หม่อมราชนิกุล
หม่อมราชนิกุล หรือ หม่อมราชนิกูล เป็นยศพิเศษที่พระราชทานให้แก่หม่อมราชวงศ์ชายที่ปฏิบัติความดีความชอบในราชการแผ่นดิน ถ้าเทียบกับพระยศเจ้านายถือว่ามีอิสริยยศต่ำกว่าพระองค์เจ้าตั้ง[หมายเหตุ 1] แต่สูงกว่าหม่อมเจ้า[2]: 42 [3]: 88 ถ้าเทียบกับบรรดาศักดิ์ฝ่ายขุนนาง ถือว่าศักดิ์สูงกว่าพระ แต่ต่ำกว่าพระยา[4]: 1, 298 สมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า เจ้าราชนิกุล ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำว่า หม่อม แทนคำว่า เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปรากฏใช้คำว่า หม่อมราชสกุล[5]: 176 [6]: 69–70 หม่อมราชนิกุลท่านสุดท้ายในกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)[2]: 42
อย่างไรก็ตาม หม่อมราชนิกูลนั้นไม่นับว่าเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์จึงไม่ต้องใช้คำราชาศัพท์ และบุตร-ธิดาของหม่อมราชนิกูลก็ยังคงเป็นหม่อมหลวงเช่นเดิม ตั้งแต่อดีตหม่อมราชนิกูลมีจำนวนทั้งสิ้น 37 ท่าน โดยในปัจจุบันไม่มีผู้ดำรงยศนี้แล้ว
เจ้าราชนิกูลสมัยอยุธยา
[แก้]เจ้าราชนิกูล หมายถึง พระญาติฝ่ายพระมหากษัตริย์แต่ไม่ได้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้านาย[7]: 185 เข้าใจว่าเดิมมียศเสมอหม่อมเจ้าตั้ง[8]: 6 ซึ่งรวมทั้งหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ ที่สืบสายราชสกุลห่างไกลมาหลายชั้น ตลอดจนพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้าที่ห่างออกไป[9] ทำเนียบศักดินาสมัยอยุธยาเรียกว่า เจ้า เป็นเชื้อพระวงศ์ถือศักดินาระหว่าง 800–1,000 ส่วนใหญ่มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ฝ่ายคชศักดิ์ (ขี่ช้าง) และอัศวราช (ขี่ม้า) รักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด[10]: 122–123
- ทำเนียบศักดินาเจ้าราชนิกูลตามพระไอยการ 20 ตำแหน่ง[10]: 122–123
หน้าที่ขี่ช้างค่ายต้นเชือก ศักดินา 1000 มี 4 ตำแหน่ง
- เจ้าพิเทหราช
- เจ้าอนุรุทเทวา
- เจ้ามหานามราช
- เจ้าราชาไชย
หน้าที่ขี่ช้างค้ำปลายเชือก ศักดินา 800 มี 6 ตำแหน่ง
- เจ้าราชสีหยศ
- เจ้าภรตราชา
- เจ้าพงศ์ศีหบาท
- เจ้าชาติเดชะ
- เจ้ารามราฆพ
- เจ้าทศเทพ
หน้าที่ขี่ช้างถือศักดิ์ ศักดินา 800 มี 4 ตำแหน่ง
- เจ้านเรนทราชา
- เจ้านราธิราช
- เจ้าเทพราช
- เจ้าเทวาธิราช
หน้าที่โขลงกระบือ (ขนส่งและการเกษตร) ศักดินา 800 มี 4 ตำแหน่ง
- เจ้าราชาอุทัย
- เจ้าไพชนะเทพ
- เจ้ารามลักษณ์
- เจ้าอัคราช
ตำแหน่งรองชั้นเดียวกัน ศักดินา 800 มี 2 ตำแหน่ง
- เจ้าสุรินทร์
- เจ้าอินทราช
รายนามเจ้าราชนิกูล
[แก้]สมัยกรุงศรีอยุธยา
[แก้]- รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง
- พระศรีสุธรรมราชา[11]: 147
- รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา
เจ้าราชนิกูลรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาเพิ่มคำว่า พระ กลายเป็น เจ้าพระ เช่น[13]: 126
- เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ (ต่อมาสถาปนาเป็น กรมหมื่นอินทรภักดี)
- เจ้าพระอินทรอภัย
- เจ้าพระบำเรอภูธร[14]
- รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- พระพิเรนทรเทพ
- พระเทพวรชุน
- พระอไภยสุรินทร์
- พระอินทรอไภย
สมัยกรุงธนบุรี
[แก้]เจ้าราชนิกูลสมัยกรุงธนบุรีใช้คำว่า เจ้า เช่น[15]: 66
- เจ้านราสุริวงษ์
- เจ้ารามลักษณ์
- เจ้าประทุมไพรจิตร
- เจ้าอนิรุทธ์เทวา (หม่อมประยงค์)[16]: 2
- เจ้าเสง (ยังไม่ได้พระราชทานพระนาม)
- เจ้าบุญจัน (ยังไม่ได้พระราชทานพระนาม)
สมัยรัตนโกสินทร์
[แก้]รัชกาลที่ 1–3
[แก้]เจ้าราชนิกูลสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นใช้คำว่า พระ เช่น[17]: 20
- พระพงษ์นรินทร์ (เจ้าทัศพงษ์) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับคุณปรางพระสนม[18]: 5–6
- พระอินทรอภัย (เจ้าทัศภัย) โอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับคุณปรางพระสนม[18]: 5–6
- พระฦๅราชสุริยวงศ์ (หม่อมด้วง)[19]: 7
- พระอนุรุทธเทวา (หม่อมฮวบ)[19]: 7
- พระบำเรอราช (หม่อมเงิน)[19]: 7
- พระบำเรอภูธร (จีนเรือง) (ต่อมาสถาปนาเป็นกรมขุนสุนทรภูเบศร์)
- พระราชานุวงศ์ (หม่อมทองคำ)[20]: 123
รัชกาลที่ 4
[แก้]สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เปลี่ยนคำว่า พระ เป็น หม่อม แทน[17]: 20
รายนามหม่อมราชนิกุล
[แก้]- หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)
- หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์เนตร อิศรางกูร)
- หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์โต๊ะ อิศรางกูร)
- หม่อมทศทิศฦๅเดช (หม่อมราชวงศ์ผิว พนมวัน)
- หม่อมนราธิราช (หม่อมราชวงศ์ชิต ศิริวงศ์)
- หม่อมนราธิราช (หม่อมราชวงศ์ใหม่ นพวงศ์)
- หม่อมอนุรุทธเทวา (หม่อมราชวงศ์โนรี ศิริวงศ์)
- หม่อมอนุรุทธเทวา (หม่อมราชวงศ์สายหยุด สนิทวงศ์)
- หม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์เทวหนึ่ง ศิริวงศ์)
- หม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
- หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์มโนรถ ศิริวงศ์)
- หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์รัตน์ เสนีวงศ์)
- หม่อมนเรนทรราชา (หม่อมราชวงศ์สิทธิ์ สุทัศน์)
- หม่อมไพชยนต์เทพ (หม่อมราชวงศ์พิณ สนิทวงศ์)
- หม่อมดำรงรามฤทธิ์ (หม่อมราชวงศ์ฉาย พนมวัน)
- หม่อมดำรงรามฤทธิ์ (หม่อมราชวงศ์เชื้อ พนมวัน)
- หม่อมอนุวงศ์วรพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์สำเริง อิศรศักดิ์)
- หม่อมสีหพงษ์เพ็ญภาค (หม่อมราชวงศ์ตั้ว ชุมสาย)
- หม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ (หม่อมราชวงศ์เพิก ดารากร)
- หม่อมอนุยันต์ศิริวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ยัน พนมวัน)
- หม่อมศิริพงศ์อนุพันธ์ (หม่อมราชวงศ์ฉิม ดารากร)
- หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์จิตร สุทัศน์)
- หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์จำนง นพวงศ์)
- หม่อมอนุวัตรวรพงศ์ (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช)
- หม่อมอมรวงษ์วิจิตร์ (หม่อมราชวงศ์ปฐม)
- หม่อมอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์)
- หม่อมนิวัทธอิศรวงศ์ (หม่อมราชวงศ์พยอม อิศรศักดิ์)
- หม่อมภารตราชา (หม่อมราชวงศ์โต มนตรีกุล)
- หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์)
- หม่อมชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์สิงหนัท ปราโมช)
- หม่อมทวีวัฒนศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ทวี สนิทวงศ์)
- หม่อมสนิทวงศ์เสนี (หม่อมราชวงศ์ตัน สนิทวงศ์)
- หม่อมสุบรรณเสนี (หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ สุบรรณ)
- หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)
- หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี)
- หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ฉายฉาน ศิริวงศ์)
- หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธุ์ กฤดากร)
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ สนิท บุญฤทธิ์ (รวบรวม). (2536). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก, 2536. 230 หน้า. ISBN 974-826-221-9
- ↑ 2.0 2.1 เล็ก พงษ์สมัครไทย. (2549). "คำว่า หม่อม ใช้มาตั้งแต่เมื่อใด? หม่อมแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?", ศิลปวัฒนธรรม, 27(4-6).
- ↑ ศรีสารา. (2539). พลอยแกมเพชร, 5(101-102).
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
- ↑ สงวน อั้นคง. (2507). ราชาศัพท์ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ก้าวหน้า. 345 หน้า.
- ↑ วรนันท์ อักษรพงศ์. (2528). การใช้ราชาศัพท์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.. 361 หน้า..
- ↑ สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์. (2550). วารสารสมาคมประวัติศาสตร์, 29. 481 หน้า.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2472). อธิบายว่าด้วยยศเจ้า. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. 35 หน้า.
- ↑ "หม่อมราชนิกุล, หม่อมราชนิกูล", ใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,484 หน้า. ISBN 978-616-7-07380-4
- ↑ 10.0 10.1 ธรรมคามน์ โภวาที, ถวิล สุนทรศาลทูล (บก.), และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (เผยแพร่). (2511). ประวัติมหาดไทย (ส่วนกลาง) ภาคที่ ๒ ตอนที่ ๒. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประวัติและพิพิธภัณฑ์มหาดไทย. 423 หน้า.
- ↑ เกริกฤทธิ์ เชื้อมงคล. (2562). ก่อนแผ่นดินเปลี่ยนราชบัลลังก์. กรุงเทพฯ: ไพลินบุ๊คเน็ต. 240 หน้า. ISBN 978-616-4415-19-5
- ↑ คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่มที่ ๑๑. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ISBN 978-974-4178-87-9
- ↑ "ตั้งเจ้าราชนิกูล แผ่นดินสมเด็จพระมหาบุรุษ (พระเพทราชา) จุลศักราช ๑๐๔๔-๑๐๕๙," ใน พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค ๒ (๒๔๕๕). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
- ↑ พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล). กรุงเทพฯ: ริมป้อมปากคลองบางหลวง, 2407. หน้า 23.
- ↑ กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2564, ธันวาคม). ศิลปวัฒนธรรม, 43(2). อ้างใน พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน.
- ↑ นรินทรเทวี, พระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวง และจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2526). จดหมายเหตุความทรงจำ ของ กรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310-2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. 37 หน้า. ISBN 974-7922-12-6
- ↑ 17.0 17.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2472). เรื่องเฉลิมพระยศเจ้านายฉะบับมีพระรูป[ลิงก์เสีย]. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. 328 หน้า
- ↑ 18.0 18.1 กรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (2512). "พงศาวดารเมืองนครศรีธรรมราช," ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๑ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๓ (ต่อ)–๕๗) พงศาวดาร เมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ชวา และโกศาปานไปฝรั่งเศส ภาค ๑. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. 305 หน้า.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 เชาวน์ รูปเทวินทร์. (2523). ย่ำอดีต ชุด ๓ พระราชวีรกรรมอันหาญกล้า "ท่านบุญมา พระยาเสือ" เล่มที่ ๑ ภาคกรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.
- ↑ ปิยะนาถ บุนนาค. (2528). รายงานผลการวิจัย: การวิเคราะห์โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคม ในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2394). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 320 หน้า.
- บรรณานุกรม
- จุลลดา ภักดีภูมินทร์, "หม่อมราชนิกุล"[ลิงก์เสีย], นิตยสารสกุลไทย, ฉบับที่ 2409, ปีที่ 47, ประจำวันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2543
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8