สันติ เล็กสุขุม
สันติ เล็กสุขุม | |
---|---|
เกิด | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 จังหวัดสมุทรสาคร |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | งานวิจัยเรื่องศิลปะอยุธยา |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม (เกิด 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะ นักโบราณคดี และราชบัณฑิต เป็นที่รู้จักจากผลงานในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโดยเฉพาะในสมัยอยุธยา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม เกิดที่ จังหวัดสมุทรสาคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปริญญาโทจาก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีจาก มหาวิทยาลัยปารีส เป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสุดท้ายเป็น ศาสตราจารย์ ระดับ 11 และได้รับประกาศเชิดชูเป็น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เคยเป็นหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร[1] มีผลงานเขียนตำราประมาณ 20 เล่มและบทความวิชาการมากกว่า 100 บทความ เคยได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติในปี พ.ศ. 2543 จากผลงานเรื่องพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขาเป็นราชบัณฑิต และเคยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ กรมศิลปากร และ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขามนุษยศาสตร์[6]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (6 August 2017). "72 ปี "สันติ เล็กสุขุม" ปราชญ์ ครู และผู้ให้". Matichon. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม (ราชบัณฑิต)". Office of the Royal Society. สืบค้นเมื่อ 10 September 2022.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒, ๒ เมษายน ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๗๕๗, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒