ข้ามไปเนื้อหา

สมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nobel Assembly at the Karolinska Institute
ไทย: สมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกา
ก่อตั้ง1901
13 March 1978
(as a formal body)
สํานักงานใหญ่สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
สมาชิก
50 คน
ประธานกรรมการ
รูเนอร์ ทอฟท์โกร์ด
รองประธานกรรมการ
ยอน อันเดอร์สัน
เว็บไซต์www.nobelprizemedicine.org

สมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกา (อังกฤษ : Nobel Assembly at the Karolinska Institute) เป็นองค์กรนิติบุคคลของสถาบันแคโรลินสกาซึ่งมีหน้าที่พิจารณาและมอบรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา ตั้งอยู่ภายในสถาบันแคโรลินสกา กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

สมัชชาโนเบลได้ตั้งเป็นองค์กรนิติบุคคลที่ดูแลโดยสถาบันแคโรลินสกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1977 แรกเริ่มไม่ได้เป็นองค์กร แต่เป็นเพียงกลุ่มของศาสตราจารย์ของสถาบันเท่านั้น ตั้งแต่เริ่มต้นที่มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา ปีค.ศ. 1901 จนถีงปี ค.ศ. 1984 ศาสตราจารย์ทุกคนของสถาบันจะเป็นสมาชิกสมัชชาโนเบล และได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นมาเป็นที่สมัชชาโนเบลที่มีสมาชิกเพียง 50 คนเท่านั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 เป็นต้นมา

หน้าที่ของสมัชชาโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยาคือรวบรวมและพิจารณารายชื่อผู้ที่ถูกเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบล การคัดเลือกจะทำโดยคณะกรรมการโนเบล (Nobel committee) ซึ่งมีสมาชิก 5 คน ณ สถาบันแคโรลินสกา คณะกรรมการโนเบลมีอำนาจในการสนับสนุนผู้มีชื่อเข้ารับรางวัล แต่อำนาจการตัดสินใจสุดท้ายจะอยู่ที่ที่ประชุมสมัชชาโนเบล [1]

ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยาจะได้โดยการเชิญเท่านั้น กล่าวคือ ไม่สามารถเสนอผลงานของตัวเองให้สมัชชาพิจารณาเองได้

ที่มา

[แก้]

รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยา เป็นเจตจำนงตามพินัยกรรมของอัลเฟรด โนเบลนักเคมีชาวสวีเดน ในปีค.ศ. 1885 ที่ได้มอบให้สถาบันแคโรลินสกาดูแล [2] และได้มอบเป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1901 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์หรือสรีรวิทยาจะได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมของกลุ่มศาสตราจารย์ของสถาบัน แต่ก็กล่าวได้ว่ามาจากกลุ่มการพิจารณารางวัลโนเบล

ในปีค.ศ. 1977 สมัชชาโนเบลได้แยกตัวเป็นองค์กรนิติบุคคลเพราะได้คำนึงถึงกระบวนการตัดสินใจในการมอบรางวัลโนเบล เนื่องจากสถาบันแคโรลินสกา เป็นมหาวิทยาลัยที่ของรัฐที่จะต้องทำตามกฎหมายประเทศสวีเดนคือต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆให้สาธารณะชนรับทราบทั่วไป การออกมาเป็นองค์กรนิติบุคคลของสถาบันแคโรลินสกา สามารถมีความเป็นส่วนตัวได้มากขึ้นและสามารถทำตามข้อกำหนดของรางวัลโนเบล ที่ตั้งโดยมูลนิธิอัลเฟรด โนเบลได้ ในกรณีนี้รวมไปถึงการรักษาความลับของผู้ถูกเสนอชื่อ กระบวนการคัดเลือก ว่าจะไม่สามารถเปิดเผยได้ก่อน 50 ปีนับจากการมอบรางวัลในแต่ละครั้ง รวมไปถึงกฎหมายที่จะสามารถโต้แย้งต่อศาลปกครองก็จะไม่สามารถทำได้

มีองค์กรนิติบุคคลอีก 2 ส่วนที่คล้ายกันซึ่งจะพิจารณาผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาอื่นๆคือ ราชบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน (Royal Swedish Academy of Science) และ บัณฑิตยสภาแห่งสวีเดน (Swedish Academy)

อ้างอิง

[แก้]