ข้ามไปเนื้อหา

พระปารวตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระแม่ปารวตี)
พระแม่ปารวตี
เทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน พลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นแม่ ความอ่อนโยน การเลี้ยงดู ความปรองดอง ความสวยงาม ความจงรักภักดี
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี
พระแม่ปารวตีและพระศิวะ ภาพพิมพ์นิยมจำหน่ายในบาซาร์ (bazaar art) ยุค 1950
ชื่อในอักษรเทวนาครีपार्वती
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตPārvatī
ส่วนเกี่ยวข้องตรีเทวี[1], อาทิปราศักติ, ศักติ, เทวี, กาลี, ทุรคา, ตริปุรสุนทรี, สตี, พระปรเมศวรี, พระแม่ศักติ-ศิวา,ไวษโณเทวี พระมีนากษี,พระแม่มเหศวรี, อัมพิกา, เกาศิกี, มูกามพิกา, มาตฤกา, มหาวิทยา
ที่ประทับเขาไกรลาส
มนตร์สรรวะมังคะละมางคัลเย ศิเว สรรวารถะสาธิเกฯ ศะรัณเย ตรยัมพะเก เคาริ นารายะณิ นะโมสตุ เต๚[2]
สัญลักษณ์โยนี, ตรีศูล
วันวันจันทร์ และ วันศุกร์
พาหนะเสือ สิงโต โคนนทิ
เทศกาลนวราตรี, กาลีบูชา, วิชัยทัศมี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระศิวะ
บุตร - ธิดาพระพิฆเนศ[3]
พระขันทกุมาร[4]
บางแห่งรวม: อโศกสุนทรี
บิดา-มารดาท้าวหิมวัต
พระนางเมนกา[7][8]
พี่น้องพระแม่คงคา (ภคินี)[5], Mainaka (เชษฐา)[6]

พระแม่ปารวตี (สันสกฤต: पार्वती Pārvatī) หรือ พระแม่อุมา (สันสกฤต: उमा Umā) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์[9][10][11] ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราว[12] พระนางกับพระลักษมีและพระสรัสวดี ประกอบกันเป็นตรีเทวี[13]

พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้าย[14] พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางเมนกาผู้เป็นพระชายา[15] พระนางทรงให้กำเนิดพระพิฆเนศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระภคินีของพระวิษณุและพระแม่คงคา[16][6]

พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งลัทธิไศวะ หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ[17][18] ในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง[19][20]

ศัพทมูล

[แก้]

คำว่า "ปารวตี" มีที่มาจาก "ปรรวัต" (สันสกฤต: पर्वत Parvata) คือ บรรพต แปลว่า ภูเขา พระนามหนึ่งของพระหิมวัต พระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งภูเขา[14][15] "ปารวตี" แปลว่า นางภูเขา[21]

ในวรรณกรรมฮินดู พระนางปารวตีทรงเป็นที่รู้จักในหลายพระนาม[22] คัมภีร์ ลลิตาสหสรนาม (Lalita Sahasranama) บันทึกพระนามของพระนางไว้ถึงหลักพัน[12]

หนึ่งในพระนามที่นิยมใช้เรียกขานพระนาง คือ "อุมา"[23] ในเอกสารสมัยแรก พระนามนี้เป็นของพระสตี ชายาองค์แรกของพระศิวะซึ่งกลับชาติมาเกิดเป็นพระนางปารวตี แต่เอกกสารสมัยหลัง เช่น รามายณะ ถือว่า "อุมา" เป็นไวพจน์ของ "ปารวตี" ซึ่งอุมาแปลว่าแสงสว่าง ชื่อเสียงหรือความราบคาบ [24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. James D. Holt (2014). Religious Education in the Secondary School: An Introduction to Teaching, Learning and the World Religions. Routledge. p. 180. ISBN 978-1-317-69874-6.
  2. Sharma, Mahima (2023-07-18). "Worship Goddess Parvati by Offering These Things". Times of India. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28.
  3. Williams 1981, p. 62.
  4. Cush, Robinson & York 2008, p. 78.
  5. Siva: The Erotic Ascetic. Oxford University Press. 28 May 1981. ISBN 978-0-19-972793-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 19 March 2023.
  6. 6.0 6.1 Wilkins 2001, p. 295. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "wjw295" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  7. C. Mackenzie Brown (1990). The Triumph of the Goddess: The Canonical Models and Theological Visions of the Devi-Bhagavata Purana. SUNY Press. ISBN 9780791403648. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2024. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  8. Sita Narasimhan (2006). Śaivism Under the Imperial Cōl̲as as Revealed Through Their Monuments. p. 100. ISBN 9788188934324.
  9. H.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin, ISBN 978-8185822594
  10. James Hendershot, Penance, Trafford, ISBN 978-1490716749, pp 78
  11. Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses, ISBN 978-8176250399, pp 245-246
  12. 12.0 12.1 Keller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press, ISBN 978-0253346858, pp 663
  13. Frithjof Schuon (2003), Roots of the Human Condition, ISBN 978-0941532372, pp 32
  14. 14.0 14.1 Edward Balfour, Parvati, p. 153, ที่กูเกิล หนังสือ, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153
  15. 15.0 15.1 H.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin, ISBN 978-8185822594, pp 11
  16. Edward Washburn Hopkins, Epic Mythology, p. 224, ที่กูเกิล หนังสือ, pp. 224-226
  17. Ananda Coomaraswamy, Saiva Sculptures, Museum of Fine Arts Bulletin, Vol. 20, No. 118 (Apr., 1922), pp 17
  18. Stella Kramrisch (1975), The Indian Great Goddess, History of Religions, Vol. 14, No. 4, pp. 261
  19. Hariani Santiko, The Goddess Durgā in the East-Javanese Period, Asian Folklore Studies, Vol. 56, No. 2 (1997), pp. 209-226
  20. Ananda Coomaraswamy, Saiva Sculptures, Museum of Fine Arts Bulletin, Vol. 20, No. 118 (Apr., 1922), pp 15-24
  21. Alain Daniélou (1992), Gods of Love and Ecstasy: The Traditions of Shiva and Dionysus, ISBN 978-0892813742, pp 77-80
  22. John Muir, Original Sanskrit Texts on the Origin and History of the People of India, p. 422, ที่กูเกิล หนังสือ, pp 422-436
  23. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 68.
  24. Wilkins pp.240-1

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Srivastava, A. L. (2004). Umā-Maheśvara: An Iconographic Study of the Divine Couple. Sukarkshetra Shodh Sansthana.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]