ข้ามไปเนื้อหา

คริสตียาน ไอก์มัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสตียาน ไอก์มัน
คริสตียาน ไอก์มัน
เกิด11 สิงหาคม ค.ศ. 1858(1858-08-11)
ไนแกร์ก, เนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930(1930-11-05) (72 ปี)
ยูเทรกต์, เนเธอร์แลนด์
สัญชาติเนเธอร์แลนด์
อาชีพแพทย์, นักพยาธิวิทยา
มีชื่อเสียงจากรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (1929)

คริสตียาน ไอก์มัน (ดัตช์: Christiaan Eijkman; 11 สิงหาคม พ.ศ. 2401 (1858) — 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 (1930)) เป็นแพทย์และนักพยาธิวิทยาชาวดัตช์ ผู้แสดงให้เห็นว่าโรคเหน็บชาเกิดจากการขาดสารอาหารและนำไปสู่การค้นพบวิตามิน ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ พ.ศ. 2472 (1929) ร่วมกับเซอร์เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์ (Frederick Gowland Hopkins)

ประวัติ

[แก้]

ไอก์มันเกิดเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2401 (1858) ที่เมืองไนแกร์ก ประเทศเนเธอร์แลนด์

แม้ว่าเขาจะถูกส่งไปอินโดนีเซียเพื่อศึกษาโรคเหน็บชา แต่การค้นพบของเขาก็เป็นไปด้วยความบังเอิญ เขาสังเกตอาการของลูกไก่จำนวนหนึ่งในปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของเขา เมื่อให้อาหารที่แตกต่างกันระยะหนึ่ง จึงตั้งสมมุติฐานความเชื่อมโยงระหว่างข้าวขัดสีกับโรคเหน็บชา

เขาไม่สามารถดำเนินงานวิจัยต่อไปได้เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ จึงกลับบ้านเกิด แต่การศึกษาต่อโดยเพื่อนของเขา อาดอลฟ์ ฟอร์เดอร์มัน (Adolphe Vorderman) ยืนยันความเชื่อมโยงนั้น ท้ายที่สุดสรุปได้ว่า สารประกอบบางอย่างที่หายไปในอาหารเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเหน็บชา การศึกษาในเวลาต่อมาค้นพบว่า ส่วนประกอบในการทดลองนี้คือ ไทอะมิน (thiamine) หรือ วิตามินบี 1 นับเป็นวิตามินชนิดแรกที่ถูกค้นพบในฐานะสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

ไอก์มันเสียชีวิตเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 (1930) ที่ยูเทรกต์ เนเธอร์แลนด์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]