ข้ามไปเนื้อหา

Major histocompatibility complex

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมเลกุล major histocompatibility complex
โปรตีน major histocompatibility complex (class I) มีสีส้มและชมพู กำลังแสดงเพปไทด์ (แอนติเจน) เป็นสีแดง เยื่อหุ้มเซลล์มีสีเทา โดเมนโปรตีนที่อยู่ในไซโทพลาซึมและที่ทะลุผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แสดงเป็นรูปคร่าว ๆ (PDB 1hsa)
ข้อมูลจำเพาะ
สัญลักษณ์HLA
InterProIPR001039
Membranome63

major histocompatibility complex (MHC) เป็นโลคัสขนาดใหญ่ที่ดีเอ็นเอของสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งมีชุดยีนที่มีภาวะพหุสัณฐาน (polymorphic genes) ซึ่งเข้ารหัสโปรตีนผิวเซลล์อันจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ โปรตีนผิวเซลล์เช่นนี้เรียกว่า โมเลกุล MHC (MHC molecule)

โลคัสได้ชื่อที่ไม่ตรงหน้าที่เช่นนี้ก็เพราะได้ค้นพบในการศึกษาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อที่ถ่ายปลูก[1] แต่งานต่อ ๆ มาได้แสดงว่า "ความเข้ากันไม่ได้" ของเนื้อเยื่อเป็นประเด็นเทียมซึ่งซ่อนหน้าที่จริง ๆ ของโมเลกุล คือ การเข้าจับกับแอนติเจนที่เป็นโปรตีนอนุพัทธ์ของโปรตีนในร่างกายหรือของจุลชีพก่อโรค แล้วนำแอนติเจนไปแสดงที่ผิวเซลล์เพื่อให้เซลล์ทีที่เหมาะสมรู้จำได้[2] โมเลกุล MHC ช่วยอำนวยการทำงานของเม็ดเลือดขาวร่วมกับเม็ดเลือดขาวอื่น ๆ หรือกับเซลล์ในร่างกาย MHC เป็นตัวกำหนดว่าอวัยวะที่บริจาคจะเข้ากับคนไข้ที่ได้รับอวัยวะหรือไม่ และกำหนดความเสี่ยงเกิดโรคภูมิต้านตนเอง

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Hull, P (August 1970). "Notes on Dr Snell's observations concerning the H-2 locus polymorphism". Heredity. 25 (3): 461–5. doi:10.1038/hdy.1970.47. PMID 5275401.
  2. CA, Janeway Jr; Travers, P; Walport, M; และคณะ (2001). "The Major Histocompatibility Complex and Its Functions". Immunobiology: The Immune System in Health and Disease (5th ed.). New York: Garland Science.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]