อีลี เมตช์นิคอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีลี เมตช์นิคอฟ
เมชนิคอฟ ประมาณปี ค.ศ. 1908
เกิดอิลียา อิลยิช เมชนิคอฟ
15 พฤษภาคม ค.ศ. 1845(1845-05-15)
(แบบเก่า 3 พฤษภาคม)
อิวานอฟกา เขตผู้ว่าการคาร์คอฟ จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต15 กรกฎาคม ค.ศ. 1916(1916-07-15) (71 ปี)
ปารีส ฝรั่งเศส
สัญชาติรัสเซีย
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน

อิลียา อิลยิช เมชนิคอฟ (อังกฤษ: Ilya Ilyich Mechnikov, รัสเซีย: Илья́ Ильи́ч Ме́чников) หรือ อีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff, Élie Metchnikoff) (15 พฤษภาคม (แบบเก่า 3 พฤษภาคม) ค.ศ. 184515 กรกฎาคม ค.ศ. 1916) เป็นนักสัตววิทยาชาวรัสเซีย เป็นผู้ค้นพบกระบวนการฟาโกไซโทซิสจากการทดลองกับตัวอ่อนของดาวทะเล[1] ผลงานดังกล่าวทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับเพาล์ เอร์ลิชในปี ค.ศ. 1908[2] นอกจากนี้เขายังนิยามคำว่า "gerontology" สำหรับการศึกษาด้านอายุขัย[3][4]

ประวัติ[แก้]

อิลียา อิลยิช เมชนิคอฟเกิดที่หมู่บ้านอิวานอฟกา ใกล้กับเมืองคาร์กิวในปี ค.ศ. 1845 เป็นบุตรคนเล็กจากทั้งหมด 5 คนของอิลียา อิวาโนวิช เมชนิคอฟและเอมิลียา ลวอฟนา (เนวาโควิช)[5] เมชนิคอฟเรียนที่โรงเรียนในเมืองคาร์กิวและเริ่มสนใจด้านชีววิทยา เขาพยายามจะเรียนต่อด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยเวือทซ์บวร์ค แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่เปิดภาคเรียนจึงย้ายไปเรียนด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่มหาวิทยาลัยคาร์กิว หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัย เมชนิคอฟเดินทางไปเยอรมนีเพื่อศึกษาสิ่งมีชีวิตบนเกาะเฮ็ลโกลันท์ในทะเลเหนือ เขาได้รับคำแนะนำให้ไปทำงานกับรูดอล์ฟ ลิวคาร์ตที่มหาวิทยาลัยกีเซิน ที่นั่นเมชนิคอฟค้นพบวงจรชีวิตแบบสลับของนีมาโทดาและค้นพบการย่อยระดับเซลล์ของทรีมาโทดา ต่อมาเขาย้ายไปที่เมืองเนเปิลส์เพื่อทำดุษฎีนิพนธ์ แต่ต้องย้ายไปที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงินเนื่องจากเกิดโรคระบาด ในปี ค.ศ. 1867 เมชนิคอฟกลับไปที่รัสเซียเพื่อรับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เขาได้รับการแต่งตั้งให้ทำงานที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียลนอวอรอสซียา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยออแดซา) แต่ด้วยวัยเพียง 22 ปีทำให้เขามักมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานที่มีอายุมากกว่า เมชนิคอฟจึงถูกย้ายไปที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก แต่ในปี ค.ศ. 1870 เขาย้ายกลับมาที่ออแดซาเพื่อรับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยาและกายวิภาคเปรียบเทียบ[6][7][8] เมชนิคอฟลาออกในปี ค.ศ. 1882 แล้วตั้งห้องปฏิบัติการของตัวเองแต่ไม่สำเร็จ เขาเดินทางไปที่ปารีสเพื่อขอคำแนะนำจากหลุยส์ ปาสเตอร์ แต่ปาสเตอร์มอบตำแหน่งงานในสถาบันปาสเตอร์ให้เมชนิคอฟ ซึ่งเขาทำงานอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจวายในปี ค.ศ. 1916[9]

ด้านชีวิตส่วนตัว เมชนิคอฟแต่งงานครั้งแรกกับลุดมิลา ฟีโอดอโรวิตช์ในปี ค.ศ. 1863 แต่เธอเสียชีวิตด้วยวัณโรคในอีก 10 ปีต่อมา[10] ในปี ค.ศ. 1875 เขาแต่งงานใหม่กับโอลกา เบลอโกพีโตวา[11] เมชนิคอฟเป็นอเทวนิยม[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Medicine in Stamps Elie Metchnikoff (1845–1916) : discoverer of phagocytosis" (PDF). Institut Pasteur. สืบค้นเมื่อ March 9, 2017.
  2. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1908". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ March 9, 2017.
  3. Vértes, L (1985). "The gerontologist Mechnikov". Orvosi hetilap. 126 (30): 1859–1860. PMID 3895124.
  4. Martin, D. J.; Gillen, L. L. (2013). "Revisiting Gerontology's Scrapbook: From Metchnikoff to the Spectrum Model of Aging". The Gerontologist. 54 (1): 51–58. doi:10.1093/geront/gnt073. PMID 23893558.
  5. "Elie Metchnikoff - Biography". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ March 9, 2017.
  6. "Ilya Mechnikov - Biographical". Nobelprize.org. Nobel Media AB. สืบค้นเมื่อ 16 March 2015.
  7. "Metchnikoff, Elie". Dictionary of Scientific Biography. สืบค้นเมื่อ 16 March 2015.
  8. "Full text of "Life of Elie Metchnikoff, 1845-1916"". archive.org.
  9. B. I. Goldstein (21 July 1916). "Elie Metchnikoff". Canadian Jewish Chronicle. สืบค้นเมื่อ 17 November 2012.
  10. "Ilya Mechnikov - Biography". NNDB. สืบค้นเมื่อ March 9, 2017.
  11. Gordon, Siamon (2008). "Elie Metchnikoff: Father of natural immunity". European Journal of Immunology. 38 (12): 3257–3264. doi:10.1002/eji.200838855. PMID 19039772.
  12. Tauber, Alfred I.; Chernyak, Leon (1991). Metchnikoff and the Origins of Immunology : From Metaphor to Theory: From Metaphor to Theory. New York (US): Oxford University Press. p. 5. ISBN 978-0-1953451-00. There is no clear record that he was professionally restricted in Russia because of his lineage, but he sympathized with the problem his Jewish colleagues suffered owing to Russian anti-Semitism; his personal religious commitment was to atheism, although he received strict Christian religious training at home. Metchnikoff's atheism smacked of religious fervor in the embrace of rationalism and science. We may fairly argue that Metchnikoff's religion was based on the belief that rational scientific discourse was the solution for human suffering.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]