พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ | |
---|---|
เกิด | พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยชาร์สล์สเติร์ต Charles Sturt University, Australia |
อาชีพ | เภสัชกร, อาจารย์ |
ศาสตราจารย์ เภสัชกร พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ (Pornsak Sriamornsak) เป็นเภสัชกร, อาจารย์ชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจาก Charles Stuart University ประเทศออสเตรเลีย
พรศักดิ์ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเภสัชศาสตร์ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2556 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสภาวิจัยแห่งชาติ มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology) เน้นการพัฒนาและออกแบบรูปแบบยาและระบบนำส่งยา (Dosage Form and Drug Delivery Design) การผลิตยารูปแบบของแข็ง การใช้พอลิเมอร์ในทางเภสัชกรรม เทคนิคการพิมพ์สามมิติทางเภสัชกรรม นาโนเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม และวิศวเภสัชกรรม
ประวัติ[แก้]
ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) และปริญญาโท จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2537 และ 2539 ตามลำดับ และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย (International Postgraduate Research Scholarship) และจากมหาวิทยาลัย Charles Sturt (Charles Sturt University Postgraduate Research Scholarship) ในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัย Charles Sturt ประเทศออสเตรเลีย และสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการอยู่ที่เดิม เมื่อปี พ.ศ. 2545 ในปี พ.ศ. 2550 ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในสาขาเกษตรศาสตร์ (การจัดการการผลิตสัตว์)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ได้รับเงินประจำตำแหน่งสูงขึ้น (ศาสตราจารย์ระดับ 11 เดิม) สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้ารับราชการในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2539 และเข้ารับการฝึกอบรมต่างๆ โดยได้รับประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร/วุฒิบัตร จากการเข้ารับการฝึกอบรมฯ อาทิ
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรการฝึกอบรมความรู้ทางรัฐศาสตร์เรื่อง Bench-marking ในการบริหารองค์กร รุ่นที่ 4 โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (21 สิงหาคม 2548)
- วุฒิบัตรหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หลักสูตร 2 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (8-10 ตุลาคม 2555)
- วุฒิบัตรการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านคุณภาพ รุ่นที่ 1 โดยสมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) (31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2556)
- ประกาศนียบัตรการฝึกอบรมจริยธรรมการวิจัยในคน โดยชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (18 มิถุนายน 2558)
- เกียรติบัตรสำเร็จหลักสูตรธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาคณะ สำหรับคณะกรรมการคณะ รุ่นที่ 11 โดยสถาบันคลังสมองของชาติ (17-20 สิงหาคม 2558)
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 16 โดยสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (18-19 พฤษภาคม 2559)
- เกียรติบัตรสำเร็จหลักสูตรการประเมินผลกระทบจากงานวิจัยรุ่นที่ 1 โดยสถาบันคลังสมองของชาติ (26-27 พฤษภาคม 2559)
- วุฒิบัตรโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารมหาวิทยาลัยระดับสูง โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร (18 มกราคม - 17 กรกฎาคม 2561)
เคยได้รับเชิญเป็นนักวิจัยรับเชิญหรือนักวิจัยอาคันตุกะในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่
- Visiting Scientist, Department of Pharmacy, University of Sydney, Australia (2538)
- Visiting Researcher, Department of Pharmaceutical Technology, Chiba University, Japan (2540)
- Visiting Researcher, School of Biomedical Sciences, Charles Sturt University, Australia (2541)
- Visiting Researcher, Department of Pharmaceutical Engineering, University of Applied Sciences Berlin, Germany (2553)
และเคยเดินทางไปศึกษาดูงานในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในหลายภูมิภาค อาทิ
- ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อาทิ Universite Rene Descartes - Paris V, Universite Paris-Sud 11, Technische Universität Berlin, Beuth Hochschule für Technik Berlin, Otto-von-Guericke-Universität Magdeburg, Max-Planck-Institute for Colloids and Interface, Hochschule für Technik und Wirtschaft Berlin (2553)
- ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ University of Pharmacy Mandalay, University of Pharmacy Yangon, Universiti Teknologi MARA, Monash University Malaysia, National University of Singapore (2557)
- ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ Johns Hopkins University, Massachusetts Institute of Technology (MIT), Harvard University, University of Pennsylvania, New York University (2560)
- ศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาและวิจัยในประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) อาทิ National Taiwan Normal University, National Chung Cheng University, National Cheng Kung University, National Kaohsiung Normal University, Songshan Culture and Creative Park (2561)
- ศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาและนวัตกรรมในสหราชอาณาจักร อาทิ University of Cambridge, University of Leeds, Higher Education Academy, Heriot-Watt University (2561)
ตำแหน่งในปัจจุบัน[แก้]
- ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา (สำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์) (พ.ศ. 2560 -)
- อุปนายก สมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2563 -)
- กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก (พ.ศ. 2563 -)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร ประเภทคณาจารย์ประจำ (พ.ศ. 2564 -)
- Editor-in-Chief วารสาร Science, Engineering and Health Studies (SEHS) (พ.ศ. 2562 -)
- ประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2562 -)
ประสบการณ์ด้านการบริหาร[แก้]
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2546)
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2548)
- ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550)
- กรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2553)
- หัวหน้ากลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical Biopolymer Group, PBiG) คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2559)
- รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2551)
- รองคณบดีฝ่ายวิจัยและระบบสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2555)
- กรรมการประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2559)
- ที่ปรึกษาประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2559)
- เลขาธิการและกรรมการบริหารสมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2563)
- รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ (พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559)
- รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (ประเภทผู้บริหาร) (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2561)
- เลขานุการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2561)
- รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2562)
- ประธานอนุกรรมการเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2562)
ผลงานวิจัย[แก้]
งานวิจัยและพัฒนาของศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบรูปแบบยาหรือระบบนำส่งยาแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม โดยเน้นการพัฒนาสารพอลิเมอร์จากธรรมชาติ (เช่น เพกตินจากเปลือกส้มหรือกากผลไม้ อัลจิเนตจากสาหร่ายทะเล หรือ ไคโตแซนจากเปลือกกุ้งหรือกระดองปู เป็นต้น) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบนำส่งยาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยาที่ได้ทำการศึกษาวิจัย เช่น
- การออกแบบยาเม็ดโดยใช้เพคตินเป็นสารก่อเจล เพื่อชะลอการปลดปล่อยตัวยาที่ให้โดยการรับประทาน เนื่องจากเพกตินมีสมบัติในการดูดน้ำและพองตัวเกิดเป็นชั้นเจลรอบเม็ดยาได้ ซึ่งยาเม็ดที่ออกแบบสามารถเตรียมได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่เดิม ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน
- การพัฒนาระบบยาเม็ดเคลือบฟิล์มชนิดคอมพอสิตระหว่างเพกตินกับพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ไม่ละลายน้ำ เพื่อใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยยาจากระบบนำส่งยาแบบนำวิถีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (site-specific drug delivery system) ที่ลำไส้ใหญ่
- การพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มยาเม็ดโดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ผิวประจันของเม็ดยากับเพกตินเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน เพื่อใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยตัวยาออกจากเม็ดยา ซึ่งวิธีการนี้ช่วยลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ในการเคลือบ และไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงในการทำให้แห้ง
- การออกแบบระบบเจลบีดเพื่อเก็บกักยาหรือยาโปรตีนสำหรับใช้ในการนำส่งยาที่ให้โดยการรับประทาน โดยอาศัยหลักการเกิดเจลระหว่างประจุ (ionotropic gelation) ซึ่งทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ไม่ต้องใช้ความร้อนหรือแรงปั่นความเร็วสูง จึงไม่ทำให้โครงสร้างของยาโปรตีนเสียสภาพไป
- การพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมการปลดปล่อยยาจากระบบนำส่งยาชนิดลอยตัวได้ในกระเพาะอาหารเพื่อให้ระบบคงอยู่ในทางเดินอาหารนานขึ้น เพื่อใช้สำหรับยาที่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร ยาที่มีปัญหาการดูดซึม หรือยาที่มีปัญหาเรื่องความคงตัว
- การศึกษากลไกการยึดเกาะเยื่อเมือกในทางเดินอาหารและการพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดยึดเกาะเยื่อเมือก เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในบริเวณที่ต้องการหรือบริเวณที่ดูดซึมยา และการเกาะติดที่ชั้นเยื่อเมือกที่ปกคลุมเยื่อบุผิวทำให้ระยะทางที่ยาต้องแพร่ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดสั้นลงทำให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น
- การพัฒนารูปแบบยาและการตั้งตำรับเพื่อแก้ปัญหายาที่มีปัญหาการละลาย/การดูดซึมในทางเดินอาหาร
- การพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดมุ่งเป้าสำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- เทคนิคการพิมพ์สามมิติ (3D printing) สำหรับการออกแบบรูปแบบยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
นอกจากนั้น ได้ทำการวิจัยด้านการผลิตเพกตินจากเปลือกส้มโอซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นและนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและพัฒนาเป็นระบบนำส่งยารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพ
งานวิจัยในกลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (PBiG) เน้นการใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น เพกติน (pectin), ไคโตแซน (chitosan), อัลจิเนต (alginate), เชลแล็ก (shellac) เป็นต้น
ผลงานวิจัย
- ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 180 เรื่อง
- บทคัดย่อและรายงานวิจัยตีพิมพ์ในเอกสารการประชุมวิชาการในและต่างประเทศมากกว่า 340 เรื่อง
- บทความวิชาการมากกว่า 22 เรื่อง
- หนังสือและบทในหนังสือมากกว่า 17 เล่ม/บท
- คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 9 เรื่อง
- การถูกอ้างอิง (citation) ในฐานข้อมูล Scopus มากกว่า 4,500 ครั้ง และในฐานข้อมูล Google Scholar มากกว่า 6,700 ครั้ง
- บรรณาธิการ/กองบรรณาธิการของวารสารวิชาการต่างประเทศหลายฉบับ
เกียรติคุณและรางวัล[แก้]
- พ.ศ. 2563 - Included in the World’s Top 2% of the Most-cited Scientists 2020, in pharmacology and pharmacy, as ranked by Stanford University (position 529 among 94,611 scientists)
- พ.ศ. 2562 - Named as a finalist for ‘Alumni of the Year’ in the Australian Alumni Awards Thailand 2019
- พ.ศ. 2561 - รางวัล Outstanding Contribution Awards of Editorial Board Member จากวารสาร Asian Journal of Pharmaceutical Sciences
- พ.ศ. 2561 - รางวัลเพชรเภสัชมหิดล (เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2559 - รางวัล MyCRS Best Poster Award จาก Controlled Release Society (Malaysia Chapter)
- พ.ศ. 2556 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2556 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
- พ.ศ. 2556 - รางวัล 2012-2013 Thailand Distinguished Polymer Scientist จากสมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศ
- พ.ศ. 2555 - รางวัล Ishidate Award (Pharmaceutical Research) จาก Federation of Asian Pharmaceutical Association
- พ.ศ. 2554 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2553 ประเภทวิชาการ/วิจัย จากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2552 - รางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่นประจำปี 2552 (TRF-CHE-SCOPUS Researcher Award 2009) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักพิมพ์ Elsevier
- พ.ศ. 2552 - รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2552 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2548 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย (รางวัลชมเชย) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ศ. 2548 - รางวัลผลงานวิจัยดี ประจำปี พ.ศ. 2548 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2547 - รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สกว.-สกอ. ประจำปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- พ.ศ. 2547 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเภสัชศาสตร์ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2547 - รางวัลทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2546 (จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย)
- พ.ศ. 2545 - รางวัล Nagai Award Thailand 2002 (Outstanding Research) จาก Nagai Foundation Tokyo ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2545 - Charles Sturt University Writing-Up Award จาก Charles Sturt University ประเทศออสเตรเลีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๙๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๕๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๙๙, ๙ มกราคม ๒๕๕๘
- I AM : Pharmacist เภสัชกร https://www.youtube.com/watch?v=x3Q41NO94rA
- เทคโนโลยีกับการดูดซึมยา http://www.thai-explore.net/search_detail/result/423
- นวัตกรรมรูปแบบยาสำหรับผู้สูงอายุ https://www.facebook.com/watch/?v=1017910115080430
- ระบบนำส่งยามุ่งเป้าชนิดตอบสนองต่อสิ่งเร้า สำหรับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ https://www.youtube.com/watch?v=BqWhA6tstgU
- CPhI South East Asia Webinar - Dosage Form Design for Elderly https://www.youtube.com/watch?v=KLUzcLb4NGc&feature=youtu.be&t=1124
- Research Gate http://www.researchgate.net/profile/Pornsak_Sriamornsak
- เดลินิวส์ : เภสัชกรคนแรกที่เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ https://www.dailynews.co.th/article/213917
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ศาสตราจารย์
- เภสัชกรชาวไทย
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- บุคคลจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
- บุคคลจากสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.