ข้ามไปเนื้อหา

เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์
เกิด8 มีนาคม ค.ศ. 1886(1886-03-08)
เซาท์นอร์วอล์ก รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต4 พฤษภาคม ค.ศ. 1972(1972-05-04) (86 ปี)
พรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
มีชื่อเสียงจากสกัดไทรอกซีน
ค้นพบคอร์ติโซน
รางวัลรางวัลแลสเกอร์-ดีเบกคี (ค.ศ. 1949)
รางวัลมูลนิธิพาสซาโน (ค.ศ. 1950)
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1950)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีวเคมี
สถาบันที่ทำงานพาร์ค-เดวิส
โรงพยาบาลเซนต์ลูกา
คลินิกเมโย
มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน

เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์ (อังกฤษ: Edward Calvin Kendall; 8 มีนาคม ค.ศ. 18864 พฤษภาคม ค.ศ. 1972) เป็นนักชีวเคมีชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองเซาท์นอร์วอล์ก เป็นบุตรของจอร์จ สแตนลีย์ เคนดัลล์และเอวา ฟรานเชส แอบบอตต์[1] เรียนจบปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาเคมีจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย[2] ก่อนจะทำการศึกษาฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ขณะทำงานที่บริษัทยาพาร์ค-เดวิสและโรงพยาบาลเซนต์ลูกา[3] ในปี ค.ศ. 1914 เคนดัลล์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวเคมีของบัณฑิตวิทยาลัย คลินิกเมโย ปีต่อมาเคนดัลล์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสาขาวิชาชีวเคมีและแต่งงานกับรีเบคกา เคนเนดี มีบุตรด้วยกัน 4 คน[4]

เคนดัลล์มีผลงานที่สำคัญคือการสกัดไทรอกซีนและมีส่วนในการสกัดและระบุโครงสร้างของกลูตาไธโอน เคนดัลล์ร่วมกับฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์ใช้สเตอรอยด์ที่สกัดจากต่อมหมวกไตในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต่อมาสารชนิดนี้เรียกว่าคอร์ติโซน[5] ในปี ค.ศ. 1950 เคนดัลล์ เฮนช์และทาเดอุช ไรค์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ สำหรับการค้นพบฮอร์โมนของต่อมหมวกไต รวมถึงระบุโครงสร้างและผลทางชีววิทยา[6] ปีต่อมา เคนดัลล์เกษียณตัวเองจากงานที่คลินิกเมโยและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์อาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1972

อ้างอิง

[แก้]
  1. Edward Calvin Kendall - Encyclopedia.com
  2. Edward C. Kendall - Biographical - Nobelprize.org
  3. Edward Calvin Kendall Facts - YourDictionary
  4. Edward C. Kendall - NNDB
  5. "Edward Calvin Kendall - Journal of the Association of Physicians of India" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-25. สืบค้นเมื่อ 2016-02-21.
  6. The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1950

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]