วิสุทธิ์ ใบไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้

ไฟล์:Visut.jpg
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2485 (82 ปี)
จังหวัดสุโขทัย
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

ศาสตราจารย์ วิสุทธิ์ ใบไม้ นักวิทยาศาสตร์​ชาว​ไทย เกิด 1 เม.ย. 2485 ที่ตำบลกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีววิทยา พันธุศาสตร์ และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ BRT (Biodeversity Research and Training Program) หรือมีชื่อภาษาไทยว่า "โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย" อันเป็นโครงการที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) ให้ทุนสนับสนุนมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2529 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาพันธุศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2533 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา เมื่อ ปี พ.ศ. 2539

ศ.วิสุทธิ์ ใบไม้ เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 6 คน ของนายเกี๊ยด และนางแขก ใบไม้ สมรสกับนางเสาวภา (สีเขียว) มีบุตรชาย 3 คน คือ นายชัยสิทธิ์ นายชัยวัฒน์ และนายวิภัช ใบไม้

ประวัติการศึกษา[แก้]

ศ.วิสุทธิ์ ใบไม้ หรือ ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านกง (ราษฎร์อุทิศ) อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา (ม.1-2) จากโรงเรียนสวรรควิทยา อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ม.3-6 จากโรงเรียนมัธยมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.7-8) จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (สามพราน) จังหวัดนครปฐม ตามลำดับ

เมื่อปี พ.ศ. 2503-2504 ได้เข้าศึกษาเตรียมแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) ต่อจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้รับทุนโคลอมโบ ไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสัตววิทยา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จาก มหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2508 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาพันธุศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

ประวัติการทำงาน[แก้]

ตำแหน่งวิชาการ

  • พ.ศ. 2512 - อาจารย์โท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2513 - อาจารย์โท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2513 - อาจารย์เอก ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2516 - นักวิจัยหลังปริญญาเอก มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2518 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2521 - รองศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2524 - ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2524 - ศาสตราจารย์อาคันตุกะ มหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล
  • พ.ศ. 2532 - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตำแหน่งบริหาร

  • พ.ศ. 2518-2534 - หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน - ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT)

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ

  • กรรมการส่งเสริมการแต่งตำราสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการสร้างข้อสอบสัมฤทธิ์ผล ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (สาขาชีววิทยา) ทบวงมหาวิทยาลัย
  • กรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ ทบวงมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และสำนักงาน ก.ค
  • กรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา
  • กรรมการบริหารและที่ปรึกษาสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏ
  • กรรมการบริหารสมาพันธ์พันธุศาสตร์นานาชาติ (IGF)
  • กรรมการคณะอนุกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  • ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2538
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
  • กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรรมการในคณะทำงานจัดตั้งองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุกรรมการป่าเขตร้อนและความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานสิทธิมนุษยชน
  • กรรมการบริหารศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ประธานคณะทำงานวิชาการโครงสร้างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กทส.)
  • ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
  • ประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กรรมการคณะกรรมการบริหารโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทางชีววิทยาสภาวิจัยแห่งชาติ
  • คณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (กพอ) 2548
  • คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (2548)
  • คณะกรรมการพิจารณาการขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา (2548)
  • คณะกรรมการศึกษาและจัดทำโครงสร้างสำนักบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ (องค์กรมหาชน) (2548)

สมาชิกสมาคมระดับนานาชาติ

  • The Society for the Study of Evolution
  • The Genetics Society of Japan
  • The American Mosquito Control Association
  • The Italian Society of Parasitology
  • The Comparative Endocrinology and Molecular Evolution Society

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๙, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘