รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
สวีเดน: Nobelpriset i fysiologi eller medicin
รางวัลสำหรับการค้นพบทางสรีรวิทยาหรือการแพทย์ที่นำไปสู่ประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
ที่ตั้งสต็อกโฮล์ม
ประเทศประเทศสวีเดน Edit this on Wikidata
จัดโดยสมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกา
รางวัล11 ล้านครูนาสวีเดน (2023)[1]
รางวัลแรก1901
ผู้รับรางวัลกอตอลิน กอริโก และดรูว์ ไวส์แมน (2023)
เว็บไซต์nobelprize.org/prizes/medicine

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (สวีเดน: Nobelpriset i fysiologi eller medicin; อังกฤษ: Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี ค.ศ. 1895 โดยอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นไดนาไมต์ ในพินัยกรรมของเขา โนเบลมีความสนใจส่วนตัวในด้านสรีรวิทยาเชิงทดลองและอยากให้มีการจัดตั้งรางวัลสำหรับกระบวนการตลอดทั้งการค้นพบทางวิทยาศาสตร์จากห้องทดลอง รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์จะคัดเลือกโดยสมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกา และมอบให้แก่ผู้รับในพิธีประจำปีในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเสียชีวิตของโนเบล ร่วมกับประกาศนียบัตรชั้นสูงและประกาศนียบัตรแก่รางวัลที่เป็นเงิน ด้านหน้าของเหรียญเป็นรูปหน้าด้านข้างของอัลเฟรด โนเบล เช่นเดียวกับเหรียญที่ให้ในสาขาฟิสิกส์ เคมี และสาขาวรรณกรรม หากแต่ด้านหลังของเหรียญนี้เป็นเอกลักษณ์

จนถึงปี ค.ศ. 2023 มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์แล้วทั้งสิ้น 114 ครั้ง โดยมีจำนวนผู้รับรางวัล 227 คน แบ่งเป็นชาย 214 คน และหญิง 13 คน

รายนามผู้ได้รับรางวัล[แก้]

พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1901–1925)[แก้]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2444/1901 เอมีล อาด็อล์ฟ ฟ็อน เบริง
(Emil Adolf von Behring)
 เยอรมนี "สำหรับงานของท่านในเรื่องการรักษาด้วยซีรัม (serum therapy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันโรคคอตีบ ซึ่งเป็นการเปิดทางใหม่ไปสู่ขอบเขตความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเป็นอาวุธของแพทย์ในการต่อสู้กับความเจ็บป่วยและความตาย"[2]
2445/1902 โรนัลด์ รอสส์
(Ronald Ross)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับงานของท่านในด้านมาลาเรีย ซึ่งท่านได้แสดงถึงวิธีการเข้าสู่ร่างกายสิ่งมีชีวิต และเป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับโรคนี้ และวิธีการต่อสู่กับมัน"[3]
2446/1903 นิลส์ รือแปร์ ฟินเซิน
(Niels Ryberg Finsen)
 เดนมาร์ก "ให้ไว้เพื่อความระลึกถึงการอุทิศตนของท่านในวิธีการรักษาโรค โดยเฉพาะโรค lupus vulgaris (การแสดงออกของการติดเชื้อวัณโรคที่ผิวหนัง) โดยการใช้รังสีแสงเข้มข้น (concentrated light radiation) อันเป็นการเปิดทางใหม่ในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์"[4]
2447/1904 อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ
(Ivan Petrovich Pavlov)
 รัสเซีย "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานของท่านในด้านสรีรวิทยาของการย่อยอาหาร ซึ่งทำให้ความรู้ในแง่มุมที่สำคัญของวิชานี้ได้เปลี่ยนแปลงและกว้างขวางขึ้น"[5]
2448/1905 โรแบร์ท ค็อค
(Robert Koch)
 เยอรมนี "สำหรับการตรวจสอบและค้นคว้าวัณโรค"[6]
2449/1906 กามิลโล กอลจี
(Camillo Golgi)
 อิตาลี "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานของท่านในด้านโครงสร้างของระบบประสาท"[7]
ซานเตียโก รามอน อี กาฆัล
(Santiago Ramón y Cajal)
 สเปน
2450/1907 ชาร์ล หลุยส์ อาลฟงส์ ลาฟว์ร็อง
(Charles Louis Alphonse Laveran)
 ฝรั่งเศส "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานบทบาทของโพรโทซัวที่ทำให้เกิดโรค"[8]
2451/1908 อีลี เมตช์นิคอฟ
(Élie Metchnikoff)
 รัสเซีย "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานของท่านในด้านภูมิคุ้มกัน"[9]
เพาล์ แอร์ลิช
(Paul Ehrlich)
 เยอรมนี
2452/1909 เอมีล เทโอดอร์ ค็อคเคอร์
(Emil Theodor Kocher)
 สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับงานของท่านในด้านสรีรวิทยา พยาธิวิทยา และศัลยศาสตร์ของต่อมไทรอยด์"[10]
2453/1910 อัลเบร็ชท์ ค็อสเซิล
(Albrecht Kossel)
 เยอรมนี "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงการอุทิศตนเพื่อความรู้ในด้านเคมีของเซลล์ ผ่านทางงานของท่านในด้านโปรตีน รวมถึงกรดนิวคลีอิก"[11]
2454/1911 อัลล์วาร์ กูลล์สตรานด์
(Allvar Gullstrand)
 สวีเดน "สำหรับงานของท่านในด้านการหักเหของแสงในตา"[12]
2455/1912 อาแล็กซี กาแรล
(Alexis Carrel)
 ฝรั่งเศส "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานของท่านในด้านการเย็บหลอดเลือดและการปลูกถ่าย (transplantation) หลอดเลือดและอวัยวะ"[13]
2456/1913 ชาร์ล รอแบร์ รีแช
(Charles Robert Richet)
 ฝรั่งเศส "ให้ไว้เพื่อระลึกถึงงานของท่านในเรื่องแอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) "[14]
2457/1914 โรแบร์ต บาราญ
(Robert Bárány)
 ออสเตรีย "สำหรับงานของท่านในด้านสรีรวิทยาและพยาธิวิทยาของเวสติบิวลาร์แอปพาราตัส (vestibular apparatus) "[15]
2458/1915 ไม่มีการมอบรางวัล
2459/1916 ไม่มีการมอบรางวัล
2460/1917 ไม่มีการมอบรางวัล
2461/1918 ไม่มีการมอบรางวัล
2462/1919 ฌูล บอร์แด
(Jules Bordet)
 เบลเยียม "สำหรับงานของท่านในการค้นพบที่สัมพันธ์กับภูมิคุ้มกัน"[16]
2463/1920 แชก เอาโกสต์ สตีนแปร์ โครว์
(Schack August Steenberg Krogh)
 เดนมาร์ก "สำหรับการค้นพบกลไกควบคุมการสั่งการของหลอดเลือดฝอย" (ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแลกเปลี่ยนแก๊สในปอดเป็นการแพร่ธรรมดา) [17]
2464/1921 ไม่มีการมอบรางวัล
2465/1922 อาร์คิบัลด์ วิเวียน ฮิลล์
(Archibald Vivian Hill)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบการผลิตความร้อนในกล้ามเนื้อ"[18]
อ็อทโท ฟริทซ์ ไมเออร์โฮฟ
(Otto Fritz Meyerhof)
 เยอรมนี "สำหรับการค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ออกซิเจนและเมแทบอลิซึมของกรดแลกติกในกล้ามเนื้อ"[18]
2466/1923 เฟรเดอริก แบนติง
(Frederick Grant Banting)
 แคนาดา "สำหรับการค้นพบอินซูลิน"[19]
จอห์น เจมส์ ริชาร์ด แมเคลด
(John James Richard Macleod)
 สหราชอาณาจักร
2467/1924 วิลเลิม ไอนต์โฮเฟิน
(Willem Einthoven)
 เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบกลไกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) "[20]
2468/1925 ไม่มีการมอบรางวัล

พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1926–1950)[แก้]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2469/1926 โยแฮนเนิส แอนเตรแอส กริป ฟีปีเกอร์
(Johannes Andreas Grib Fibiger)
 เดนมาร์ก "สำหรับการค้นพบ Spiroptera carcinoma"[21]
2470/1927 ยูลีอุส วากเนอร์-เยาเร็ค
(Julius Wagner-Jauregg)
 ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบของท่านในคุณค่าการรักษาโดยการปลูกเชื้อมาลาเรียในการรักษาอาการอัมพาต ชนิดเดเมนเทียพาราไลติกา (dementia paralytica) "[22]
2471/1928 ชาร์ล ฌูล อ็องรี นีกอล
(Charles Jules Henri Nicolle)
 ฝรั่งเศส "สำหรับงานของท่านด้านไข้รากสาดใหญ่"[23]
2472/1929 คริสตียาน ไอก์มัน
(Christiaan Eijkman)
 เนเธอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบของท่านในด้านวิตามินในการรักษาอาการเหน็บชา (antineuritic vitamin) "[24]
เซอร์เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์
(Sir Frederick Gowland Hopkins)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบของท่านในด้านวิตามินที่กระตุ้นการเจริญเติบโต"[24]
2473/1930 คาร์ล ลันท์ชไตเนอร์
(Karl Landsteiner)
 ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบของท่านด้านหมู่เลือดของมนุษย์"[25]
2474/1931 อ็อทโท ไฮน์ริช วาร์บวร์ค
(Otto Heinrich Warburg)
 เยอรมนี "สำหรับการค้นพบธรรมชาติและการทำงานของเอนไซม์เกี่ยวกับการหายใจ"[26]
2475/1932 เซอร์ชาลส์ สก็อต เชอร์ริงตัน
(Sir Charles Scott Sherrington)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบการทำงานของเซลล์ประสาท"[27]
เอ็ดการ์ ดักลาส เอเดรียน
(Edgar Douglas Adrian)
 สหราชอาณาจักร
2476/1933 โทมัส ฮันท์ มอร์แกน
(Thomas Hunt Morgan)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบบทบาทของโครโมโซมในกรรมพันธุ์"[28]
2477/1934 จอร์จ วิปเปิล
(George Whipple)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการรักษาตับเมื่อเกิดโลหิตจาง"[29]
จอร์จ ไมนอท
(George Minot)
 สหรัฐ
วิลเลียม พี. เมอร์ฟี
(William P. Murphy)
 สหรัฐ
2478/1935 ฮันส์ ชเปมัน
(Hans Spemann)
 ไรช์เยอรมัน "สำหรับการค้นพบของท่านในด้านอิทธิพลของการจัดการ (organizer effect) ในการเจริญของเอ็มบริโอ"[30]
2479/1936 เซอร์เฮนรี ฮอลเลตต์ เดล
(Sir Henry Hallett Dale)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบการส่งผ่านสารเคมีของกระแสประสาท"[31]
อ็อทโท เลอวี
(Otto Loewi)
 ไรช์เยอรมัน ค.ศ. 1903
 ออสเตรีย ค.ศ. 1946
 สหรัฐ
2480/1937 อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี
(Albert Szent-Györgyi von Nagyrapolt)
 ฮังการี "สำหรับการค้นพบของท่านในความเกี่ยวข้องระหว่างกระบวนการเผาผลาญทางชีวภาพกับวิตามินซีและการเพิ่มปฏิกิริยาเคมีของกรดฟูมาริก"[32]
2481/1938 กอร์แนย์ ฌ็อง ฟร็องซัว แอม็องส์
(Corneille Jean François Heymans)
 เบลเยียม "สำหรับการค้นพบบทบาทของโพรงอากาศและกลไกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาในการควบคุมการหายใจ"[33]
2482/1939 แกร์ฮาร์ท โดมัค
(Gerhard Domagk)
 ไรช์เยอรมัน "สำหรับการค้นพบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของพรอนโทซิล (prontosil) "[34]
2483/1940 ไม่มีการมอบรางวัล
2484/1941 ไม่มีการมอบรางวัล
2485/1942 ไม่มีการมอบรางวัล
2486/1943 คาร์ล พีเตอร์ เฮนเรก ตัม
(Carl Peter Henrik Dam)
 เดนมาร์ก "สำหรับการค้นพบวิตามินเค"[35]
เอ็ดเวิร์ด อเดลเบิร์ท ดอยซี
(Edward Adelbert Doisy)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบธรรมชาติทางเคมีของวิตามินเค"[35]
2487/1944 โจเซฟ เออร์แลงเกอร์
(Joseph Erlanger)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสูงของใยประสาท"[36]
เฮอร์เบิร์ท สเปนเซอร์ แกสเซอร์
(Herbert Spencer Gasser)
 สหรัฐ
2488/1945 เซอร์อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง
(Sir Alexander Fleming)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบเพนนิซิลินและผลการรักษาโรคติดต่อหลายชนิดของมัน"[37]
แอร์นส์ บอริส ไชน
(Ernst Boris Chain)
 ไรช์เยอรมัน
 สหราชอาณาจักร
เซอร์โฮเวิร์ด วอลเตอร์ ฟลอรีย์
(Sir Howard Walter Florey)
 ออสเตรเลีย
 สหราชอาณาจักร
2489/1946 เฮอร์แมนน์ โจเซฟ มุลเลอร์
(Hermann Joseph Muller)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบผลผลิตของการกลายพันธุ์โดยการแผ่รังสีเอกซ์"[38]
2490/1947 คาร์ล เฟอร์ดินานด์ คอรี
(Carl Ferdinand Cori)
ธงของเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบของท่านในกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยการสลายของไกลโคเจน"[39]
เกอร์ตี คอรี
(Gerty Theresa Cori)
ธงของเชโกสโลวาเกีย เชโกสโลวาเกีย
 สหรัฐ
เบร์นาร์โด อัลเบร์โต ฆูไซ
(Bernardo Alberto Houssay)
 อาร์เจนตินา "สำหรับการค้นพบของท่านในบทบาทของฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในกระบวนการเมแทบอลิซึมของน้ำตาล"[39]
2491/1948 เพาล์ แฮร์มัน มึลเลอร์
(Paul Hermann Müller)
 สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบของท่านในประสิทธิภาพของดีดีทีในฐานะเป็นสารต่อต้านแมลงหลายชนิด"[40]
2492/1949 วัลเทอร์ รูด็อล์ฟ เฮ็ส
(Walter Rudolf Hess)
 สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบการจัดเรียงตำแหน่งตามหน้าที่ของก้านสมองในฐานะเป็นตัวประสานงานการทำงานของอวัยวะภายใน"[41]
อังตอนียู ไกตานู ดึ อาเบรว ไฟรรึ แอกัช มูนิช
(António Caetano de Abreu Freire Egas Moniz)
 โปรตุเกส "สำหรับการค้นพบของท่านในคุณค่าของการรักษาโดยการตัดเนื้อสมองส่วนเนื้อขาวของสมองส่วนหน้า (leucotomy) ในผู้ป่วยโรคจิตบางชนิด"[41]
2493/1950 เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์
(Edward Calvin Kendall)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบฮอร์โมนของต่อมหมวกไตชั้นนอก โครงสร้างของมันและผลทางชีววิทยา"[42]
ทาเดอุช ไรช์ชไตน์
(Tadeusz Reichstein)
 โปแลนด์
 สวิตเซอร์แลนด์
ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์
(Philip Showalter Hench)
 สหรัฐ

พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1951–1975)[แก้]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2494/1951 แมกซ์ ไทเลอร์
(Max Theiler)
 แอฟริกาใต้
 สวิตเซอร์แลนด์
"สำหรับการค้นพบไข้เหลืองและวิธีการต่อสู้กับมัน"[43]
2495/1952 เซลมัน แวกส์มัน
(Selman Abraham Waksman)
 รัสเซีย ค.ศ. 1916
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบสเตรปโตมัยซิน ยาปฏิชีวนะตัวแรกที่มีผลต้านวัณโรค"[44]
2496/1953 ฮันส์ อาด็อล์ฟ เครพส์
(Hans Adolf Krebs)
 เยอรมนีตะวันตก
 สหราชอาณาจักร
"สำหรับการค้นพบวัฏจักรกรดซิตริก"[45]
ฟริทซ์ อัลแบร์ท ลิพมัน
(Fritz Albert Lipmann)
 เยอรมนีตะวันตก
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบโคเอนไซม์เอและความสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม"[45]
2497/1954 จอห์น แฟรงคลิน เอนเดอรส์
(John Franklin Enders)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบความสามารถของไวรัสโรคโปลิโอที่สามารถเติบโตในการเพาะเลี้ยงในเนื้อเยื่อหลายชนิด"[46]
โทมัส ฮักเคิล เวลเลอร์
(Thomas Huckle Weller)
 สหรัฐ
เฟรเดอริก แชปแมน รอบบินส์
(Frederick Chapman Robbins)
 สหรัฐ
2498/1955 แอกเซล ฮูโก ธีโอดอร์ ธีโอเรลล์
(Axel Hugo Theodor Theorell)
 สวีเดน "สำหรับการค้นพบธรรมชาติและหน้าที่การทำงานของเอนไซม์ในกระบวนการออกซิเดชัน"[47]
2499/1956 อ็องเดร เฟรเดริก กูร์น็อง
(André Frédéric Cournand)
 ฝรั่งเศส, ค.ศ. 1941
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบการใส่หลอดสวนหัวใจ (heart catheterization) และการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของระบบไหลเวียนโลหิต"[48]
แวร์เนอร์ ฟอร์สมัน
(Werner Forssmann)
 เยอรมนีตะวันตก
ดิคคินสัน ริชาร์ด
(Dickinson W. Richards)
 สหรัฐ
2500/1957 ดาเนียล บอแว
(Daniel Bovet)
 สวิตเซอร์แลนด์
 อิตาลี
"สำหรับการค้นพบสารสังเคราะห์ที่ยับยั้งการทำงานของสารในร่างกายบางชนิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบทบาทกับระบบหลอดเลือดและระบบโครงกระดูก"[49]
2501/1958 จอร์จ เวลลส์ บีเดิล
(George Wells Beadle)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบของท่านว่ายีนทำงานโดยการควบคุมปรากฏการณ์ทางเคมีจำเพาะ"[50]
เอ็ดเวิร์ด ลอว์รี ทาทัม
(Edward Lawrie Tatum)
 สหรัฐ
โจชัว ลีเดอร์เบิร์ก
(Joshua Lederberg)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการแลกเปลี่ยนยีน (genetic recombination) และการเรียงตัวของสารพันธุกรรมของแบคทีเรีย"[50]
2502/1959 เซเบโร โอโชอา
(Severo Ochoa)
 สเปน ค.ศ. 1939
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบกลไกการสังเคราะห์ทางชีวภาพของกรดไรโบนิวคลีอิกและกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก"[51]
อาเธอร์ คอร์นเบิร์ก
(Arthur Kornberg)
 สหรัฐ
2503/1960 เซอร์แฟรงค์ แมคฟาร์เลน เบอร์เน็ท
(Sir Frank Macfarlane Burnet)
 ออสเตรเลีย
 สหราชอาณาจักร
"สำหรับการค้นพบความต้านทานทางภูมิคุ้มกันที่ได้รับมา (acquired immunological tolerance) "[52]
ปีเตอร์ ไบรอัน เมดาวาร์
(Peter Brian Medawar)
 บราซิล
 สหราชอาณาจักร
2504/1961 จอร์จ ฟอน เบเคซี
(Georg von Békésy)
 ฮังการี "สำหรับการค้นพบกลไกทางกายภาพของการกระตุ้นภายในคอเคลีย (cochlea) "[53]
2505/1962 ฟรานซิส แฮร์รี คอมป์ตัน คริก
(Francis Harry Compton Crick)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต"[54]
เจมส์ ดิวอี วัตสัน
(James Dewey Watson)
 สหรัฐ
มอริส ฮิว เฟรเดอริก วิลคินส์
(Maurice Hugh Frederick Wilkins)
 นิวซีแลนด์
 สหราชอาณาจักร
2506/1963 เซอร์จอห์น คาริว เอคเคิลส์
(Sir John Carew Eccles)
 ออสเตรเลีย "สำหรับการค้นพบกลไกของไอออนเกี่ยวกับการกระตุ้นและการยับยั้งในส่วนนอกและส่วนกลางของเยื่อหุ้มเซลล์ของเส้นประสาท"[55]
อลัน ลอยด์ ฮอดจ์กิน
(Alan Lloyd Hodgkin)
 สหราชอาณาจักร
แอนดรูว์ ฮักซ์เลย์
(Andrew Fielding Huxley)
 สหราชอาณาจักร
2507/1964 ค็อนราท เอมีล บล็อค
(Konrad Emil Bloch)
 เยอรมนีตะวันตก
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบกลไกและการควบคุมคอเลสเตอรอลและเมแทบอลิซึมของกรดไขมัน"[56]
เฟโอดอร์ ลือเนิน
(Feodor Lynen)
 เยอรมนีตะวันตก
2508/1963 ฟร็องซัว ฌากอบ
(François Jacob)
 ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบการควบคุมพันธุกรรมของเอนไซม์และการสังเคราะห์ไวรัส"[57]
อ็องเดร มีแชล ลว็อฟ
(André Michel Lwoff)
 ฝรั่งเศส
ฌัก มอนอด
(Jacques Monod)
 ฝรั่งเศส
2509/1966 เพย์ตัน เราส์
(Peyton Rous)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบไวรัสที่ชักนำให้เกิดเนื้องอก"[58]
ชาร์ลส์ บี. ฮักกินส์
(Charles B. Huggins)
 แคนาดา
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้ฮอร์โมน"[58]
2510/1967 แรกญา กรานีท
(Ragnar Granit)
 ฟินแลนด์ ค.ศ. 1940
 สวีเดน
"สำหรับการค้นพบกระบวนการรับภาพทางกายภาพและเคมีขั้นปฐมภูมิในตา"[59]
ฮัลเดน เคฟเฟอร์ ฮาร์ทไลน์
(Haldan Keffer Hartline)
 สหรัฐ
จอร์จ วอลด์
(George Wald)
 สหรัฐ
2511/1968 รอเบิร์ต ดับเบิลยู. ฮอลลีย์
(Robert W. Holley)
 สหรัฐ "สำหรับการแปลรหัสพันธุกรรมและหน้าที่ในการสังเคราะห์โปรตีน"[60]
หร โคพินท์ โขรานา
(Har Gobind Khorana)
 อินเดีย
 สหรัฐ
มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก
(Marshall W. Nirenberg)
 สหรัฐ
2512/1969 มัคส์ เด็ลบรึค
(Max Delbrück)
 เยอรมนีตะวันตก
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบกลไกการถ่ายแบบดีเอ็นเอและโครงสร้างทางพันธุศาสตร์ของไวรัส"[61]
อัลเฟรด เฮอร์ชีย์
(Alfred Hershey)
 สหรัฐ
ซัลวาดอร์ เอ. ลูเรีย
(Salvador E. Luria)
 อิตาลี
2513/1970 เซอร์แบร์นาร์ท คัทซ์
(Sir Bernard Katz)
 เยอรมนี ค.ศ. 1941
 สหราชอาณาจักร
"สำหรับการค้นพบสารฮอร์โมนที่ปล่อยจากในปลายประสาท และกลไกของการเก็บ การปล่อย และการหยุดการกระตุ้นการทำงาน"[62]
อูลฟ์ วอน ออยเลอร์
(Ulf von Euler)
 สวีเดน
จูเลียส แอเซลรอด
(Julius Axelrod)
 สหรัฐ
2514/1970 เอิร์ล ดับเบิลยู. ซูเทอร์เลนด์ จูเนียร์
(Earl W. Sutherland, Jr.)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบกลไกการทำงานของฮอร์โมน"[63]
2515/1972 เจอรัลด์ เอ็ม. เอเดลแมน
(Gerald M. Edelman)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบโครงสร้างทางเคมีของแอนติบอดี"[64]
รอดนีย์ อาร์ พอร์เตอร์
(Rodney R. Porter)
 สหราชอาณาจักร
2516/1973 คาร์ล ฟ็อน ฟริช
(Karl von Frisch)
 ออสเตรีย "สำหรับการค้นพบโครงสร้างและการแสดง (elicitation) แบบแผนพฤติกรรมในแต่ละตัวและในสังคม"[65]
ค็อนราท โลเร็นทซ์
(Konrad Lorenz)
 ออสเตรีย
นีโกลาส ตินแบร์เคิน
(Nikolaas Tinbergen)
 เนเธอร์แลนด์
2517/1974 อาลแบร์ โกลด
(Albert Claude)
 เบลเยียม "สำหรับการค้นพบโครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างในเซลล์"[66]
คริสตีย็อง เดอ ดูฟว์
(Christian de Duve)
 เบลเยียม
จอร์จ อี. พาเลด
(George E. Palade)
 โรมาเนีย ค.ศ. 1952
 สหรัฐ
2518/1975 เดวิด บัลติมอร์
(David Baltimore)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัสที่ก่อให้เกิดเนื้องอกและสารพันธุกรรมภายในเซลล์"[67]
เรนาโต ดุลเบกโก
(Renato Dulbecco)
 อิตาลี
 สหรัฐ
โฮเวิร์ด มาร์ติน เทมิน
(Howard Martin Temin)
 สหรัฐ

พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 1976–2000)[แก้]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2519/1976 บารุค เอส. บลุมเบิร์ก
(Baruch S. Blumberg)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบกลไกใหม่ของจุดกำเนิดและการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ"[68]
แดเนียล คาร์เลตัน กาชดูเซค
(Daniel Carleton Gajdusek)
 สหรัฐ
2520/1977 รอเฌ กีย์แม็ง
(Roger Guillemin)
 ฝรั่งเศส ค.ศ. 1965
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบการผลิตเปปไทด์ฮอร์โมนของสมอง"[69]
แอนดรูว์ วิคเตอร์ ชัลลี
(Andrew Viktor Schally)
 สหรัฐ
โรซาลิน ยาโลว์
(Rosalyn Yalow)
 สหรัฐ "สำหรับการพัฒนาเทคนิค radioimmunoassay ของเปปไทด์ฮอร์โมน"[69]
2521/1978 แวร์เนอร์ อาร์เบอร์
(Werner Arber)
 สวิตเซอร์แลนด์ "สำหรับการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะ และการประยุกต์ใช้ในด้านอณูพันธุศาสตร์"[70]
แดเนียล นาธานส์
(Daniel Nathans)
 สหรัฐ
ฮามิลตัน โอ. สมิธ
(Hamilton O. Smith)
 สหรัฐ
2522/1979 อัลแลน เอ็ม. คอร์แมค
(Allan M. Cormack)
 แอฟริกาใต้ ค.ศ. 1966
 สหรัฐ
"สำหรับการพัฒนาการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์"[71]
กอดฟรีย์ เอ็น. เฮาวน์ฟิลด์
(Godfrey N. Hounsfield)
 สหราชอาณาจักร
2523/1980 บารุค เบนาเซอร์รัฟ
(Baruj Benacerraf)
 เวเนซุเอลา ค.ศ. 1943
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบโครงสร้างบนผิวเซลล์ที่ควบคุมโดยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน"[72]
ฌ็อง โดแซ
(Jean Dausset)
 ฝรั่งเศส
จอร์จ ดี. สเนลล์
(George D. Snell)
 สหรัฐ
2524/1981 โรเจอร์ ดับเบิลยู. สเปอร์รี
(Roger W. Sperry)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบหน้าที่จำเพาะของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์"[73]
เดวิด เอช. ฮูเบิล
(David H. Hubel)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการประมวลผลข้อมูลในระบบการมองเห็น"[73]
ทอร์สเทน เอ็น. วีเซล
(Torsten N. Wiesel)
 สวีเดน
2525/1982 ซือเนอ แบร์ยสเตริม
(Sune Bergström)
 สวีเดน "สำหรับการค้นพบพรอสตาแกลนดินและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกี่ยวข้อง"[74]
เบ็งต์ อี. ซอมูเอิลซ็อน
(Bengt I. Samuelsson)
 สวีเดน
จอห์น อาร์. เวน
(John R. Vane)
 สหราชอาณาจักร
2526/1983 บาร์บารา แมคคลินทอค
(Barbara McClintock)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบสารพันธุกรรมที่เคลื่อนที่ได้"[75]
2527/1984 นิลส์ ไค แยร์เนอ
(Niels Kaj Jerne)
 เดนมาร์ก "สำหรับการค้นพบความจำเพาะของพัฒนาการและการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกัน และการค้นพบหลักการผลิตโมโนโคลนัล แอนติบอดี (monoclonal antibodies)"[76]
ฌอร์ฌ ย็อท. เอ็ฟ. เคอเลอร์
(Georges J.F. Köhler)
 เยอรมนีตะวันตก
เซซาร์ มิลสไตน์
(César Milstein)
 อาร์เจนตินา
 สหราชอาณาจักร
2528/1985 ไมเคิล เอส. บราวน์
(Michael S. Brown)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการควบคุมเมแทบอลิซึมของโคเลสเตอรอล"[77]
โจเซฟ แอล. โกลด์ชไตน์
(Joseph L. Goldstein)
 สหรัฐ
2529/1986 สแตนลีย์ โคเฮน
(Stanley Cohen)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบโกรท แฟคเตอร์"[78]
รีตา เลวี-มอนตัลชีนี
(Rita Levi-Montalcini)
 อิตาลี
 สหรัฐ
2530/1987 ซูซูมุ โทเนงาวะ
(Susumu Tonegawa)
 ญี่ปุ่น "สำหรับการค้นพบหลักการทางพันธุศาสตร์ในการสร้างความหลากหลายของแอนติบอดี"[79]
2531/1988 เซอร์เจมส์ ดับเบิลยู. แบล็ก
(Sir James W. Black)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบหลักการสำคัญของการรักษาด้วยยา"[80]
เจอร์ทรูด บี. เอลเลียน
(Gertrude B. Elion)
 สหรัฐ
จอร์จ เอช. ฮิทชิงส์
(George H. Hitchings)
 สหรัฐ
2532/1989 เจ. ไมเคิล บิชอป
(J. Michael Bishop)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบต้นกำเนิดของยีนก่อมะเร็งจากรีโทรไวรัส"[81]
ฮาโรลด์ อี. วาร์มุส
(Harold E. Varmus)
 สหรัฐ
2533/1990 โจเซฟ อี. เมอร์เรย์
(Joseph E. Murray)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการปลูกถ่ายอวัยวะและเซลล์เพื่อการรักษาโรคในมนุษย์"[82]
อี. ดอนนัลล์ โธมัส
(E. Donnall Thomas)
 สหรัฐ
2534/1991 แอร์วีน เนเออร์
(Erwin Neher)
 เยอรมนี "สำหรับการค้นพบหน้าที่ของช่องไอออน (ion channel) ภายในเซลล์"[83]
แบร์ท ซัคมัน
(Bert Sakmann)
 เยอรมนี
2535/1992 เอ็ดมอนด์ เอช. ฟิสเชอร์
(Edmond H. Fischer)
 สวิตเซอร์แลนด์
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันของโปรตีนแบบผันกลับได้ ในฐานะเป็นกลไกการควบคุมทางชีวภาพ"[84]
เอ็ดวิน จี. เครบส์
(Edwin G. Krebs)
 สหรัฐ
2536/1993 ริชาร์ด เจ. โรเบิร์ตส์
(Richard J. Roberts)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบ split genes"[85]
ฟิลิป เอ. ชาร์ป
(Phillip A. Sharp)
 สหรัฐ
2537/1994 อัลเฟรด จี. กิลแมน
(Alfred G. Gilman)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบจี-โปรตีน และบทบาทของโปรตีนในการแปรสัญญาณ (signal transduction) ภายในเซลล์"[86]
มาร์ติน รอดเบลล์
(Martin Rodbell)
 สหรัฐ
2538/1995 เอ็ดเวิร์ด บี. ลิวอิส
(Edward B. Lewis)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการควบคุมทางพันธุกรรมของการเจริญของเอ็มบริโอในระยะเริ่มต้น"[87]
คริสทีอาเนอ นึสไลน์-ฟ็อลฮาร์ท
(Christiane Nüsslein-Volhard)
 เยอรมนี
อีริค เอฟ. ไวส์ชาวส์
(Eric F. Wieschaus)
 สหรัฐ
2539/1996 ปีเตอร์ โดเฮอร์ที
(Peter Doherty)
 ออสเตรเลีย "สำหรับการค้นพบความจำเพาะของระบบภูมิคุ้มกันชนิดอาศัยเซลล์"[88]
ร็อล์ฟ เอ็ม. ซิงเคอร์นาเกิล
(Rolf M. Zinkernagel)
 สวิตเซอร์แลนด์
2540/1997 สแตนลีย์ บี. พรุสซิเนอร์
(Stanley B. Prusiner)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบพรีออน - หลักการใหม่ทางชีวภาพของการติดเชื้อ[89]
2541/1998 โรเบิร์ท เอฟ. เฟอร์ชกอทท์
(Robert F. Furchgott)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบไนตริกออกไซด์ในบทบาทโมเลกุลสัญญาณในระบบไหลเวียนโลหิต"[90]
หลุยส์ เจ. อิญาร์โร
(Louis J. Ignarro)
 สหรัฐ
เฟอริด มูราด
(Ferid Murad)
 สหรัฐ
2542/1999 กึนเทอร์ โบลเบิล
(Günter Blobel)
 เยอรมนี ค.ศ. 1987
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบว่าโปรตีนมีสัญญาณภายในที่ควบคุมการขนส่งตัวเองและตำแหน่งภายในเซลล์"[91]
2543/2000 อาร์วิด คาร์ลสัน
(Arvid Carlsson)
 สวีเดน "สำหรับการค้นพบการแปรสัญญาณในระบบประสาท"[92]
พอล กรีนการ์ด
(Paul Greengard)
 สหรัฐ
อีริค อาร์. แคนเดล
(Eric R. Kandel)
 สหรัฐ

พ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน (ค.ศ. 2001 – ปัจจุบัน)[แก้]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ชื่อ ประเทศ หัวข้อ
2544/2001 ลีแลนด์ เอช. ฮาร์ทเวลล์
(Leland H. Hartwell)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบตัวควบคุมหลักของวัฏจักรเซลล์"[93]
อาร์ ทิโมธี ฮันท์
(R. Timothy Hunt)
 สหราชอาณาจักร
เซอร์พอล เอ็ม. เนิร์ส
(Sir Paul M. Nurse)
 สหราชอาณาจักร
2545/2002 ซิดนีย์ เบรนเนอร์
(Sydney Brenner)
 แอฟริกาใต้
 สหราชอาณาจักร ค.ศ. 2003
 สิงคโปร์[94] (กิตติมศักดิ์)
"สำหรับการค้นพบ 'การควบคุมทางพันธุกรรมของพัฒนาการของอวัยวะและการตายของเซลล์ชนิดตั้งโปรแกรมไว้'"[95]
เอช. โรเบิร์ต ฮอร์วิทซ์
(H. Robert Horvitz)
 สหรัฐ
จอห์น อี. ซุลสตัน
(John E. Sulston)
 สหราชอาณาจักร
2546/2003 พอล ลอเทอร์เบอร์
(Paul Lauterbur)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก"[96]
เซอร์ปีเตอร์ แมนสฟิลด์
(Sir Peter Mansfield)
 สหราชอาณาจักร
2547/2004 ริชาร์ด แอกเซล (Richard Axel)  สหรัฐ "สำหรับการค้นพบตัวรับกลิ่นและการเรียงตัวของระบบรู้กลิ่น"[97]
ลินดา บี. บัค
(Linda B. Buck)
 สหรัฐ
2548/2005 แบร์รี เจ. มาร์แชลล์
(Barry J. Marshall)
 ออสเตรเลีย "สำหรับการค้นพบแบคทีเรีย Helicobacter pylori และบทบาทของมันในการก่อโรคกระเพาะอักเสบและโรคแผลเปื่อยเพปติก"[98]
เจ. โรบิน วอร์เรน
(J. Robin Warren)
 ออสเตรเลีย
2549/2006 แอนดรูว์ เซด. ไฟร์
(Andrew Z. Fire)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบ RNA interference - การยับยั้งการแสดงออกของยีนโดยอาร์เอ็นเอสายคู่"[99]
เครก ซี. เมลโล
(Craig C. Mello)
 สหรัฐ
2550/2007 มารีโอ กาเปกกี
(Mario Capecchi)
 อิตาลี
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบการชักนำการปรับแต่งยีนที่จำเพาะในหนู โดยใช้สเต็มเซลล์จากเอ็มบริโอ (embryonic stem cells)"[100]
เซอร์มาร์ติน อีวานส์
(Sir Martin Evans)
 สหราชอาณาจักร
โอลิเวอร์ สมิธีส์
(Oliver Smithies)
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
2551/2008 ฮารัลท์ ซัวร์ เฮาเซิน
(Harald zur Hausen)
 เยอรมนี "สำหรับการค้นพบไวรัส human papilloma virus ซึ่งก่อโรคมะเร็งปากมดลูก"[101]
ฟร็องซวซ บาเร-ซีนูซี
(Françoise Barré-Sinoussi)
 ฝรั่งเศส "สำหรับการค้นพบไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus)"[101]
ลุก มงตาญีเย
(Luc Montagnier)
 ฝรั่งเศส
2552/2009 เอลิซาเบ็ธ เอช. แบล็กเบิร์น
(Elizabeth H. Blackburn)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบว่าโครโมโซมถูกปกป้องด้วยเทโลเมียร์ (telomeres) และเอนไซม์เทโลเมอเรส (telomerase)"[102]
แครอล ดับเบิลยู. ไกรเดอร์
(Carol W. Greider)
 สหรัฐ
แจ็ค ดับเบิลยู. โซสตาก
(Jack W. Szostak)
 สหรัฐ
2553/2010 โรเบิร์ต จี. เอ็ดเวิร์ดส์
(Robert G. Edwards)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการพัฒนาการปฏิสนธินอกร่างกาย"[103]
2554/2011 บรูซ เอ. บีทเลอร์
(Bruce A. Beatler)
 สหรัฐ "การค้นพบเกี่ยวกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด (innate immunity)"[104]
ฌูล อา. อ็อฟมาน
(Jules A. Hoffmann)
 ลักเซมเบิร์ก (เกิด)
 ฝรั่งเศส (สัญชาติ)
ราล์ฟ เอ็ม. สไตน์มาน
(Ralph M. Steinman)
 แคนาดา (เกิด)
 สหรัฐ (สถาบันที่สังกัด)
"การค้นพบเซลล์เดนไดรติก (dendritic cell) และบทบาทของเซลล์ดังกล่าวต่อภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immunity)"[105]
2555/2012 จอห์น บี. เกอร์ดอน
(John B. Gurdon)
 สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบว่าเซลล์ที่เจริญเต็มที่สามารถมีศักยภาพที่จะกลับมาพัฒนาเป็นเซลล์ชนิดอื่นๆ ได้"[106]
Shinya Yamanaka ชินยะ ยามานากะ
(Shinya Yamanaka)
 ญี่ปุ่น
2556/2013 เจมส์ อี. รอธแมน
(James E. Rothman)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบกลไกควบคุมการขนส่งสารของเวสิเคิล อันเป็นระบบขนส่งหลักในเซลล์ของเรา"[107]
แรนดี ดับเบิลยู. เช็กแมน
(Randy W. Schekman)
 สหรัฐ
โทมัส เซ. ซืทโฮฟ
(Thomas C. Südhof)
 สหรัฐ
 เยอรมนี
2557/2014 จอห์น โอคีฟ
(John O'Keefe)
 สหรัฐ /  สหราชอาณาจักร "สำหรับการค้นพบเซลล์ซึ่งประกอบกันเป็นระบบระบุตำแหน่งในสมอง"[108]
เมย์-บริตต์ โมเซอร์
(May-Britt Moser)
 นอร์เวย์
เอ็ดวาร์ด โมเซอร์
(Edvard Moser)
 นอร์เวย์
2558/2015 วิลเลียม ซี. แคมป์เบลล์
(William C. Campbell)
 ไอร์แลนด์
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบเซลล์ซึ่งประกอบกันเป็นระบบระบุตำแหน่งในสมอง" "สำหรับการค้นพบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาวิธีใหม่ ต้านอาการติดเชื้อจากกลุ่มพยาธิหนอนตัวกลม"[109]
ซาโตชิ โอมูระ
(Satoshi Ōmura, 大村智)
 ญี่ปุ่น
ถู โยวโยว
(Youyou Tu, 屠呦呦)
 จีน "สำหรับการค้นพบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการรักษาวิธีใหม่ต้านมาลาเรีย"[109]
2559/2016 โยชิโนริ โอซูมิ
(Ōsumi Yoshinori, 大隅 良典)
 ญี่ปุ่น "สำหรับการค้นพบกลไกของออโตฟาจี"[110]
2560/2017 เจฟฟรีย์ ซี ฮอลล์
(Jeffrey C. Hall)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลที่ควบคุมระบบนาฬิกาชีวิต (circadian rhythm)"[111]ُ
ไมเคิล รอสแบช
(Michael Rosbash)
 สหรัฐ
ไมเคิล ดับเบิลยู ยัง
(Michael W. Young)
 สหรัฐ
2561/2018 เจมส์ พี. แอลลิสัน
(James P. Allison)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบการบำบัดมะเร็งด้วยการยับยั้งการควบคุมภูมิคุ้มกันเชิงลบ"[112]
ฮนโจ ทาซูกุ
(Honjō Tasuku)
 ญี่ปุ่น
2562/2019 วิลเลียม เคลิน จูเนียร์
(William Kaelin Jr.)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบว่าเซลล์รับรู้และปรับตัวเข้ากับระดับออกซิเจนที่มีอย่างไร"[113]
ปีเตอร์ เจ. แรตคลิฟฟ์
(Peter J. Ratcliffe)
 สหราชอาณาจักร
เกร็ก แอล. เซเมนซา
(Gregg L. Semenza)
 สหรัฐ
2563/2020 ฮาร์วีย์ เจ. ออลเทอร์
(Harvey J. Alter)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบไวรัสตับอักเสบซี"[114]
ไมเคิล ฮอว์ทัน
(Michael Houghton)
 สหราชอาณาจักร
ชาลส์ เอ็ม. ไรซ์
(Charles M. Rice)
 สหรัฐ
2564/2021 เดวิด จูเลียส
(David Julius)
 สหรัฐ "สำหรับการค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการสัมผัส"[115]
อาร์เด็ม พาตาพูเทียน
(Ardem Patapoutian)
 เลบานอน
2565/2022 สวันเตอ แพบู
(Svante Pääbo)
 สวีเดน "สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับจีโนมของโฮมินินที่สูญพันธุ์และวิวัฒนาการของมนุษย์"[116]
2566/2023 กอตอลิน กอริโก
(Katalin Karikó)
 ฮังการี
 สหรัฐ
"สำหรับการค้นพบเกี่ยวกับการดัดแปรเบสนิวคลีโอไซด์ ซึ่งช่วยในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอที่มีประสิทธิภาพ"[117]
ดรูว์ ไวส์แมน
(Drew Weissman)
 สหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Nobel Prize amounts". The Nobel Prize. สืบค้นเมื่อ 29 September 2023.
  2. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1901". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  3. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1902". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  4. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1903". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  5. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1904". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  6. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1905". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  7. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1906". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  8. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1907". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  9. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1908". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  10. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1909". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  11. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1910". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  12. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1911". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  13. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1912". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  14. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1913". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  15. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1914". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  16. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1919". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  17. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1920". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  18. 18.0 18.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1922". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  19. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1923". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  20. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1924". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  21. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1926". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  22. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1927". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  23. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1928". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  24. 24.0 24.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1929". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  25. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1930". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  26. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1931". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  27. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1932". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  28. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1933". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  29. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1934". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  30. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1935". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  31. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1936". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  32. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1937". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  33. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1938". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  34. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1939". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  35. 35.0 35.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1943". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  36. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1944". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  37. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1945". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  38. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1946". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  39. 39.0 39.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1947". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  40. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1948". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  41. 41.0 41.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1949". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  42. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1950". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  43. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1951". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  44. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1952". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  45. 45.0 45.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1953". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  46. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1954". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  47. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1955". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  48. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1956". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  49. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1957". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  50. 50.0 50.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1958". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  51. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1959". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  52. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1960". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  53. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1961". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  54. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1962". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  55. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1963". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  56. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1964". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  57. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1965". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  58. 58.0 58.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1966". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  59. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1967". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  60. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1968". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  61. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1969". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  62. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1970". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  63. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1971". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  64. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1972". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  65. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1973". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  66. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1974". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  67. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1975". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  68. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1976". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  69. 69.0 69.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1977". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  70. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1978". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  71. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1979". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  72. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1980". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  73. 73.0 73.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1981". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  74. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1982". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  75. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1983". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  76. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1984". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  77. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1985". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  78. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1986". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  79. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1987". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  80. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1988". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  81. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1989". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  82. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1990". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  83. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1991". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  84. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1992". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  85. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1993". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  86. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1994". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  87. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1995". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  88. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1996". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  89. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1997". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  90. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1998". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  91. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1999". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  92. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2000". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  93. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2001". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  94. "Sydney Brenner, PhD: Biography". 2005 IEEE Computational Systems Bioinformatics Conference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-08-14.
  95. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2002". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  96. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2003". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  97. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2004". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  98. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2005". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  99. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2006". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-07-28.
  100. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2007". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-10-08.
  101. 101.0 101.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2008". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-10-06.
  102. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2009". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-10-05.
  103. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2010". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
  104. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2011". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2011-10-03.
  105. "Ralph M. Steinman - Facts - Nobelprize.org". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2011-10-08.
  106. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2012". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
  107. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2013". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2013-10-07.
  108. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2014". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2014-10-06.
  109. 109.0 109.1 "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2015". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  110. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2016". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  111. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2017". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  112. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2018". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
  113. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2019". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  114. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2020". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
  115. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2021". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  116. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2022". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2022-10-03.
  117. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2023". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2023-10-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]