ดีดีที
DDT | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | 1,1,1-trichloro-2,2-di(4-chlorophenyl)ethane |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [50-29-3][CAS] |
PubChem | |
ATC code | P03 ,QP53AB01 (WHO) |
SMILES | |
InChI | |
ChemSpider ID | |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C14H9Cl5 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 354.49 g/mol |
ความหนาแน่น | 0.99 g/cm³[1] |
จุดหลอมเหลว |
109 °C[1] |
จุดเดือด |
decomp.[1] |
ความอันตราย | |
การจำแนกของ EU | Yes |
อันตรายหลัก | T, N |
R-phrases | R25 R40 R48/25 R50/53 |
S-phrases | (S1/2) S22 S36/37 S45 S60 S61 |
LD50 | 113 mg/kg (rat) |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
ดีดีที (DDT) ย่อมาจาก ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน (อังกฤษ: dichlorodiphenyltrichloroethane) เป็นยาฆ่าแมลงประเภทสารสังเคราะห์ออร์กาโนคลอรีน นิยมใช้มาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ดีดีทีถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1874 โดยออตมาร์ ซีดเลอร์ นักเคมีชาวออสเตรีย [2] แต่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งทราบคุณสมบัติในการกำจัดแมลง ในปี ค.ศ. 1939 จากการค้นพบโดยพอล แฮร์มันน์ มูลเลอร์ นักเคมีชาวสวิส จากนั้นดีดีทีได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมโรคมาลาเรียและไข้รากสาดใหญ่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และนิยมใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชและผลผลิตทางเกษตรกรรมในช่วงหลังสงคราม ประมาณการว่ามีการผลิตและใช้งานดีดีทีถึง 1.8 ล้านตัน [1]
ในปี ค.ศ. 1962 นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ ราเชล คาร์สัน ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring บรรยายถึงผลกระทบของดีดีทีต่อสิ่งแวดล้อม, การก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดโดยเฉพาะนกเช่น อินทรีหัวขาว มีจำนวนลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [3] ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยสืบเนื่อง และรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้ดีดีทีอย่างขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จนมีการประกาศใช้กฎหมายห้ามใช้ดีดีทีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 และเกิดอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม ห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 [4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Toxicological Profile: for DDT, DDE, and DDE. Agency for Toxic Substances and Disease Registry, September 2002.
- ↑ Environmental Health Criteria 9: DDT and its derivatives, World Health Organization, 1979.
- ↑ "Bald Eagle Facts and Information". American eagle foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
- ↑ Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ DDT
![]() |
บทความเกี่ยวกับเคมีนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เคมี |