ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เก็บกวาดบุคคล}}
[[ไฟล์:RongPakdee-2DL.jpg|thumb|250px|right|เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙]]
[[ไฟล์:RongPakdee-2DL.jpg|thumb|250px|right|เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:33, 20 มกราคม 2562

เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙

นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2529 สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์)[1] ผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในการเป็นต้นแบบสาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพต่อเบื่องพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมี คุณหญิงนัฏฏานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) ภรรยา พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) อดีตเจ้ากรมมหรสพ ผู้ปรดิษฐ์ท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ร่วมดูเป็นประจักษ์พยานในความถูกต้อง และนายรงภักดีถ่ายทอดท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพให้กับนาฏศิลปินโขนยักษ์เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ถูกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ

นายรงภักดีเข้ารับการฝึกหัดโขนยักษ์ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชานาฏศิลปไทยได้แก่

  1. พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต)
  2. คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต)
  3. พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต)
  4. พระยาสุนทรเทพระบำ (เปลี่ยน สุนทรนัฏ)
  5. หลวงรำถวายกร (สาย สายะนัฏ)

และยังมีครูอาจารย์ทั้งชายและหญิงอีกหลายท่าน

นายรงภักดีรับราชการเป็นศิลปินแสดงโขนเป็นตัวเอกในเรื่อง รามเกียรติ์ เช่น พิราพ, รามสูร, กุมภกรรณ, มัยราพณ์, วิรุญจำบัง และตัวอื่นๆอีก ได้แสดงโขนหน้าพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง

ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นตำรวจหลวง ร.อ. ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(และยังมีหน้าที่เป็นครูสอนโขน ฝ่ายยักษ์อีกด้วย) จนถึงรัชกาลที่ 9 เมื่อมีอายุครบ 60 ปี ตามปกติจะต้องพ้นจากหน้าที่ราชการ (ครบเกษียณอายุ) รับพระราชทานบำเหน็จ บำนาญ แต่ด้วยความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติราชการ จึงให้รับราชการต่อไป เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์) พ.ศ. 2529 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิริอายุได้ 90 ปี

การสาธยายท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ

ปฐมบทในการการถ่ายทอดท่ารำ

หลังจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีศิลปินที่สามารถรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพได้ เหลืออยู่เพียงผู้เดียวคือ นายรงภักดี (เจียร จารุจรณ) แต่ท่านก็มิอาจถ่ายทอดให้แก่ศิษยานุศิษย์ผู้หนึ่งผู้ใดได้ หากมิได้รับพระบรมราชโองการ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสียก่อน เมื่อนายธนิต อยู่โพธิ์ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรได้พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร ได้รับการถ่ายทอดการรำหน้าพาทย์เพลงองค์พระพิราพ ความทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ นายรงภักดี ( เจียร จารุจรณ ) ครูผู้ใหญ่ในพระราชสำนัก ประกอบพิธีครอบองค์พระพิราพ ให้แก่ศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร ณ บริเวณโรงละคร พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๖ ศิลปินอาวุโสที่ได้รับครอบองค์พระพิราพ จำนวน ๔ ท่าน คือ

  1. นายอาคม สายาคม
  2. นายอร่าม อินทรนัฏ
  3. นายหยัด ช้างทอง
  4. นายยอแสง ภักดีเทวา
แผนผังระยะเวลาการถ่ายทอดท่ารำ

รูปนายรงภักดีกับการรำหน้าพาทย์องค์พระพิราพ

รูปจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายรงภักดี ( เจียร จารุจรณ )

อ้างอิง

  • หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายรงภักดี ( เจียร จารุจรณ ) ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๙ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ )
  • จดหมายเหตุพระราชพิธี พระราชทานครอบประธานประกอบพิธีไหว้ครูโขน-ละคร และพิธีต่อท่ารำเพลงหน้าพาทย์ องค์พระพิราพ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ โดยกรมศิลปากร