องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ร.ส.พ.)
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496
ยุบเลิก1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (53 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ต้นสังกัดหน่วยงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ หรือ ร.ส.พ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในอดีตของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการขนส่งสินค้า ให้บริการแก่หน่วยงานราชการ และรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ทั่วประเทศแก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะที่ส่งทางไปรษณีย์ไม่ได้

ประวัติ[แก้]

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[1] มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร และมีสำนักงานสาขาทั่วประเทศ มีภารกิจหลักในการขนส่งสินค้าให้กับหน่วยราชการ โดยเฉพาะในการขนส่งบางประเภท ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง มีข้อบังคับกำหนดว่า การขนส่งนั้นต้องดำเนินการโดยองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์เท่านั้น ได้แก่

การยุบเลิก ร.ส.พ.[แก้]

ในช่วงต้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงการบริหารงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ร.ส.พ. เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจโลจิสติกส์ มีการเสนอให้ ร.ส.พ. ย้ายสำนักงานไปอยู่ในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อมานายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ให้ยุบเลิก ร.ส.พ. โดยให้เหตุผลว่ามีปัญหาขาดสภาพคล่อง และมีหนี้สินสะสมกว่า 1,800 ล้านบาท และไม่มีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจขนส่งของเอกชน[2][3] และได้มีพระราชกฤษฎีกายุบเลิกฯ เป็นผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549[4] รวมระยะที่องค์การฯ ดำเนินการมา 53 ปี

ภายหลังการยุบเลิก ร.ส.พ. ได้มีการเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนเข้ามาทำหน้าที่ขนส่งสินค้าแทน[5] โดยการกล่าวหาว่า การยุบเลิก ร.ส.พ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจขนส่งที่สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ[6] สำหรับที่ดินใจกลางเมืองบริเวณถนนรางน้ำที่องค์การ ร.ส.พ. ย้ายออกไป ได้เปิดให้บริษัทคิง พาวเวอร์ จำกัด เช่าที่ดินสร้างเป็นศูนย์การค้าคิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์

รายชื่อประธานกรรมการ[แก้]

  1. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (พ.ศ. 2496-2499)
  2. พลเอก หลวงสถิตยุทธการ (สถิต สถิตยุทธการ) (พ.ศ. 2499-2504)
  3. พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (พ.ศ. 2504-2508)
  4. พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) (พ.ศ. 2508-2513)
  5. หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) (พ.ศ. 2513-2518)
  6. นาวาเอก เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ (พ.ศ. 2518-2521)
  7. นายบุญซ้อน บุญศุขะ (พ.ศ. 2521-2524)
  8. นายสุนธร คงศักดิ์ (พ.ศ. 2524-2527)
  9. นาวาตรี ทวี มนต์ไตรเวทย์ (พ.ศ. 2527-2530)
  10. พลเอก ปิ่น ธรรมศรี (พ.ศ. 2530-2533)
  11. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ (พ.ศ. 2533-2536)
  12. พลเรือเอก ประเจตน์ ศิริเดช (พ.ศ. 2536-2539)
  13. พลอากาศเอก สนั่น ทั่วทิพย์ (พ.ศ. 2539-2543)
  14. พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ (พ.ศ. 2543-2545)
  15. พลเรือเอก สามภพ อัมระปาล (พ.ศ. 2545-2547)
  16. นายศรีสุข จันทรางศุ (พ.ศ. 2547-2549)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  3. http://www.lawyerthai.com/news/view.php?topic=1189 คัดลอกมาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
  4. พระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2549
  5. http://www.learning.pyo.nu.ac.th/art_pol/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=27[ลิงก์เสีย]
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]