ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
ศาสตราจารย์ ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2543 รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2545 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และล่าสุดได้รับรางวัล The 2008 ASAIHL-SCOPUS Young Scientist Awards ในสาขา Engineering & Technology ประจำปี พ.ศ. 2551 จาก Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL) ร่วมกับสำนักพิมพ์ Elsevier [1][2]
ปัจจุบัน ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านเทคโนโลยีวัสดุ สังกัดสายวิชาเทคโนโลยีวัสดุ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นศาสตราจารย์เมื่ออายุน้อย
ประวัติการศึกษา
[แก้]ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวช. ในสาขาช่างท่อและประสาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2531, ปริญญาตรีในสาขาเคมีอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อปี พ.ศ. 2535, ปริญญาโทในสาขา Polymer Science & Technology จาก UMIST ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2537 และปริญญาเอกในสาขา Polymer Science & Technology (Polymer Processing & Rheology) จาก UMIST ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2540
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-01. สืบค้นเมื่อ 2008-12-26.
- ↑ ศาสตราจารย์ ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2545[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๐๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- บุคคลจากคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์