อาซียะฮ์ บินต์ มุซาฮิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
آسِيَة بِنْت مُزَاحِم

อาซียะฮ์ บินต์ มุซาฮิม
ชื่อ อาซียะฮ์ บินต์ มุซาฮิม ในการประดิษฐ์ตัวอักษรอิสลาม
มีชื่อเสียงจากมเหสีของฟาโรห์ และมารดาบุญธรรมของนบีมูซา (โมเสส)
คู่สมรสฟาโรห์
บุตรมูซา (บุตรบุญธรรม)
บิดามารดา
  • มุซาฮิม (บิดา)
อาซียะฮ์ (ภาพที่มีปอยผมสีดำยาว) และคนรับใช้ของนาง อาบน้ำเสร็จพบทารกมูซา ในแม่น้ำไนล์ เสื้อผ้าของพวกนางแขวนอยู่บนต้นไม้ คลื่นและสันเขาแม่น้ำทำแบบจีน ภาพประกอบจากญามิอ์ อัตเตาวะรีคของชาวเปอร์เซีย

อาซียะฮ์ บินต์ มูซาฮิม (อาหรับ: آسِيَة بِنْت مُزَاحِم, อักษรโรมัน: Āsiya bint Muzāḥim) ตามความเชื่อในอัลกุรอาน และอิสลาม นางเป็นมเหสีของฟาโรห์แห่งการอพยพ และมารดาบุญธรรมของนบีมูซา ถูกระบุว่าเป็นบิทิยาห์ ในความเชื่อของชาวยิว [1] นางได้รับการเคารพจากชาวมุสลิมในฐานะ 1 ใน 4 สตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และตามคำบอกเล่าของท่านนบีในเศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี นางเป็นสตรีคนที่ 2 [2] [3]

เชื่อกันว่านางยอมรับในเตาฮีด อย่างลับ ๆ หลังจากได้เห็นมุอ์ญิซาตของนบีมูซา ความเชื่อถือได้ว่า อาซียะฮ์ ศรัทธา และอิบาดะฮ์ในอัลลอฮ์ ในที่ลับและดุอาอ์โดยแอบ เพราะนางกลัวสามีของนาง นางรับเลี้ยงนบีมูซาและเกลี้ยกล่อมสามีของนางไม่ให้ฆ่าท่าน นางเสียชีวิตในขณะที่ถูกทรมานโดยสามีของนาง ผู้ซึ่งค้นพบความเชื่อในอัลลอฮ์ของนางและตอบโต้การกบฏของนางต่อการปกครองแบบเผด็จการของเขา [4]

เรื่องเล่า[แก้]

การแต่งงานของอาซียะฮ์กับฟาโรห์ถูกจัดการ นางถ่อมตัวและยอมรับความเชื่อที่นบีมูซาและนบีฮารูนที่พวกท่านกำลังสั่งสอนไม่เหมือนกับสามีของนาง แม้ว่านางจะมีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่นางก็ไม่เย่อหยิ่งเหมือนฟาโรห์ นางตระหนักว่าศรัทธาสำคัญกว่ามาก และด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์จึงทรงยกย่องสตรีในรุ่นของนาง

อาซียะฮ์และสาวใช้ของนางพบลังที่ลอยอยู่ในแม่น้ำไนล์ อาซียะฮ์สั่งให้ลากลังขึ้นฝั่ง สาวใช้คิดว่ามีสมบัติอยู่ข้างใน แต่กลับพบเด็กทารกมูซา อาซียะฮ์รู้สึกถึงความรักของแม่ที่มีต่อท่านในทันที นางบอกฟาโรห์เกี่ยวกับทารก เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกอธิบายไว้ในอัลกุรอาน

และภริยาของฟิรเอาน์กล่าวว่า “น่าชื่นชมยินดีแก่ดิฉันและแก่ท่าน อย่าฆ่าเขาเลย บางทีเขาจะเป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราจะถือเขาเป็นลูก” และพวกเขาหารู้สึกตัวไม่

— กุรอาน: ซูเราะฮ์อัลเกาะศ็อศ, อายะฮ์ที่ 9[5]

อาซียะฮ์เสนอให้มารดาของนบีมูซา อาศัยอยู่ในบ้านของพวกเขาในฐานะ แม่นมในบ้านของเขา และจ่ายค่าบริการต่าง ๆ ให้นาง โดยไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ [6] [7]

เมื่อนางเห็นการตายของหญิงผู้ศรัทธาภายใต้การทรมานของสามีของนาง อาซียะฮ์ได้ประกาศความเชื่อของนางต่อหน้าฟาโรห์ เขาพยายามทำให้นางหันเหจากความเชื่อ แต่อาซียะฮ์ปฏิเสธที่จะการละทิ้งศาสนาอิสลามและคำสอนของนบีมูซา ตามคำสั่งของฟาโรห์ นางถูกทรมานจนตาย [8]

ความเคารพ[แก้]

อาซียะฮ์เป็นหนึ่งในสี่สตรีที่ได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดตลอดกาล และได้รับเกียรติอย่างสูงจากชาวมุสลิม [9] ว่ากันว่า อาซียะฮ์เป็นผู้ศรัทธาที่จริงใจและนางยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ อย่างเต็มที่แม้ว่าจะเป็นภรรยาของฟาโรห์ก็ตาม ตามหะดีษ นางจะเป็นหนึ่งในผู้หญิงกลุ่มแรกที่เข้าสวรรค์ เพราะนางยอมรับเตาฮีดของนบีมูซาเหนือความเชื่อของฟาโรห์ อัลกุรอานกล่าวถึง อาซียะฮ์ว่าเป็นตัวอย่างให้กับชาวมุสลิมทุกคน: [7] [10] [11] ดุอาอ์ของนางถูกกล่าวถึงในคัมภีร์กุรอาน

และอัลลอฮ์ทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ศรัทธาถึงภริยาของฟาโรห์เมื่อนางได้กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดสร้างบ้านหลังหนึ่งให้แก่ข้าพระองค์ ณ ที่พระองค์ท่านในสวนสวรรค์และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากฟาโรห์ และการกระทำของเขา และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากหมู่ชนผู้อธรรม

— กุรอาน: ซูเราะฮ์ อัตตะห์รีม, อายะฮ์ที่ 11[12]

รายงานจากอะบูมูซา อัลอัชอารีย์ กล่าวว่า: นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า:

มีหลายคนในหมู่บุรุษที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ แต่ไม่มีผู้หญิงที่สมบูรณ์แบบยกเว้น มัรยัม บุตรสาวของอิมรอน อาซียะฮ์ มเหสีของฟาโรห์ และความเป็นเลิศของอาอิชะฮ์ เมื่อเทียบกับผู้หญิงแล้ว ษะรีดเหนือกว่าอาหารอื่น ๆ ทั้งหมด

— เศาะฮีฮ์ มุสลิม หะดีษที่ 2431[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Daughter of Pharaoh: Midrash and Aggadah". Jewish Women's Archive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-19. The midrash calls the daughter of Pharaoh “Bithiah, ” identifying her with the woman mentioned in I Chron 4:18: “And his Judahite wife bore Jered father of Gedor, Heber father of Soco, and Jekuthiel father of Zanoah.
  2. 2.0 2.1 Muhmmad al-Bukhari. Sahih Al-Bukhari Translated into English Prose by Muhammad Muhsin Khan.Hadith 7.329
  3. Encyclopaedia of the Qur’an. Leidan: Brill, 2001. Print.
  4. Stowasser, B.F. (1994). Women in the qur’an, traditions, and interpretation. New York: Oxford University Press. 57
  5. อัลกุรอาน 28:9: และภริยาของฟิรเอานกล่าวว่า “ (เขาจะเป็นที่) น่าชื่นชมยินดีแก่ดิฉันและแก่ท่าน อย่าฆ่าเขาเลย บางทีเขาจะเป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราจะถือเขาเป็นลูก” และพวกเขาหารู้สึกตัวไม่
  6. Ṭabarī; Brinner, William M. (1991). The children of Israel. SUNY Press. ISBN 0-7914-0688-1.
  7. 7.0 7.1 Wheeler, Brannon M. (2002). Prophets in the Quran: an introduction to the Quran and Muslim exegesis. Continuum International Publishing Group. ISBN 0-8264-4957-3.
  8. Renard Although the Quran says that she prayed to God to save her from Pharaoh and some Muslim traditions even say that she was migrated when Moses was delivering the Israelites., John (1998). Windows on the house of Islam: Muslim sources on spirituality and religious life. University of California Press: Continuum International Publishing Group. ISBN 0-520-21086-7.
  9. "4 Women of Paradise". www.muslim.sg. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
  10. Renard, John (1998). Windows on the house of Islam: Muslim sources on spirituality and religious life. University of California Press. ISBN 0-520-21086-7.
  11. Turfe, Tallal Alie (1996). Patience in Islam: sabr. TTQ, INC. ISBN 1-879402-32-7.
  12. อัลกุรอาน 66:11: และอัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ศรัทธาถึงภริยาของฟิรเอานฺเมื่อนางได้กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดสร้างบ้านหลังหนึ่งให้แก่ข้าพระองค์ ณ ที่พระองค์ท่านในสวนสวรรค์และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากฟิรเอานฺ และการกระทำของเขา และทรงโปรดช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากหมู่ชนผู้อธรรม