สุทัศน์ ยกส้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุทัศน์ ยกส้าน

เกิด10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
จังหวัดตรัง ประเทศไทย
อาชีพนักวิทยาศาสตร์,อาจารย์,นักเขียน
สัญชาติไทย
จบจาก
หัวข้อฟิสิกส์ทฤษฎี
รางวัลสำคัญรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 2530

ศาสตราจารย์ สุทัศน์ ยกส้าน ( เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักเขียนชาวไทย มีผลงานวิจัยโดดเด่นในด้านฟิสิกส์ทฤษฎี ในการอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพตัวนำยิ่งยวด และได้รับรางวัลรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2530 ในสาขาฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ราชบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์[1]ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสสวท และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย[2]

ประวัติและการศึกษา[แก้]

สุทัศน์ ยกส้าน เกิดที่จังหวัดตรัง เป็นบุตรคนที่ 3 ใน 7 คน ของนายยงจินต์ และนางจุ้ยหิ้น ยกส้าน บิดาเป็นพ่อค้าเชื้อสายจีน เขาได้เรียนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนในจังหวัดตรัง และเดินทางมาศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2504- พ.ศ. 2506 และสามารถสอบเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ 2 ปีก่อน ได้รับทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และปริญญาโทสาขาฟิสิกส์จากอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน สหราชอาณาจักร ก่อนกลับมาเป็น อาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) [3] ก่อนได้รับทุนการศึกษาไปเรียนต่อ ปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านฟิสิกส์ของแข็งภาคทฤษฎีจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ริเวอร์ไซด์ สหรัฐอเมริกา[4]

การทำงาน[แก้]

ผลงานวิจัย[แก้]

ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน มีผลงานวิจัยที่ลงพิมพ์ในวารสารต่างประเทศถึง 37 เรื่องได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมวิชาการระดับนานาชาติ อาทิเช่น [6]

  • the Abdus Sulam International Centre for Theoretical Physics, Trieste Italy (Senior Associate)
  • the New York Academy of science, New York, U.S.A
  • the Royal College of Science, England (Associate)

ความสำเร็จ[แก้]

  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี [7]
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ราชบัณฑิต". ราชบัณฑิตยสภา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-16. สืบค้นเมื่อ 2023-02-16.
  2. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย
  3. จำปาเงิน, สมบัติ (2000). นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ.2525-2530 (PDF). กรุงเทพ: ชมรมเด็ก. p. 149-173. ISBN 9789742980542.
  4. "ประวัติ ด.ร. สุทัศน์ ยกส้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-21. สืบค้นเมื่อ 2008-11-10.
  5. ราชบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)
  6. นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2530
  7. นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 2525-2538 Outstanding Scientists 1982-1996. มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์. 2539.[ลิงก์เสีย] (ISBN 974-7575-64-7)
  8. "คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2530 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-11-10.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๗๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]