น้ำเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

น้ำเลือด (น้ำเหลือง) หรือ พลาสมา (อังกฤษ: plasma) คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว โดยปกติจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ในเลือด พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือด

โปรตีนในพลาสมา[แก้]

ในพลาสมาสามารถพบโปรตีนได้หลายชนิด แต่ที่สำคัญได้แก่

  • ไฟบริโนเจน สามารถเปลี่ยนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดได้ จึงมีความสำคัญในการทำให้เลือดหยุดไหลหรือการปิดปากแผลเมื่อได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง
  • แอลบูมิน ช่วยรักษาปริมาตรเลือดและรักษาความดันให้คงที่ และยังช่วยขนส่งสานต่างๆเช่นฮอร์โมนเอสโตรเจน กรดไขมัน บิลิรูบิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยทำลายพิษของโลหะหนักเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมตามอวัยวะต่างๆของร่างกายอีกด้วย
  • โกลบูลิน จัดเป็นไกลโคโปรตีนชนิดหนึ่ง โดยสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายชนิด้วยกัน ทำหน้าที่ในการขนส่งลิปิด