ไวษโณเทวี
พระแม่ไวษโณเทวี | |
---|---|
เทพมารดร, เทพีแห่งภูเขา | |
เทวรูปพระแม่ไวษโณเทวี แบบประเพณีอินเดียในปัจจุบัน | |
ชื่ออื่น | ไวษณวี, ทุรคา, ปารวตี, มหามายา, มาตาราณี, อัมเบ, ตรีกูฏ, ชคัทอัมพา, ภควดี, ศักติ, เศราวาลี, อัมพิกา, ชโยตวาตี, ปาหาธาวาลี |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | वैष्णो देवी |
ส่วนเกี่ยวข้อง | มหาเทวี, ทุรคา, พระปารวตี, พระลักษมี, พระสุรัสวดี, กาลี, มหากาลี |
ที่ประทับ | ไวษโณเทวี มณเฑียร, การตะ, ประเทศอินเดีย |
พาหนะ | เสือ, สิงโต |
บิดา-มารดา | รัตนการสาคร (Ratnakarsagar) และ สัมริทธิ (Samriddhi) |
ไวษโณเทวีเป็นพระเทวีท้องถิ่นที่ได้รับการยกย่องเป็นเทพมารดร อาทิปราศักติ พระนางคือพลังอีกภาคของไวษณวีและกำเนิดขึ้นจากพลังทั้งสามของของกาลี ลักษมี สุรัสวดีโดยรวมเป็นพลังอำนาจอันไม่ประมาณของพระทุรคา[1] โดยวัดที่เริ่มต้นกำเนิดแห่งพระนางอยู่ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ประเทศอินเดีย
ในประเทศไทยเมื่อกระแสความนิยมในเทพเจ้าฮินดูในไทย ด้วยเทวลักษณะของพระนางใกล้เคียงกับเทวลักษณะของพระแม่ทุรคา ผู้ที่ในศรัทธาในเทพเจ้าฮินดูในไทยมักเข้าใจผิดและเรียกพระนางว่า พระแม่อุมาขี่เสือ เช่นเดียวกับความเข้าใจในประติมานวิทยาของเทวลักษณะของเทพเจ้าฮินดูในไทยพระองค์อื่น ๆ เช่น กรณีของพระสทาศิวะที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระตรีมูรติ กรณีของพระแม่สันโดษีที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่อุมาเทวี กรณีของพระแม่ตาราในพุทธแบบวัชรยานที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่อุมาเทวี กรณีของพระแม่โกดิยาร์ที่ถูกเข้าใจผิดเป็นพระแม่คงคา เป็นต้น[2]
การบูชา
[แก้]ในตำนานอภชาวหัน (Abha Chauhan) ระบุว่า พระนางไวษโณเทวี คือภาคหนึ่งของพระนางทุรคาและเป็นหนึ่งเดียวกับ กาลี ลักษมี สุรัสวดี[3] ในขณะที่ตำนาน พิณตจมัน (Pintchman) ระบุว่าพระนางไวษโณเทวี เป็นหนึ่งเดียวกับ พระแม่มหาเทวีผู้เป็นใหญ่[4] และตำนานพิณฑชมันย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าพระนางไวษโณเทวี และ พระนางทุรคา (ซึ่งคือภาคหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี ตามคติศาสนาแบบพหุเทวนิยม) ซึ่งผู้ศรัทธามักขนานพระนามของเทวีทั้งสองว่า เศรันวาลี (Sheranwali) "เจ้าแม่ผู้ขี่เสือ (the Lion-rider)"[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Famous Durga temples in India for religiously inclined souls". Times of India. 2 June 2022.
- ↑ https://mgronline.com/travel/detail/9640000014308
- ↑ Chauhan 2021, p. 154.
- ↑ Pintchman 2001, p. 62.
- ↑ Pintchman 2001, p. 63.