รับประทานมานาเฉพาะที่เก็บมาได้วันต่อวัน มานาที่เก็บไว้ข้ามคืนจะ "มีหนอนขึ้น และบูดเหม็น"[8] ยกเว้นการเก็บในวันก่อนวันสะบาโต ซึ่งให้เก็บมานาในปริมาณสองเท่าของปริมาณที่เก็บในวันอื่น มานาที่เก็บในวันนี้จะไม่เน่าเสียเมื่อเก็บไว้ข้ามคืน อพยพ 16:23–24 บรรยายว่า:

โมเสสบอกพวกเขาว่า "พระยาห์เวห์ทรงบัญชาว่า 'พรุ่งนี้เป็นวันหยุดพัก เป็นสะบาโต วันบริสุทธิ์แด่พระยาห์เวห์ จะปิ้งอะไรก็ให้ปิ้ง จะต้มอะไรก็ให้ต้มเสีย และส่วนที่เหลือทั้งหมด จงเก็บไว้จนถึงวันรุ่งขึ้น' " เมื่อพวกเขาเก็บไว้จนถึงวันรุ่งขึ้นตามที่โมเสสสั่ง อาหารนั้นไม่บูดเหม็นและไม่มีหนอนในนั้น[9]

ในคัมภัร์อัลกุราน[แก้]

คำว่า มานา ปรากฏสามครั้งในคัมภัร์อัลกุรอาน ที่ 2:57, 7:160, และ 20:80[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rippin, Andrew (24 April 2017). Wiley Blackwell Companion to the Qur'an. John Wiley & Sons. p. 308. ISBN 978-1-118-96480-4. สืบค้นเมื่อ 6 April 2017.
  2. อพยพ 16:14
  3. กันดารวิถี 11:9
  4. อพยพ 16:21
  5. 5.0 5.1 อพยพ 16:31
  6. กันดารวิถี 11:7 อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์เช่น จอห์น กิล (John Gill) ตีความว่าคำภาษาฮีบรูว่า bdeloah ซึ่งมักจะแปลเป็นคำว่า "bdellium" (ยางไม้ตะคร้ำ) นั้น แท้จริงแล้วเป็นการอ้างถึงหินมีค่าสีขาว (John Gill, Commentary on Numbers 11:7).
  7. กันดารวิถี 11:8
  8. อพยพ 16:20
  9. อพยพ 16:23 -24 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Arthur, James (2000). Mushrooms and Mankind: The Impact of Mushrooms on Human Consciousness and Religion. Escondido, CA: Book Tree. ISBN 1-58509-151-0.
  • Heinrich, Clark (2002). Magic Mushrooms in Religion and Alchemy. Rochester, VT: Park Street Press. ISBN 0-89281-997-9.
  • Merkur, Dan (2000). The Mystery of Manna: The Psychedelic Sacrament of the Bible. Rochester, VT: Park Street Press. ISBN 0-89281-772-0.
  • McKenna, Terence (1993). Food of the Gods: The Search for the Original Tree of Knowledge, A Radical History of Plants, Drugs, and Human Evolution. New York, NY: Bantam Books. ISBN 0-553-37130-4.
  • William R. Corliss: Tornados, Dark Days, Anomalous Precipitation, and related weather phenomena (The Sourcebook Project, 1983), pages 52 to 54, GWF5: The Fall of Manna.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มานา