ประพนธ์ วิไลรัตน์
ศาสตราจารย์ ประพนธ์ วิไลรัตน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., จ.ภ. | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2487 กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย |
ศาสตราจารย์ ประพนธ์ วิไลรัตน์ เกิดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นแฝดผู้พี่ของรองศาสตราจารย์ ดร.ประพิณ วิไลรัตน์ และเป็นบุตรคนที่หนึ่ง ในจำนวน 4 คน ของนายนิพนธ์ และนางสดับพิณ วิไลรัตน์ ศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทยผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมี มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการทำงานของวิตามินอี โรคมาลาเรีย และโรคธาลัสซีเมีย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาชีวเคมีจากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 สมรสกับนางมัลลิกา วิไลรัตน์ มีบุตร 1 คน
ประวัติการศึกษา[แก้]
- สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียน St. David Preparatory School กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียน Alexandra Grammar School ประเทศสิงคโปร์
- ได้รับทุนโคลัมโบจากรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2506-2509 ไปศึกษาในสาขาวิชาเคมี ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เมืองแคนเบรา
- หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับสองแล้ว ได้รับทุนมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาชีวเคมี ในปี พ.ศ. 2517
ประวัติการทำงาน[แก้]
- ตำแหน่งวิชาการ
- เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2517
- ด้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2520 รองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2524 และศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2541
- ตำแหน่งบริหาร
- หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2534
- รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ
- ประธานสาขาชีวเคมี ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2531-2533
- บรรณาธิการวารสาร Journal of Science Society of Thailand ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2535
- กรรมการบรรณาธิการวารสาร Asia Pacific Journal of Molecular Biology and Biotechnology ระหว่างปี พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน
เกียรติคุณและรางวัล[แก้]
- พ.ศ. 2530 - รางวัล มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย
- พ.ศ. 2535 - รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาความเป็นครู
- พ.ศ. 2538 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงานวิจัยเรื่อง "การทำงานของวิตามินอีในการลดโคเลสเตอรอลในกระต่าย"
- พ.ศ. 2539 - เป็นผู้ร่วมคณะ ในโครงงานที่ได้รับรางวัลที่ 1 ผลงานประดิษฐ์คิดค้นยอดเยี่ยม จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2539 - รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2539 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาชีวเคมี
- พ.ศ. 2540 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาชีวเคมี จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
- รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2543 - เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาชีวเคมี ระยะที่ 2
- พ.ศ. 2547 - รางวัลปาฐกถาสวัสดิ์ สกุลไทย จากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2546 - อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
ผลงานด้านการวิจัย[แก้]
ศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนกว่า 140 เรื่อง โดยเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินอี ในการทำหน้าที่เป็นสาร antioxidant แนวทางในการนำวิตามินอี มาใช้เป็นยาลดโคเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี การศึกษาชีวเคมีและพยาธิสรีรวิทยาในระดับโมเลกุลของโรคที่พบมากในประเทศไทย จำนวน 2 ชนิด คือโรคมาลาเรีย และโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหายาใหม่ๆ หรือวิธีการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2541 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2553 –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาวิทยาศาสตร์[4]
- พ.ศ. 2542 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- กล่องข้อมูลชีวประวัติใช้พารามิเตอร์ตัวเลข
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- ศาสตราจารย์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยออริกอน
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของประเทศไทย
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์