พ.ศ. 2555
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2012)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2555 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2012 MMXII |
Ab urbe condita | 2765 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1461 ԹՎ ՌՆԿԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6762 |
ปฏิทินบาไฮ | 168–169 |
ปฏิทินเบงกอล | 1419 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2962 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 60 Eliz. 2 – 61 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2556 |
ปฏิทินพม่า | 1374 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7520–7521 |
ปฏิทินจีน | 辛卯年 (เถาะธาตุโลหะ) 4708 หรือ 4648 — ถึง — 壬辰年 (มะโรงธาตุน้ำ) 4709 หรือ 4649 |
ปฏิทินคอปติก | 1728–1729 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3178 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2004–2005 |
ปฏิทินฮีบรู | 5772–5773 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2068–2069 |
- ศกสมวัต | 1934–1935 |
- กลียุค | 5113–5114 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12012 |
ปฏิทินอิกโบ | 1012–1013 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1390–1391 |
ปฏิทินอิสลาม | 1433–1434 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 24 (平成24年) |
ปฏิทินจูเช | 101 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4345 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 101 民國101年 |
เวลายูนิกซ์ | 1325376000–1356998399 |
พุทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็น ปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้ พ.ศ. 2555 เป็นปีสหกรณ์สากล โดยเน้นความร่วมมือเข้าไปมีส่วนยังการพัฒนาทางสังคม-เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยอมรับผลกระทบของการพัฒนาต่อการลดความยากจน การสร้างงานและบูรณาการทางสังคม[1] นอกจากนี้ยังกำหนดให้เป็นปีสากลแห่งพลังงานยั่งยืนสำหรับทุกคน[2]
นอกจากนี้ ยังได้มีการประกาศให้เป็นปีอลัน ทัวริง เพื่อเฉลิมฉลองนักคณิตศาสตร์ ผู้บุกเบิกคอมพิวเตอร์และนักถอดรหัสในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีชาตะกาลของอลัน ทัวริง[3]
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2555
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 13–22 มกราคม – โอลิมปิกเยาวชนฤดูหนาวครั้งที่ 1 ณ เมืองอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย โดยเจ้าเหรียญทองคือประเทศเยอรมนี
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ – เกิดการวิวาทที่สนามพอร์ตซาอิด เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 79 คน และอีกกว่า 1,000 คนได้รับบาดเจ็บ หลังการแข่งขันฟุตบอลในพอร์ตซาอิด ประเทศอียิปต์[4][5]
- 15 กุมภาพันธ์ – เพลิงไหม้เรือนจำในโกมายากวา ประเทศฮอนดูรัส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 359 ศพ[6]
มีนาคม
[แก้]- 13 มีนาคม – สารานุกรมบริตานิกายุติการตีพิมพ์สารานุกรม หลังตีพิมพ์มานานกว่า 244 ปี และยอดขายลดลงจนเหลือเพียง 8,000 ชุด[7]
- 22 มีนาคม – อามาดู ตูมานี ตูเร ประธานาธิบดีมาลี ถูกถอดจากตำแหน่งในเหตุรัฐประหาร หลังทหารแตกแถวโจมตีที่ทำการรัฐบาล[8]
เมษายน
[แก้]- 6 เมษายน – ขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติอาซาวัดประกาศเอกราชแยกอาซาวัดออกจากมาลีฝ่ายเดียว[9]
- 12 เมษายน – ทหารกบฏในกินี-บิสเซาก่อรัฐประหารและเข้ายึดเมืองหลวงและจับกุมรักษาการประธานาธิบดี ไรมุนโด เปไรรา และผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้คะแนนนำ คาร์ลอส โกเมส จูเนียร์ ท่ามกลางการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังมีขึ้น[10]
- 13 เมษายน – กวางมยองซอง-3 ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเกาหลีเหนือ ระเบิดไม่นานหลังปล่อย ต่อมา ประชาคมระหว่างประเทศประณามการปล่อยที่ล้มเหลวดังกล่าว การปล่อยนี้กำหนดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบรอบหนึ่งร้อยปีวันเกิดของคิม อิลซอง ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐ[11]
พฤษภาคม
[แก้]- 22 พฤษภาคม – โตเกียวสกายทรี หอคอยเซลฟ์ซัพพอร์ดติงที่สูงที่สุดในโลก เปิดอย่างเป็นทางการ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[12]
มิถุนายน
[แก้]- 6 มิถุนายน – เกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งที่สองและสุดท้ายในรอบศตวรรษ ส่วนสองครั้งต่อไปทำนายว่าจะเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2117 และ 2125 ตามลำดับ[13]
- 24 มิถุนายน – เสินโจว 9 ยานอวกาศของจีน ซึ่งบรรทุกนักบินอวกาศจีนสามคน และมีนักบินอวกาศหญิงคนแรกของประเทศรวมอยู่ด้วย เทียบท่าด้วยมือกับส่วนโคจร เทียนกง 1 เป็นครั้งแรก เมื่อจีนบรรลุภารกิจ นับเป็นประเทศที่สามหลังจากสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย[14]
กรกฎาคม
[แก้]- 4 กรกฎาคม – เซิร์นประกาศการค้นพบอนุภาคชนิดใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติสอดคล้องกับฮิกส์โบซอนหลังการทดลองที่เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่[15][16][17][18][19]
- 27 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม – การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
- 30–31 กรกฎาคม – เหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ผู้คนกว่า 620 ล้านคนไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้[20]
สิงหาคม
[แก้]- 6 สิงหาคม – ยานสำรวจคิวริออสซิตี ในภารกิจ Mars Science Laboratory (MSL) ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดาวอังคาร[21]
กันยายน
[แก้]- 7 กันยายน – แคนาดาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านอย่างเป็นทางการโดยปิดสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเตหะรานและสั่งขับทูตชาวอิหร่านออกจากกรุงออตตาวา จากประเด็นการสนับสนุนซีเรีย แผนการนิวเคลียร์และการละเมิดสิทธิมนุษยชน[22]
- 10 กันยายน – วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ครบ 150 ปี
- 11-22 กันยายน – เกิดเหตุประท้วงและการก่อการร้ายต่อเนื่องโดยพุ่งเป้าไปยังคณะผู้แทนทางทูตสหรัฐอเมริกาทั่วโลก เช่นเดียวกับคณะผู้แทนทางทูตของเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลโอบามาอ้างการฉายภาพยนตร์ตัวอย่าง Innocence of Muslims ทางยูทูบ ว่าเป็นเหตุแห่งการโจมตี ภายหลังมีการค้นพบว่าเหตุการณ์เหล่านี้มิใช่การประท้วงที่เกิดเอง หากแต่เป็นการก่อการร้ายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน[23][24] เหตุโจมตีในลิเบียยังส่งผลให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำลิเบีย คริสโตเฟอร์ สตีเฟนส์ เสียชีวิต[25][26][27][28]
ตุลาคม
[แก้]- 14 ตุลาคม - นักดิ่งพสุธาชาวออสเตรีย เฟลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ กลายเป็นบุคคลแรกที่ทะลุกำแพงเสียงโดยไม่มีการช่วยเหลือของเครื่องจักรใด ๆ ระหว่างการดิ่งอวกาศ (space dive) จากบอลลูนอัดแก๊สฮีเลียมที่ความสูง 39 กิโลเมตร เหนือรอสเวลล์ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา[29][30][31]
- 24 – 30 ตุลาคม - เฮอร์ริเคนแซนดีคร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 209 คนในแคริบเบียน บาฮามาส สหรัฐอเมริกา และแคนาดา สตอร์มเสิร์จจำนวนหนึ่งก่อความเสียหายแก่ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา[32][33][34]
พฤศจิกายน
[แก้]- 14 – 21 พฤศจิกายน - อิสราเอลเปิดฉากปฏิบัติการเสาค้ำเมฆาต่อฉนวนกาซาที่ปาเลสไตน์ปกครองอยู่ และสามารถสังหารอาเหม็ด จาบารี หัวหน้าฝ่ายทหารของฮามาส หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 140 คน และชาวอิสราเอลเสียชีวิต 5 คน การหยุดยิงระหว่างอิสราเอลกับฮามาสประกาศโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ[35][36][37][38][39]
- 25 พฤศจิกายน - 9 ธันวาคม - พายุไต้ฝุ่นโบพา คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 1,067 คน และมีผู้สูญหายอีกราว 838 คน สร้างความเสียหายหนักต่อเกาะมินดาเนา[40][41][42]
- 29 พฤศจิกายน - สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติอนุมัติญัตติเสนอให้สถานะรัฐผู้สังเกตการณ์มิใช่สมาชิกแก่ปาเลสไตน์[43]
ธันวาคม
[แก้]- 8 ธันวาคม - ที่ประชุมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสหประชาชาติตกลงขยายพิธีสารเกียวโตไปถึง พ.ศ. 2563[44]
- 21 ธันวาคม - ปีสุดท้ายของโลกตามการอ้างปฏิทินมายา ซึ่งสิ้นสุดใน 12-21-12 (ธันวาคม-21-2012) โดยระบุว่าปี 2013 (2556) จะไม่เกิดขึ้นตามปรากฏการณ์ 2012
วันเกิด
[แก้]- 16 มกราคม – รุ่งรดา รุ่งลิขิตเจริญ นักแสดงเด็กหญิงชาวไทย
- 24 มกราคม – เจ้าหญิงอธีนาแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงแห่งพระราชวงศ์เดนมาร์ก
- 23 กุมภาพันธ์ – เจ้าหญิงเอสแตล ดัชเชสแห่งเอิสเตอร์เยิตลันด์ เจ้าหญิงแห่งพระราชวงศ์สวีเดน
- 11 มีนาคม - กิตติศักดิ์ เดชธนู ทายาทเดชธนูคนที่ 4 รองจาก มนตรี เดชธนู
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 20 มกราคม – เอตต้า เจมส์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เกิด 25 มกราคม พ.ศ. 2481)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ – วิสวาวา ซิมบอร์สกา (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
- 3 กุมภาพันธ์ – แซมวล ยูด (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2465)
- 11 กุมภาพันธ์ – วิตนีย์ ฮิวสตัน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2506)
- 16 กุมภาพันธ์ – ชิกะเงะ อะวะชิมะ นักแสดงหญิงชาวญี่ปุ่น (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467)
- 17 กุมภาพันธ์ – เอนรีเก เซียร์รา นักดนตรีชาวสเปน (เกิด 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500)
- 28 กุมภาพันธ์ – ไป่ จิง (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2526)
- 29 กุมภาพันธ์ – เดวี โจนส์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488)
มีนาคม
[แก้]- 6 มีนาคม - ฟรังซิชกู ชาวีแอร์ ดู อามารัล ประธานาธิบดีติมอร์เลสเต (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2480)
- 18 มีนาคม –
- พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 5 พระมหากษัตริย์ตองงา (พระราชสมภพ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2491)[45]
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน – เจ้าหญิงฟัตมา เนสลีชาห์ แห่งออตโตมัน (ประสูติ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464)[46]
- 3 เมษายน – ทีโอฟิโล สตีเวนสัน นักมวยปล้ำชาวอเมริกัน (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2471)
พฤษภาคม
[แก้]- 9 พฤษภาคม – วิดัล แซสซูน นักออกแบบทรงผมชาวอังกฤษ (เกิด 16 มกราคม พ.ศ. 2471)
- 17 พฤษภาคม – ดอนนา ซัมเมอร์ นักร้อง นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน (เกิด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2491)
- 20 พฤษภาคม – โรบิน กิบบ์ นักดนตรีชาวอังกฤษ (เกิด 22 ธันวาคม พ.ศ. 2492)
- 26 พฤษภาคม – แท่งทอง เกียรติทวีสุข นักมวยสากล (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2521)
มิถุนายน
[แก้]- 6 มิถุนายน – เจ้าชายโทโมฮิโตะแห่งมิกาซะ พระญาติชั้นที่หนึ่งในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (ประสูติ 5 มกราคม พ.ศ. 2489)
- 11 มิถุนายน – ทีโอฟิโล สตีเวนสัน นักมวยสากลสมัครเล่นชาวคิวบา (เกิด 29 มีนาคม พ.ศ. 2495)
- 16 มิถุนายน – เจ้าชายนาเยฟ บิน อับดุลลาซิซ อัล ซาอุด มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย (ประสูติ พ.ศ. 2476)
- 26 มิถุนายน –
- นอรา เอฟรอน นักเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484)
กรกฎาคม
[แก้]- 12 กรกฎาคม – ดารา ซิงห์ นักแสดงชาวอินเดีย (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471)
- 18 กรกฎาคม – ราเชศ ขันนา นักแสดงชาวอินเดีย (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2485)
สิงหาคม
[แก้]- 9 สิงหาคม – คมน์ อรรฆเดช นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด 26 มีนาคม พ.ศ. 2489)
- 15 สิงหาคม – แฮร์รี แฮร์ริสัน นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2468)
- 19 สิงหาคม – โทนี่ สก็อตต์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2487)
- 25 สิงหาคม –
- นีล อาร์มสตรอง นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473)
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน – ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
- 16 กันยายน - เจ้าหญิงรัญฮิลด์แห่งนอร์เวย์ (เกิด 9 มิถุนายน พ.ศ. 2473)
- 25 กันยายน - แอนดี้ วิลเลียมส์ นักร้องเพลงป็อปชาวอเมริกัน (เกิด 3 ธันวาคม พ.ศ. 2470)
ตุลาคม
[แก้]- 15 ตุลาคม –
- พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ราชสมภพ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465)
พฤศจิกายน
[แก้]- 28 พฤศจิกายน - โจเซฟ เมอร์รีย์ ศัลยแพทย์ชาวอเมริกัน เจ้าของรางวัลโนเบล (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2462)
ธันวาคม
[แก้]- 30 ธันวาคม - รีตา เลวี-มอนตัลชีนี นักประสาทวิทยาชาวอิตาลี (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2452)
รางวัลโนเบล
[แก้]- สาขาเคมี - โรเบิร์ต เลฟโกวิทซ์ และ ไบรอัน โคบิลกา
- สาขาเศรษฐศาสตร์ - อัลวิน อี. ร็อธ และ ลอยด์ เอส. แช็ปลีย์
- สาขาวรรณกรรม - โม่เหยียน
- สาขาสันติภาพ - สหภาพยุโรป
- สาขาฟิสิกส์ - แซร์ฌ อาร็อช และ เดวิด เจ. ไวน์แลนด์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ - ชินยะ ยามานากะ และ จอห์น เกอดอน
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรมสำคัญ
[แก้]- 23 มกราคม – วันตรุษจีน
- 7 มีนาคม – วันมาฆบูชา
- 13–15 เมษายน – สงกรานต์
- 9 พฤษภาคม – วันพืชมงคล
- 4 มิถุนายน – วันวิสาขบูชา
- 12 มิถุนายน – วันอัฏฐมีบูชา
- 23 มิถุนายน – วันบะจ่าง
- 2 สิงหาคม – วันอาสาฬหบูชา
- 3 สิงหาคม – วันเข้าพรรษา
- 31 สิงหาคม – วันสารทจีน
- 30 กันยายน – วันไหว้พระจันทร์
- 15–23 ตุลาคม – เทศกาลกินเจ
- 30 ตุลาคม – วันออกพรรษา
- 28 พฤศจิกายน – วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม – วันคริสต์มาส
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- ซิ่ง สั่ง ตาย (Death Race) (พ.ศ. 2551) – ในเนื้อเรื่องกล่าวว่าในปี ค.ศ. 2012 เป็นปีที่ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาล่มสลาย
- ข้าคือตำนานพิฆาตมหากาฬ (I Am Legend) (พ.ศ. 2552) – ดำเนินเรื่องในปีนี้
- 2012 วันสิ้นโลก (2012) (พ.ศ. 2552) – ดำเนินเรื่องในปีนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์วันสิ้นโลกที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2012 อ้างตามปฏิทินมายา
การ์ตูน
[แก้]- หนังสือการ์ตูนเรื่อง วัยซนคนการ์ตูน ดำเนินเหตุการณ์ตามปีนี้
อ้างอิง
[แก้]- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์).
- ↑ "2012 - International Year of Cooperatives". United Nations. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.
- ↑ "2012 - International Year of Sustainable Energy for All". United Nations. สืบค้นเมื่อ April 14, 2015.
- ↑ "TurningCentenary.eu". Turingcentenary.eu. 2010-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-18. สืบค้นเมื่อ 2010-06-02.
- ↑ Fahmy, Mohamed Fadel; Lee, Ian (2 February 2012). "Anger flares in Egypt after 79 die in soccer riot". ระบบแพร่สัญญาณเทอร์เนอร์. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
- ↑ "Egypt football violence leaves many dead in Port Said". BBC News. 1 February 2012. สืบค้นเมื่อ 1 February 2012.
- ↑ "Honduras Prison Fire Kills Hundreds Of Inmates". Sky News. February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ February 15, 2012.
- ↑ McCarthy, Tom (2012-03-13). "Encyclopedia Britannica halts print publication after 244 years". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2012-03-14.
- ↑ Adam Nossiter (22 March 2012). "Soldiers Declare Coup in Mali". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
- ↑ "Tuareg rebels declare independence in north Mali". France 24. 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2012-04-06.
- ↑ "The Associated Press: Military: Guinea-Bissau prime minister arrested". Google.com. 2012-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-13. สืบค้นเมื่อ 2012-05-06.
- ↑ Sang-hun, Choe (March 16, 2012). "North Korea Says It Will Launch Satellite Into Orbit". Nytimes.com. สืบค้นเมื่อ March 16, 2012.
- ↑ "High winds mar opening of Tokyo's Skytree tower". BBC News. 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ 2012-07-04.
- ↑ NASA. "NASA Transit of Venus". สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
- ↑ Wall Street Journal. "Chinese Spacecraft Docks With Orbiting Module". สืบค้นเมื่อ July 4, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "CERN experiments observe particle consistent with long-sought Higgs boson". CERN press release. 4 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
- ↑ Taylor, Lucas (4 July 2012). "Observation of a New Particle with a Mass of 125 GeV". CMS Public Website. CERN.
- ↑ "Latest Results from ATLAS Higgs Search". ATLAS. 4 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
- ↑ Video (04:38) – CERN Announcement (4 July 2012) Of Higgs Boson Discovery.
- ↑ Overbye, Dennis (4 July 2012). "A New Particle Could Be Physics' Holy Grail". New York Times. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
- ↑ Hriday Sarma and Ruby Russell (31 July 2012). "620 million without power in India after 3 power grids fail". USA Today.
- ↑ "NASA's Next Mars Rover Hoisted Atop Rocket". Space.com.
- ↑ "Canada cuts diplomatic ties with Iran". The Guardian. 2012-09-07. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.
- ↑ http://www.npr.org/2012/09/20/161450341/official-versions-diverge-over-u-s-consulate-attack
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-13.
- ↑ "Christopher Stevens, U.S. ambassador to Libya, killed in Benghazi". Los Angeles Times. 2012-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2012-09-12.
- ↑ "Turmoil Over Contentious Video Spreads to Yemen and Iran". The New York Times. 2012-09-13. สืบค้นเมื่อ 2012-09-13.
- ↑ "Widespread protests against U.S. over anti-Muslim film". CBS News. 2012-09-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
- ↑ "Middle East protests against US embassies - live". The Telegraph. 2012-09-14. สืบค้นเมื่อ 2012-09-14.
- ↑ (CNN). Retrieved October 14, 2012.
- ↑ <span class="plainlinks"NYDaily News:Red Bull Stratos เก็บถาวร 2012-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved October 15, 2012.
- ↑ "Felix Baumgartner's jump from space's edge watched by millions". Associated Press. 15 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-18. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
- ↑ CNN Report: Superstorm Sandy. Retrieved October 30, 2012.
- ↑ Cleveland News เก็บถาวร 2018-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Superstorm Sandy. Retrieved October 30, 2012.
- ↑ Telegraph.co.uk News Report. October 30, 2012.
- ↑ "Hamas military chief killed in Israeli attack". Al Jazeera English. 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
- ↑ "Hamas remain defiant as Israeli strikes hit Gaza". Euronews. 15 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 15 November 2012.
- ↑ USA Today News Report on Conflict Treaty. Retrieved 23 November 2012.
- ↑ The New York Times Report on Conflict Treaty. Retrieved 23 November 2012.
- ↑ CNN Report Report on Conflict Treaty. Retrieved 23 November 2012.
- ↑ "Philippine typhoon toll continues to climb". aljazeera. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ "Philippines, leftist rebels declare truces in disaster areas". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-12. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
- ↑ "'Pablo:' 890 missing, 714 dead - NDRRMC". Rappler. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.
- ↑ Vick, Karl (22 November 2012). "Why Palestine Will Win Big at the UN". Time. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
- ↑ "Climate talks: UN forum extends Kyoto Protocol to 2020". BBC News. 8 December 2012.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2012-03-19.
- ↑ "Neslisah Sultan, Last Ottoman Dynasty Member, Dies at 91" (Press release) (ภาษาอังกฤษ). The Inquisitr. 4 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2555.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)